#MeToo แคมเปญแสดงความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อต่อต้านปัญหาการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในหลายประเทศทั่วโลก แต่สำหรับประเทศที่มีรูปแบบสังคมปิตาธิปไตยหรือสังคมชายเป็นใหญ่อย่างเกาหลีใต้นั้น แคมเปญ #MeToo กลับกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนเมินเฉยและถูกกีดกัน จนล่าสุดแคมเปญนี้ก็เริ่มเข้ามาเป็นกระแสในเกาหลีใต้อย่างมีนัยสำคัญ สืบเนื่องจากข่าวการล่วงละเมิดทางเพศของกลุ่มที่มีอิทธิพลในประเทศ ทำให้ผู้หญิงเกาหลีใต้หลายคนกล้าเปิดเผยความจริงและเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตนเอง
Timeline: Sexual Harassment Movement in South Korea
2007 – เริ่มต้นแคมเปญ #MeToo โดยนักเคลื่อนไหวสตรีผิวดำ ‘ทารานา เบิร์ก’ โดยขณะนั้นเกาหลีใต้ยังไม่มีการตื่นตัวในประเด็นดังกล่าว
2009 – นักแสดงสาว ‘จาง จายอน’ ฆ่าตัวตายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
2010 – การต่อต้านปัญหาล่วงละเมิดทางเพศเริ่มเป็นกระแสในเกาหลีใต้
2011 – ก่อตั้งกระทรวงเพื่อความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัว
2013 – ก่อตั้งกองตำรวจพิเศษด้านอาชญากรรมทางเพศ
2016 – พบการคุกคามทางเพศในโรงเรียนของเกาหลีใต้ 2,387 ครั้ง เพิ่มขึ้นจาก 4 ปีก่อนถึง 171.9%
2017 – แคมเปญ #MeToo ถูกผลักดันในหลายประเทศ แต่ในเกาหลีใต้กลับถูกปิดเงียบ
2018 – กระแส #MeToo ในเกาหลีใต้ถูกปลุกขึ้นมาอย่างจริงจัง โดยมีการเปิดโปงการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงในหลายวงการ
Case 01 : โจ มินกิ
นักแสดงชายวัย 52 ปี ฆ่าตัวตายเป็นเพราะถูกกดดันและเกิดความเครียดหลังจากที่ตกเป็นข่าวล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงอย่างน้อย 8 คน
Case 02 : อัน ฮีจอง
นักการเมืองชาวเกาหลีใต้ ประกาศลาออกและยุติบทบาททางการเมืองหลังถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศ
Case 03 : คิม จีอึน
กระแส #MeToo ที่กำลังมีอิทธิพลในเกาหลีใต้ ได้ผลักดันให้เธอออกมาเปิดเผยว่า เธอถูก อัน ฮีจอง ข่มขืน 4 ครั้งในระยะเวลา 8 เดือน นับตั้งแต่ปี 2017
78%
เหยื่อร้อยละ 78 ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ไม่กล้าออกมาเปิดเผยความจริง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้และกลัวว่าจะโดนไล่ออก
40%
ผู้หญิงที่อยู่ในวงการบันเทิงเกาหลีใต้ 4 ใน 10 คน หรือร้อยละ 40 ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และส่วนใหญ่ไม่กล้าออกมาเปิดเผย
7
7 องค์กรสิทธิสตรีและศูนย์ช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้สืบสวนคดีการตายของ จาง จายอน
Stop at 3 p.m.
กลุ่มผู้หญิงชาวเกาหลีอีกกลุ่มหนึ่งถือป้ายชุมนุม ‘Stop at 3 PM’ เพื่อเรียกร้องให้เกิดความเท่าเทียมในการจ้างงานระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย