แอนนี ดิลลาร์ด นักเขียนความเรียงด้านชีววิทยาคนโปรดของผม เจ้าของหนังสือที่หยิบมาอ่านซ้ำได้ตลอดกาลอย่าง Pilgrim at Tinker Creek เคยบอกไว้ว่า ให้หลีกเลี่ยงห้องทำงานแสนสวยให้ไกลเลยทีเดียว เธอบอกว่า เวลาจะทำงานเขียนอย่างจริงจังนั้น มนุษย์เราต้องการเพียงห้องห้องหนึ่ง เป็นห้องที่ไม่มีวิวทิวทัศน์ เพราะอะไรรู้ไหมครับ –...
ทำไมในโซเชียลมีเดีย ประเด็นถกเถียงขัดแย้งที่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง จึงมีอายุยืนยาวต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน และคงจะดำรงอยู่ต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น ในขณะที่ประเด็นอื่นทั่วๆ ไปจะดูเหมือนว่ามันมีอายุสั้นมากๆ อย่างข่าวอาชญากรรม ข่าวในแวดวงบันเทิง แท้จริงแล้ว ประเด็นการเมืองก็เหมือนประเด็นอื่นๆ คือมีอายุสั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่เราเห็นว่ามันต่อเนื่องยาวนาน นั่นไม่ใช่ประเด็นการถกเถียง แต่เป็นการสร้างตัวตนออนไลน์แบบแอ็กทีฟของเราแต่ละคนต่างหาก ...
ในโลกแห่งคอมเมนต์อันร้อนแรงและพลุ่งพล่าน มักมีคนมาถามผมเสมอว่า – หากเจอคนคอมเมนต์แบบเข้าใจผิด (หรือแม้กระทั่งเข้าใจถูกแล้ว แต่เข้ามา ‘เกรียน’) โดยไม่ยอมลดราวาศอก ไม่เปิดกว้างรับฟังคำอธิบายใดๆ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือไม่มี Empathy เลย มุ่งแต่จะเอาชนะคะคานจนคล้ายฆ่าฟันเปิดศึก, เราควรทำอย่างไร คำแนะนำที่ผมมักบอกทุกคนไปก็คือ ให้...
พอเข้าสู่ช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ก็ได้เห็นพรรคการเมืองต่างๆ จัดทีมออกมาปราศรัยแสดงวิสัยทัศน์และร่วมดีเบตตามเวทีต่างๆ ผมคอยติดตามดูข่าวสารด้วยความเมามัน แต่ผ่านไปสักพักก็เริ่มนึกสงสารและเห็นใจพวกนักการเมืองที่เป็นคนแก่ เพราะเห็นได้ชัดว่าพวกเขาพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ทัศนคติหลงยุคและหลุดโลก โต้ประเด็นอะไรไม่ได้ บางทีก็แสดงอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว มีบางคนถึงขนาดปฏิเสธไม่มาร่วมงาน ถ้าคุณเคยเห็นภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองของคนแก่ก็จะเข้าใจ ยิ่งถ้าเอาผลเอกซเรย์แต่ละปีๆ มาดูเทียบกันก็จะยิ่งเห็นชัดว่า โพรงสมองของเขาขยายกว้างและถูกแทนที่ด้วยน้ำไขสันหลัง สมองฝ่อลง และบนเนื้อสมองก็เริ่มเห็นจุดสีเทาที่แสดงว่ามีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ...
ปกติแล้วผมเป็นคนเดินเร็วมาก พวกเพื่อนๆ เวลาไปไหนมาไหนด้วย เมื่อเห็นผมเดินจ้ำพรวดๆ มุ่งตรงไปข้างหน้าอย่างเดียว โดยไม่สนใจอะไรรอบข้างเลย พวกเขามักจะทักว่ากำลังเดินตามควายเหรอ ผมไม่รู้ตัวหรอกว่านิสัยเดินเร็วนี่มีที่มาจากไหน แต่มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันไปแล้ว นิสัยและความคิดชอบเร่งรีบแบบนี้เคยติดตัวมาแน่นหนามาก ทั้งที่จริงๆ แล้วผมเองก็ไม่มีธุระอะไรรีบร้อน เวลาไปเดินซื้อข้าวของหรือเสื้อผ้าในห้าง ผมมักจะคิดไว้แล้วว่าจะซื้ออะไร ตรงร้านไหน แล้วก็เดินจ้ำๆ พรวดๆ ไปให้ถึงร้านเลย...
ฤดูเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เวียนมาถึงอีกรอบหนึ่ง แต่ครั้งนี้ ชาวอเมริกันเครียดกว่าที่เคยเป็นมาเสมอ เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้คือการชี้ชะตาว่าพวกเขาจะกลับไปเป็นเหมือนสี่ปีที่ผ่านมา (หรือที่จริงคืออาจร้ายแรงกว่า) หรือเปล่า ในบทความ Protests Won’t Be Enough to Stop a Coup ของ Judith Shulevitz...
ฤดูฝนคือฤดูที่โลกน่ารัก ฝนพรำลงมา แล้วใบไม้ก็ผลิแตกตุ่มตา ระบัดออกมาเป็นสีเขียวอ่อนแสนสดชื่น จริงอยู่ – ฤดูฝนมักไม่ค่อยมีดอกไม้ ไม่เหมือนปลายฤดูร้อนนั่นหรอก ที่แพรวพริบวิบวับของดอกไม้หลากสีจะเคลื่อนผ่านดวงตาของเราไปคล้ายพรายพราวของสีน้ำ มองเห็นไม่ชัด – ทว่าชัดนักในความรู้สึก และจริงนั่นอีก ที่ฤดูฝนหาได้เยียบเย็นเหน็บหนาว ให้ผู้คนได้กระโดดโลดเต้นไปกับอุณหภูมิฉ่ำๆ...
เวลาเห็นใครกำลังถูกรุมด่าในโซเชียลมีเดีย ผมมักจะรู้สึกสงสาร ไม่ว่าเขาจะโง่งมหรือต่ำช้าแค่ไหน ไม่ว่าเขาจะมีความเห็นหรือจุดยืนแตกต่างอย่างไร แทนที่จะเข้าไปร่วมรุมกระทำซ้ำเติม หรือยืนดูแล้วหัวเราะด้วยความสะใจ ผมกลับรู้สึกกลัวอยู่ลึกๆ นึกภาพภายในใจว่าถ้าต้องไปตกอยู่ในที่นั่งเดียวกับเขา แล้วเราจะเป็นอย่างไร วันก่อนระหว่างกำลังรถติดๆ กันอยู่ ผมนั่งคุยกับเพื่อนเก่าคนหนึ่ง ในฐานะที่เขาเป็นคนโด่งดังและกำลังมีผลงานใหม่ออกนำเสนอ คาดว่าคงจะต้องมายืนอยู่ท่ามกลางแสงไฟ และคำวิพากษ์วิจารณ์ของคนในโซเชียลมีเดีย เขาเล่าว่ามีนักข่าวไปสัมภาษณ์ ถามว่าเขาคิดอย่างไรกับชาวโซเชียลฯ ในทุกวันนี้ ผมพูดบ่นให้เขาฟัง อย่างที่ชอบเขียนถึงประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ...
ราว ๆ 1 ปีกว่า ที่ผ่านมานี้ ผู้เขียนมีเหตุต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลสัตว์แบบถี่ยิบ เพราะแมวจรที่รับมาดูแลตัวหนึ่ง ที่ชื่อ หูกุด (แน่นอน ชื่อนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่เพราะหูกุด มีใบหูข้างซ้ายที่หงิกงอจนไม่เหลือใบหู) หูกุด...
เมื่อหลายปีก่อน ผมไปสัมภาษณ์ ‘พี่จุ้ย’ – ศุ บุญเลี้ยง มีช่วงหนึ่งของการสนทนา เราคุยกันเรื่องการพัฒนาตัวเองและการหาแสวงหาแรงบันดาลใจจากการเดินทาง เพราะผมชอบที่เขาแต่งเพลงเกี่ยวกับทะเล ภูเขา และเขียนหนังสือยอดฮิตเกี่ยวกับการเดินทาง ผมคิดว่าเขาคงได้เรียนรู้อะไรเยอะมากจากการเดินทาง จึงถามไปว่า การเดินทางครั้งไหน ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อตัวเขาเองมากที่สุด เขาตอบว่า คือการเดินทางจากคณะนิเทศศาสตร์ไปที่คณะอักษรศาสตร์ แล้วก็เล่าย้อนไปถึงสมัยเป็นนิสิต...
ผมนั่งอ่านนิวส์ฟีดในทุกวันนี้ แล้วก็นึกถึงนิยายเรื่อง ‘คนขี่เสือ’ ขึ้นมา มันเป็นนิยายของ ภาวนี ภัฏฏาจารย์ นักเขียนชาวอินเดีย แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ผมเคยอ่านตั้งแต่เมื่อครั้งยังเรียนมหาวิทยาลัย สมัยนั้นเป็นยุคประชาธิปไตยในบ้านเราเบ่งบาน นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง เศรษฐกิจเฟื่องฟู อสังหาฯ...
เวลามีคนพูดว่า เด็กเป็นสิ่งสวยงาม บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ ตั้งแต่จำความได้ การละเล่นแรกๆ ในชีวิตของเราทุกคนไม่ใช่อะไรนอกไปจากเกมวิ่งไล่กันไปไล่กันมา แปลกดีที่เหล่าเด็กอายุไล่เลี่ยกันจะถูกดึงดูดด้วยพลังลึกลับบางอย่างให้ออกจากบ้านมารวมตัวกันที่ลานกว้างในละแวกบ้าน แต่ละคนจะมองดูเพื่อนคนอื่นแล้วก็เปรียบเทียบกัน จัดระดับกัน ว่าใครเหนือกว่าหรือด้อยกว่าโดยอัตโนมัติแล้วก็แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันด้วยวิธีเสี่ยงทายต่างๆ เพื่อแยกกันสวมบทบาทสมมติเป็นขั้วตรงข้าม กำหนดกติกาที่เป็นจริงเป็นจังเสียเหลือเกินเพื่อจะได้วิ่งเล่นไล่กันตามจินตนาการแบบนั้นอย่างสนุกสนาน พลังลึกลับนี้ยังคงอยู่ต่อมาจนถึงวัยเรียน ถึงแม้กิจกรรมหลักอย่างเป็นทางการของโรงเรียน คุณครูจะจับเราใส่เครื่องแบบเหมือนกัน มายืนเข้าแถวหน้าเสาธงร้องเพลงชาติอย่างพร้อมเพรียง แล้วก็เดินเรียงกันเข้าห้องเรียนเพื่อท่องอาขยาน แต่กิจกรรมการละเล่นในเวลาพักเที่ยงของเรา...