ทำไมธุรกิจต้องเริ่มจาก Step Zero พร้อม Unlock ไอเดียธุรกิจด้วยแนวคิด 24 ขั้นตอน จาก MIT

เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนคงจะรับรู้ถึงเทรนด์ของธุรกิจสตาร์อัพ (Startup) ที่ประสบความสำเร็จในการเข้ามา disrupt การทำธุรกิจแบบเดิม จนทำให้กระแสของสตาร์ทอัพได้รับความสนใจจากทุกฝ่ายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในระดับที่เรียกได้ว่าเป็น Craze หรือความคลั่งไคล้ ที่ไม่ว่าหันไปทางไหน ใครๆ ก็อยากทำสตาร์ทอัพกันเสียหมด

     แต่ธุรกิจเมืองไทยพร้อมแค่ไหนกับแนวทางของสตาร์ทอัพ?

     นี่เป็นคำถามที่หลายคนยังคงสงสัย เราจึงได้นำความข้องใจนี้ ไปพูดคุยกับ ดร. เอ็ดเวิร์ด รูเบช ซึ่งเขาให้เราเรียกสั้นๆ ว่า เอ็ดเวิร์ด อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้อำนวยการหลักสูตร ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม หรือ IDE Center โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

mit

     อีกมุมหนึ่ง เขาคือผู้ประกอบการในประเทศไทยทีดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์มากว่า 20 ปี และยังทำงานร่วมกับผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมหลากหลายกิจการในประเทศไทย รวมทั้งที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมให้กับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนอีกด้วย

     ธุรกิจไทยจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร? เราจะคิดค้นไอเดียใหม่ๆ มาแก้ปัญหากันได้หรือไม่? และผู้ประกอบการรายใหม่จะ ‘เริ่ม’ ธุรกิจให้ ‘รอด’ ได้อย่างไร? เราได้รวบรวมคำตอบไว้แล้วในบทสัมภาษณ์ด้านล่างนี้

mit

ธุรกิจไทย 2018

     เราเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามถึงภาพรวมของธุรกิจไทย ณ ปัจจุบัน และได้รับคำตอบที่น่าสนใจจากเอ็ดเวิร์ดว่า สิ่งที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับธุรกิจไทยคือ คนไทยเห็นนวัตกรรมที่เกิดจากบริษัทใหญ่ๆ กันจนชิน ทำให้เวลาเริ่มสร้างไอเดียธุรกิจใหม่ๆ เราจึงมักทำอะไรคล้ายๆ กับบริษัทเหล่านั้น

     เอ็ดเวิร์ดยกตัวอย่างถึง 7-Eleven

     “เขาเป็นบริษัทใหญ่ที่เก่งมากๆ ในแง่การพัฒนา เวลาที่ 7-Eleven ขยายธุรกิจ ก็แค่เปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ถืออยู่ในมือ เช่น อยากได้ลูกค้าใหม่ ก็เปิดสาขาเพิ่ม อยากเพิ่มมูลค่า (value) ก็เพิ่มสินค้าใหม่ๆ เข้าร้าน เพิ่มเครือข่ายเคานเตอร์เซอร์วิสเข้าไป หรือถ้าอยากพัฒนาทรัพยากรคน ก็จัดอบรมพนักงานเพิ่มเติม เปิดมหาวิทยาลัยสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ๆ เหล่านี้คือวิธีที่บริษัทใหญ่ทำอยู่ตลอดเวลา เขามีระบบ มีโครงสร้าง และมีทิศทางชัดเจนว่าจะแต่ละปีจะขยายไปอย่างไร”

mit
ภาพ: www.cpfworldwide.com

     แต่เอ็ดเวิร์ดก็ยืนยันกับเราอย่างหนักแน่นว่า หลักการของบริษัทใหญ่นั้นนำมาใช้ไม่ได้กับธุรกิจเล็กๆ ผู้ประกอบการหน้าใหม่จึงต้องระวัง ไม่วิ่งตามความสำเร็จของบริษัทใหญ่ๆ เพราะมันย่อมไม่ช่วยสร้างทางออกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค

การเป็นผู้ประกอบการรายเล็กๆ ก็มีข้อดี คุณยืดหยุ่น คุณไม่มีระบบตายตัว ดังนั้น ต้องคิดนอกกรอบ มองหาปัญหา มองหาทางแก้แบบไม่ยึดติดกับกรอบเดิมๆ ไม่เอาระบบคิดของบริษัทใหญ่มาใส่ตัว

mit

พลังที่ยิ่งใหญ่ของผู้ประกอบการรายย่อย

     “ผู้ประกอบการหลายคนอาจคิดว่า ‘เห้ย เราไปแข่งกับบริษัทใหญ่ๆ ไม่ได้หรอก เขามีทุน มีกำลังคนมากกว่าเราเยอะแยะ’ แต่ผมไม่เห็นว่าเป็นอย่างนั้นนะ หลายครั้งกิจการเล็กๆ นั้นมีอำนาจเหนือกว่าบริษัทขนาดใหญ่เสียอีก เราเรียกมันว่า Power of Small Power คือคุณมีข้อได้เปรียบจากการเป็นคนเล็กๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ โนเกีย บริษัทโทรศัพท์มือถือที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกในยุคหนึ่ง ซึ่งต้องแพ้ให้กับพลังเล็กๆ จากบริษัทขนาดเล็กกว่า ที่ชื่อว่าแอปเปิ้ล

     “เรื่องราวการล่มสลายของโนเกียนับเป็นตัวอย่างที่ดี ที่ชี้ให้เห็นวิธีคิดแบบผู้ประกอบการรายเล็ก หลายคนอาจมองว่าโนเกียนั้นพ่ายแพ้ให้แก่แอปเปิ้ลเพราะตามเทคโนโลยีไม่ทัน แต่ที่จริงแล้ว โนเกียเองก็กำลังพัฒนาโทรศัพท์ในลักษณะคล้ายๆ กันอยู่ เพียงแต่พวกเขาไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์มากกว่า”

mit
ภาพ: https://stuff.co.za

     “ทั้งที่ตอนนั้นโนเกียมีอำนาจมากมาย เป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่เพราะการเติบโตของบริษัทต้องกรอบอยู่กับทิศทางของตัวเอง คุณจำได้หรือเปล่าว่ามือถือโนเกียหน้าตาเป็นไง? มันคือโทรศัพท์ที่มีปุ่มเยอะๆ ดังนั้น เวลาจะพัฒนามือถือ สิ่งที่บริษัทคิดก็คือ จะพัฒนาหรือเพิ่มปุ่มเข้าไปยังไงดี โดยลืมไปว่าการทำเช่นนี้ไม่ได้ตอบโจทย์อีกต่อไป ในยุคที่มือถือกำลังกลายเป็นซอฟต์แวร์ เมื่อถูกกระทบด้วยการคิดนอกกรอบ ในรูปของมือถือที่ไม่มีปุ่ม โนเกียจึงแทบจะตอบโต้อะไรไม่ได้เลย

     “ยิ่งในปี 2008 โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่ในโลกกระจุกอยู่ที่ซานฟรานฯ พวกเขาจึงไม่มีแม้แต่ทรัพยากรด้วยซ้ำ ทางรอดเดียวของโนเกียคือต้องย้ายฐานมาที่ซิลิคอนแวลลีย์ แคลิฟอร์เนีย ซึ่งทำไม่ได้อยู่แล้ว พวกเขาคือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์ มันคงเหมือนเอสซีจีย้ายจากไทยไปที่อื่น แถมยอดขายขณะนั้นยังโตสูงสุดด้วย ต่อให้หลายคนรู้ว่าหายนะกำลังมา แต่ไปบอกผู้บริหารคนไหนจะเชื่อ สุดท้ายโนเกียก็จบลงอย่างที่เห็น”

     การคิดแบบไอโฟนจึงเป็นตัวอย่างของพลังของผู้ประกอบการรายเล็ก และสตีฟ จ็อบส์ คือตัวอย่างของคนที่คิดและทำอย่างสร้างสรรค์ แบบที่ผู้ประกอบการรายเล็กควรทำ
 

Step Zero : มองปัญหา หาโอกาส

     เมื่อย้อนกลับมามองสังคมไทย ก็อาจนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะบ้านเมืองเรามีปัญหาให้แก้อยู่เต็มไปหมด

     “โอกาสของผู้ประกอบการคือ การได้หยิบลูกค้า หยิบปัญหา หยิบทางออกใหม่ๆ มาชนกัน ในแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วในตลาด ซึ่งคุณน่าจะเคยเห็นตัวอย่างความสำเร็จมากมายในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะ Uber, Airbnb หรือตัวอย่างในไทยก็มีเช่นกัน”

mit
ภาพ: https://coconuts.co
mit
ภาพ: https://bangkokian.blog

     การเป็นผู้ประกอบการไม่ใช่เพียงแค่การทำธุรกิจ แต่คือการประกอบปัญหาและทางแก้เข้าด้วยกัน ในรูปแบบใหม่ๆ เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า Step Zero หรือ ขั้นที่ศูนย์ ซึ่ง เอ็ดเวิร์ดได้เน้นย้ำ ผู้ประกอบการจะต้องหาปัญหาที่อยากแก้ให้เจอก่อน จากนั้นจึงนำมาพัฒนาต่อตามหลักการ 24 ขั้นที่เราเรียนรู้มาจาก MIT (Massachusetts Institute of Technology)

     “หนึ่งตัวอย่างจากการสังเกตของผมคือ การเกิดขึ้นของ ‘คอมมูนิตี้มอลล์’ ในเมืองไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ เวลาเรานึกถึงห้าง เราจะนึกถึงตึกใหญ่ๆ ที่ติดแอร์ และการไปห้างคือการไปหลบอากาศร้อน จนกระทั่งมีคนบางคนหยิบไอเดียของคอมมูนิตี้มอลล์นี้ขึ้นมา เป็นพื้นที่กลางแจ้งที่เปิดโล่ง ไม่ต้องมีแอร์ ไม่ใช่ห้างแบบเดิมที่เรารู้จัก แต่ก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้ห้างใหญ่ๆ

mit
ภาพ: www.flickr.com
mit
ภาพ: www.bkkmenu.com

     เอ็ดเวิร์ดอธิบายต่อว่า คนที่ริเริ่มไอเดียคอมมินิตี้มอลล์นั้นย่อมไม่ใช่บริษัทใหญ่ๆ ที่ชำนาญการธุรกิจห้างสรรพสินค้า หากแต่เป็นแค่ผู้ประกอบการที่สงสัยว่า ‘ห้างเอาต์ดอร์ก็อาจจะเวิร์กเหมือนกันหรือเปล่า?’ แล้วก็ลองทำมันจริงๆ

     เพราะโอกาสนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ตราบใดที่คุณพร้อมจะมองมันในมุมใหม่ๆ ไม่ยึดกับกรอบเดิม

     คำว่า Step Zero คือการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ออกมาค้นหาโอกาสใหม่ๆ แบบไม่ต้องยึดกับอะไรที่เคยมีอยู่ และไม่ต้องลงทุนมาก ถ้ามีไอเดีย คุณสามารถทดสอบมันได้ในระดับใกล้ๆ ตัว ไม่ต้องเริ่มจากเป้าหมายที่จะขายให้คนเป็นล้านแบบที่ผู้ใหญ่หรือบริษัทใหญ่มักจะคิดกัน สิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องหาลูกค้าคนแรกให้เจอก่อน

mit

โอกาสนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ตราบใดที่คุณพร้อมจะมองมันในมุมใหม่ๆ ไม่ยึดกับกรอบเดิม สิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องหาลูกค้าคนแรกให้เจอ

     และเมื่อผ่านจากขึ้นตอนค้นหาก็ต่อยอดแนวคิดโดยใช้แนวทางพัฒนาธุรกิจ 24 ขั้น (MIT’s 24 Steps) ที่เรารับแนวทางมาจาก MIT เข้ามาช่วยกลั่นกรองให้ได้ไอเดียที่ดีที่สุด ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับทาง IDE Center ก็ได้

MIT

ถ้านั่นเป็นอะไรที่ไม่เคยมีใครทำ มันจะต้องเริ่มจากเล็กๆ ก่อนเสมอ และคุณต้องพร้อมจะลงแรงพัฒนามันขึ้นมา

mit

     ข้อควรระวังเวลาพัฒนาธุรกิจขึ้นใหม่คือ คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงผลิตภัณฑ์ก่อน และมักจบลงที่การผลิตของที่มีอยู่แล้วในตลาด ซึ่งถ้าอ้างอิงตามหลัก 24 ขั้น กว่าจะได้คิดผลิตภัณฑ์ก็ขั้นที่ 20 เข้าไปแล้ว

     “เรามักอยากปั้นผลิตภัณฑ์ที่ หนึ่ง ไม่เคยมีมาก่อน และสอง ขายได้เป็นสิบล้านเลยตั้งแต่แรก แต่สองสิ่งนี้มันไม่มาพร้อมกัน ถ้านั่นเป็นอะไรที่ไม่เคยมีใครทำ มันจะต้องเริ่มจากเล็กๆ ก่อนเสมอ และคุณต้องพร้อมจะลงแรงพัฒนามันขึ้นมา ครั้งแรกที่อูเบอร์เริ่มหาทุนในซานฟรานซิสโก พวกเขาแค่ขอเงินมาซื้อรถ 10 คันเท่านั้นเอง”

     ดังนั้น ผู้ประกอบจึงต้องมองหา Step Zero ให้เจอ โดยอาจเริ่มจากการมองปัญหารอบๆ ตัว ว่าคนประสบกับความยุ่งยากอะไรบ้าง แล้วจึงค่อยๆ คิดหาทางออกจากตรงนั้นต่อไป เพื่อมองหาโอกาสพัฒนาเป็นสินค้าและบริการมาช่วยแก้ปัญหาความยุ่งยากดังกล่าว

นี่คือหัวใจ คุณต้องอย่าหยุดทดลองสิ่งใหม่ และเริ่มทำมันในสเกลเล็กๆ Think Big, Act Small. ค่อยๆ ทำไปจากศูนย์ คุณต้องไม่ลืมว่ามันต้องเล็กก่อนจึงจะโตได้

mit


FYI

IDE 2018

mit

     IDE Center กำลังจะมีงานใหญ่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ และผู้สนใจได้เข้ามาพบปะ แลกเปลี่ยน และค้นหา Step Zero ก่อนจะพัฒนาธุรกิจไปพร้อมๆ กัน ในงาน IDE 2018 ที่เป็นการรวมตัวกันของการประกอบการนวัตกรรม เทคโนโลยี และศิลปะจากทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน

     คุณจะได้มีโอกาสเห็นการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจระดับโลกและภูมิภาค 3 รายการ ได้แก่ Global Social Venture Competition, MIT Enterprise Forum Thailand และกะเทาะเปลือก รวมทั้งงานเสวนาเวทีใหญ่ Think BIG, Act small Symposium ที่คุณจะได้ร่วมรับฟังแนวคิดที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงโลกจากคนตัวเล็กๆ ที่คิดการใหญ่ รวมถึงแนวคิดล้ำๆ ของผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมระดับโลกไปพร้อมๆ กัน

mit

     สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรม IDE 2018 ในระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2561

     โดยการแข่งขัน IDE Competitions ทั้ง 3 รายการแข่งขันจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรม เรดิสัน บลู สุขุมวิท 27 และกิจกรรม Think Big, Act Small : Innovators Under 35 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ณ โรงภาพยนต์ ไอแมกซ์ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ http://go.eventpop.me/ideutcc

mit