เริ่มบทความแรกของผมในคอลัมน์ Alpha Pro ผมอยากคุยถึงที่มาของการพาชีวิตตัวเองจากดอกเตอร์ด้านวิศวกรรมเคมี พัฒนากระบวนการผลิตในโรงงานปิโตรเคมี มาสู่เส้นทางสายการเงิน เปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนได้รู้งานธนาคาร งานที่ปรึกษา งานบริหารทีมที่ปรึกษาการเงินการลงทุน ทั้งในบริษัทหลักทรัพย์ ประกันชีวิต และธนาคาร และวันนี้มาร่วมออกเดินทางกับกลุ่ม FINNOMENA ในบทบาทผู้ปลุกปั้นมนุษย์ที่ปรึกษาการเงินพันธุ์ใหม่ ที่ผสมทักษะการโค้ชเข้ากับศาสตร์การจัดการทางการเงิน ผมเชื่อว่ามีหลายครั้งในชีวิตที่เราต้องตัดสินใจครั้งสำคัญๆ เพื่อพาตัวเองก้าวต่อไปข้างหน้า เช่น...
อัลฟาจากการลงทุนคือสิ่งที่สามารถสร้างความแตกต่างให้กับความมั่งคั่งของคุณอย่างมหาศาล อัลฟาจากการลงทุนคือต้นตอของวลีที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า สิ่งมหัศจรรย์อันดับที่ 8 ของโลกคือผลตอบแทนทบต้น ซึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วถึงผลตอบแทนของเงินลงทุนที่เติบโตกว่า 15,000 เท่าในช่วงเวลา 53 ปีระหว่างปี 1964-2018 ...
Alpha Company หมายถึงองค์กรที่สร้างขึ้นด้วยคอนเซ็ปต์ Do more with less คือการใช้แนวคิดและเครื่องมือบริหารสมัยใหม่ ซึ่งเริ่มต้นใช้กันในบริษัทเทคโลยีชั้นนำของโลก นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารคน และสร้างระบบขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น Alpha Company เป็นส่วนหนึ่งของ Alpha Pro...
แรงบันดาลใจในการเขียนบทความนี้มาจาก พี่แบงค์ (ชยนนท์ รักกาญจนันท์) Co-founder ของ FINNOMENA หรือที่รู้จักกันในนาม Mr.Messenger นั่นเอง ขอเกริ่นก่อนสักนิดว่าการทำงานที่ FINNOMENA เวลางาน เราทำงานอย่างจริงจัง เวลาเล่น เราก็เล่นอย่างจริงจังเหมือนกัน ช่วงแรกๆ ที่เพิ่งเข้ามาทำงานยังอยู่ในช่วงปรับตัว เลยเกิดอาการที่เวลางานเบียดเวลาเล่นจนรู้สึกเครียด แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการงานได้...
ย้อนกลับไปเมื่อตอนกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ผมเขียนบทความแรกในคอลัมน์ Alpha Pro ผมได้ให้มุมมองถึงผลกระทบของวิกฤตการณ์โควิด-19 กับการลงทุน ขณะที่บทความชิ้นต่อมา ก็เขียนเกี่ยวกับธีมการลงทุนที่น่าสนใจในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็มี ESG Investing ซึ่งย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance บทความนี้ ผมขอขยายความภาพของ...
Alpha คืออักษรตัวแรกในภาษากรีก Alpha ในทางดาราศาสตร์หมายถึงดาวดวงแรก และเป็นดาวดวงที่สุกสว่างที่สุดในหมู่ดาวนักษัตร Alpha มักใช้เป็นสัญลักษณ์แทนผู้มีอิทธิพลในสาขาต่างๆ เช่น Alpha Chef ก็หมายถึงเชพมือฉกาจ หรือ...
The Four Tendencies แนวคิดที่ปรากฏอยู่ในชีวิตจริง ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือที่โด่งดังและมักได้รับการแนะนำให้กับคนที่อยากเปลี่ยนแปลงชีวิตและพัฒนาตัวเอง คิดค้นโดย เกร็ตเชน รูบิน ซึ่งเป็นนักเขียนและนักพูดด้านการพัฒนาตัวเอง The Four Tendencies กล่าวถึงคน 4 ประเภท ซึ่งการแยกประเภทนี้ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาการตอบสนองต่อความคาดหวัง...
โดยปกติแล้ว เวลาเราพูดถึงศาสตร์แห่งการเงิน เราก็มักจะนึกถึงวิธีการหาเงินและบริหารเงินเสียเป็นส่วนใหญ่ คนมากมายใช้บริการที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อช่วยบริหารความมั่งคั่งให้เติบโต และมีอีกมากมายที่แสวงหาโอกาสด้านการงานต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ ทั้งหมดทั้งมวลตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า หากมีเงินมากขึ้น เราจะยิ่งมีความสุข ซึ่งถ้าว่ากันตามตรงแล้วก็สมเหตุสมผลดี มีเงินมากขึ้นก็สบายใจขึ้น จับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น แต่ว่างานวิจัยในยุคสมัยใหม่ได้ให้คำตอบอันน่าทึ่งว่า รายได้ที่มากขึ้นเป็นเท่าตัวนั้น ส่งผลให้ความสุขเพิ่มขึ้นเพียงน้อยนิด และเมื่อรายได้สูงถึงจุดหนึ่งเมื่อไหร่ การเพิ่มขึ้นของรายได้ก็จะไม่ส่งผลกับความสุขมากเท่าที่ควร หรือเผลอๆ อาจจะไม่ส่งผลเลยก็ได้...
ผิดมากไหม? ถ้า ‘ไม่รู้’ แล้วลงทุน คงเป็นคำถามที่ใครหลายๆ คนที่เพิ่งเริ่มศึกษาการลงทุน ต้องประสบพบเจอกันเป็นแน่ “เราไม่ได้รู้เรื่องเศรษฐกิจเท่าผู้จัดการกองทุนหรือนักวิเคราะห์เก่งๆ หลายๆ ท่าน เราคงสร้างเงินจากสิ่งนี้ไม่ได้หรอก” – จริงๆ แล้วมันก็มีส่วนถูกอยู่นะที่จะคิดแบบนั้น เราอาจจะไปทำอะไรที่ใช่สำหรับเราและเราทำได้ดีคงจะดีกว่า ...
“คนเป็นสิ่งมีชีวิตที่ขี้เกียจ” โลกเรามีสิ่งต่างๆ ให้ทำมากมาย วันหนึ่งเราสามารถเขียน To do list ได้เยอะแยะว่าจะทำนู่นทำนี่ ไปนู่นไปนั่น ถามว่ามีคนที่ทำทั้งหมดได้จริงๆ กี่คน? น้อยมาก! ไม่ใช่แค่เรื่องของลิสต์ยาวเหยียดของสิ่งที่เราตั้งใจจะทำเท่านั้น นิสัยหลายอย่างที่เราตั้งใจว่าจะเปลี่ยนมาตั้งแต่ปีใหม่เมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้เราก็ยังเปลี่ยนไม่ได้เลย สุดท้ายก็ทำได้แค่ผิดหวังกับตัวเอง แล้วนั่งเขียนเป้าหมายอันเดิม...
ยังจำได้ไหมว่า ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อยู่มาวันหนึ่ง บริษัทก็ประกาศให้ทุกคนทำงานจากบ้าน (Work from Home) ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ ก็คงจะเซอร์ไพรส์อยู่หรอก แต่เพราะตอนนั้นอยู่ในช่วงบรรยากาศการคุกคามของ COVID-19 ซึ่งนับวันจะยิ่งร้ายแรง การประกาศนโยบาย Work from Home จึงไม่ใช่อะไรที่น่าแปลกใจขนาดนั้น...
การหยุดชะงักของเศรษฐกิจโลกซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนยุคนี้ว่า “กลยุทธ์หรือเครื่องมือการลงทุนใด ที่จะสามารถให้ผลตอบแทนที่ยั่งยืนในระยะยาว” เราจะสามารถใช้องค์ความรู้เดิมๆ ที่มีมาอยู่ก่อนหน้านี้ หรือ จากวิกฤตการณ์ครั้งนี้มันสร้างโอกาสบนมุมมองใหม่ๆ ที่อาจให้ผลตอบแทนเทียบเท่าหรือดีกว่าองค์ความรู้เดิมๆ ที่จริงกับคำถามนี้ผมก็พอจะบอกได้ทันทีในตอนนี้เลยว่า ด้วยระยะเวลาในช่วงวิกฤตที่เราเผชิญกันอยู่ในเวลานี้ ยังถือว่าสั้นเกินว่าที่จะฟันธงได้ว่า เศรษฐกิจและสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไรในอนาคต และเพราะสถานการณ์ที่ประชากรโลกเจอร่วมกันนี้ เป็นสถานการณ์ที่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยเผชิญกับมันมาก่อน ดังนั้น จึงยิ่งยากขึ้นไปอีกที่เราจะสามารถตอบคำถามได้แบบมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า “กลยุทธ์หรือเครื่องมือการลงทุนใด...