ราชาศัพท์

ราชา (ไม่) ศัพท์ ภาษาอังกฤษไม่มีคำราชาศัพท์ มีแต่ศัพท์ธรรมดาสามัญที่ราชาไม่ใช้

เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการแบ่งระดับระหว่างชนชั้นน้อยมาก หรือพูดได้ว่าเป็นภาษาที่แทบไม่มีคำราชาศัพท์เลย ไม่ว่าจะคุยกับคนระดับสูงขนาดไหนก็เรียกตัวเองว่า I ได้ นอกเสียจากการที่คนธรรมดาอย่างเราๆ ถ้าจะเรียกกษัตริย์หรือพระราชินีนาถ ก็จะใช้คำว่า His Majesty หรือ Her Majesty เช่นเดียวกับการเรียกพระบรมวงศานุวงศ์ ที่จะใช้ว่า His royal highness หรือ Her royal highness แต่นอกเหนือจากนั้น ไม่มีการต้องเปลี่ยนคำนามหรือคำกริยาให้สอดคล้องกับคนชั้นของผู้พูดหรือคนที่เรากำลังพูดด้วย

อย่างไรก็ตาม ในราชวงศ์อังกฤษมีชุดคำศัพท์อยู่หลายคำที่เราจะไม่มีทางได้ยินจากควีนอลิธซาเบธที่ 2 หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องจากเรื่องที่มาของคำและความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับหลักคิดของราชสำนัก เช่นคำศัพท์ทั้ง 6 คำต่อไปนี้

ราชาศัพท์

 

1. Toilet

     คำศัพท์ธรรมดาที่ใครๆ ก็ใช้อย่าง Toilet เป็นคำที่เหล่าราชวงศ์ชั้นสูงแห่งสหราชอาณาจักรไม่เคยเอ่ยใช้มาก่อนในประวัติศาสตร์ โดยมีการตั้งสันนิษฐานเหตุผลว่าเป็นเพราะคำนี้เป็นคำภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติที่รบราฆ่าฟันกับอังกฤษมาช้านาน เมื่ออิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสอย่างคำว่า Toilet ได้เผยแพร่เข้ามาในอังกฤษ เหล่าราชวงศ์จึงปฏิเสธคำนี้อย่างสิ้นเชิง และพวกเขาจะใช้เพียงคำที่เราเห็นกันบนห้องน้ำของเครื่องบินบ่อยๆ อย่าง lavatory หรือเรียกสั้นๆ ว่า loo ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษแท้ๆ เท่านั้น

 

2. Living Room

     ชนชั้นสูงของอังกฤษมองว่า ห้องนั่งเล่นหรือที่ชาวสามัญชนเรียกว่า living room ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า ‘ห้องแห่งการอยู่อาศัย’ นั้นเป็นคำศัพท์ที่เกินจริงเกินไปสำหรับห้องเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วยโซฟาและโต๊ะรับแขก พวกเขาจึงเรียกห้องนี้ว่า sitting room แทน ซึ่งตรงกับความหมายว่า ห้องนั่งเล่น ในภาษาไทยเราพอดี

 

3. Dessert

     เมื่อรับประทานอาหารคาวจนหมดแล้ว ก็เป็นเวลาของการเสิร์ฟ ‘ของหวาน’ หรือที่ในภาษาอังกฤษเราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า dessert หรือ sweets แต่ราชวงศ์แห่งราชอาณาจักรจะหลีกเลี่ยงการใช้สองคำนี้ และใช้คำว่า pudding แทน แม้ว่าอาหารหวานในมื้อนั้นจะไม่ใช่พุดดิ้งก็ตาม นอกจากนี้ยังเคยมีการเผยว่า เคต มิดเดิลตัน (Kate Middleton) พระชายาในเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ โปรดปราน Sticky Toffee Pudding ขนมหวานสไตล์อังกฤษดั้งเดิมที่เสิร์ฟในรั้วพระราชวังเป็นอย่างมาก

 

ราชาศัพท์

 

4. Perfume

     เมื่อเอ่ยถึงน้ำหอม ราชวงศ์อังกฤษจะไม่ใช้คำว่า perfume แต่จะใช้คำว่า scent ที่แปลตรงตัวว่า ‘กลิ่น’ แทน เพราะฉะนั้น หากได้ยินคำพูดว่า I like your scent ในพระราชวังอังกฤษ ประโยคนี้จึงไม่ได้หมายความว่า ฉันชอบกลิ่นของคุณ แต่เป็น ฉันชอบน้ำหอมของคุณ

 

5. Pardon

     แม้ว่าคำที่แปลว่า ขอโทษ หรือ ขออภัย คำนี้จะเป็นศัพท์ที่ชนชั้นกลางอย่างเราๆ มองว่าสุภาพมาก แต่กลับเป็นคำที่เหล่าชนชั้นสูงของอังกฤษไม่หยิบยกมาใช้ อาจเป็นไปได้ว่าเนื่องจากคำนี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสเช่นกัน ทำให้ไม่ได้การยอมรับในราชวงศ์มาช้านาน โดยหากพวกเขาจะเอ่ยขออภัย หรือไม่ได้ยินคู่สนทนาพูดอะไรบางอย่าง ก็จะใช้คำว่า sorry หรือ sorry, what แทน

 

6. Serviette

     คำนี้แปลว่า กระดาษชำระ โดยว่ากันว่าเป็นคำที่ชนชั้นกลางถึงชั้นล่างสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แทนคำว่า napkin เพราะคำว่า napkin ไปคล้ายกับคำว่า nappy ซึ่งแปลว่าผ้าอ้อม อย่างไรก็ตาม คำนี้ไม่ได้รับการยอมรับในราชสำนัก โดยกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ยังคงใช้คำว่า napkin เช่นเดิม

 


ที่มา: