เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้วงการเพลงต้องปรับตัวเข้ากับแต่ละยุคสมัยอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การฟังเพลงถูกย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์อย่างเว็บไซต์หรือบริการสตรีมมิง แม้จะสะดวกสบายมากขึ้นเพราะไม่ต้องพกเครื่องเล่นขนาดใหญ่เทอะทะเหมือนเมื่อก่อน แต่พฤติกรรมการฟังเพลงแบบนี้ก็ก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย จนส่งผลกระทบต่อศิลปินจำนวนมาก และบางครั้งก็ร้ายแรงถึงขั้นทำให้หลายวงดนตรีเลิกผลิตงานเพลงไปเลย
- 50 ปี
- หากผลงานเพลงจดทะเบียนด้วย บุคคลคนเดียว ลิขสิทธิ์ของเพลงนั้นจะมีอายุตลอดทั้งชีวิตของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
- หากผลงานเพลงจดทะเบียนในนาม นิติบุคคล ลิขสิทธิ์ของเพลงนั้นจะมีอายุ 50 ปี นับจากวันสร้างสรรค์ผลงาน
- สัดส่วนประชากรทั่วโลกที่ฟังเพลงแบบละเมิดลิขสิทธิ์ แบ่งตามอายุ (ปี 2017)
- 16-24 ปี : 53%
- 25-34 ปี : 45%
- 35-44 ปี : 32%
- 45-54 ปี : 32%
- 55-64 ปี : 18%
- ปี 2017 การฟังเพลงแบบละเมิดลิขสิทธิ์สูงขึ้น 14.7%
- ประเทศที่เข้าเว็บไซต์ฟังเพลงแบบละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุด (ปี 2017)
- สหรัฐอเมริกา 20,300 ล้านครั้ง
- รัสเซีย 14,100 ล้านครั้ง
- อินเดีย 9,800 ล้านครั้ง
- บราซิล 8,400 ล้านครั้ง
- ฝรั่งเศส 8,100 ล้านครั้ง
- ช่องทางการฟังเพลงแบบละเมิดลิขสิทธิ์ (ปี 2017)
- สตรีมมิง 60.1%
- ดาวน์โหลด 16.5%
- ทอร์เรนต์ 17.8%
- ไพรเวต แทร็กเกอร์ 1.3%
- ริป 4.4%
- การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และฉบับเพิ่มเติม พ.ศ. 2558
- ทำซ้ำหรือดัดแปลง
- เผยแพร่ต่อสาธารณชน
- ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน
- แพร่ภาพซ้ำและเรียกเก็บผลประโยชน์
- จำหน่ายหรือให้เช่างานผิดลิขสิทธิ์
- ลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลบริหารสิทธิ์
- นำเข้าหรือเผยแพร่งานที่มีการละเมิดการบริหารสิทธิ์
- ละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี เช่น การขโมยเพลงจากสตรีมมิง
ที่มา: www.ipthailand.go.th, www.ifpi.org, www.bangkokbiznews.com, www.muso.com