“ข้าพเจ้ารักปารีส” ประโยคขึ้นต้นในหนังสือ ความรักของวัลยา1 ที่ผู้เขียน เสนีย์ เสาวพงศ์ มาเฉลยเอาในบรรทัดต่อไปว่า “ไม่ใช่เพราะปารีสมีไวน์และแชมเปญรสอร่อย ไม่ใช่เพราะปารีสมีระบำคาบาเรต์… มีเสน่ห์ด้วยผู้หญิงที่ชองป์เซลิเซ, ปิกาล, มาดแลน และกลีชี” อย่างที่ใครเข้าใจหรอก หากแต่เป็นเพราะ “ปารีสเป็นเมืองชีวิต ปารีสเป็นเมืองเก่าแก่ที่ได้เห็นเลือด น้ำตา...
“เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นเหมือนฝันร้ายที่จะตามหลอกหลอนคุณไปตลอดชีวิต คุณจะหวาดกลัวการไปสนามบิน หวาดระแวงว่าจะมีระเบิดซ่อนอยู่ไหมทุกครั้งที่มองเห็นกระเป๋า หวาดผวากับแทบทุกสิ่งรอบตัว แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันก็ตาม ฉันยังจำทุกสิ่งได้ดี เสียงผู้คนกรีดร้องด้วยความตื่นตระหนก กลิ่นคาวเลือดคละคลุ้งและควันระเบิดที่พวยพุ่งไปทั่วบริเวณ” ถ้อยคำแฝงความเจ็บปวดของ รีเบกกา เกรเกอรี หนึ่งในนักวิ่งผู้รอดชีวิตแต่ต้องสูญเสียขาไปหนึ่งข้างจากเหตุวินาศกรรม ณ การแข่งขันวิ่งมาราธอนที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดรายการหนึ่งของโลก ‘Boston...
ปีก่อนเรามีมุมมองความรักที่เปลี่ยนไป หลังจากที่ได้อ่านหนังสือชื่อดังเรื่อง The Power of Habit เขียนโดย Charles Duhigg ที่พูดถึงพลังของการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัย หนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราค่อนข้างเชื่อว่า ความสัมพันธ์เป็นเรื่องของกิจวัตรและพฤติกรรม ไม่ต่างจากเรื่องการกิน การออกหรือไม่ออกกำลังกายของคนเรา อย่างคุณรู้ไหมว่า ช่วงประมาณบ่ายสามถึงสี่โมงเย็นที่หลายคนติดนิสัยขอให้ได้ลุกเดินไปหยิบอะไรมากินนั้น สำหรับหลายคนมันเป็นคนละเรื่องกับการกินเพราะอยากกินเลยล่ะ เหตุผลที่เป็นแบบนั้นเพราะจริงๆ แล้วเราแค่ต้องการหาอะไรทำแก้เบื่อระหว่างที่นั่งจับเจ่ามาตลอดช่วงบ่ายเท่านั้นเอง และเผอิญว่าวิธีแก้เบื่อที่คิดได้ง่ายสุดก็คือ การลุกไปหาอะไรกิน...
เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินประโยคอันแสนคลาสสิกนี้ เมื่อเรากับเพื่อนถกเถียงกันถึงเรื่องความรักไปถึงจุดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยามที่ต้องการจะมอบความรักให้ใครสักคน หรือไม่ก็เพิ่งประสบกับความล้มเหลวในเรื่องความรักมาหมาดๆ แต่ประเด็นที่น่าสนใจนั้นอยู่เบื้องลึกภายในประโยคนี้ ว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ใช่ไหม ที่เราจะรักคนอื่นเป็นก็ต่อเมื่อรักตัวเองได้เสียก่อน ประโยคเงื่อนไขทำนองนี้มักจะใช้สอนใจหรือใช้ทำใจสำหรับคนที่ไม่เคยเชื่อในความรัก แต่สำหรับคนที่เคยผ่านประสบการณ์หนักๆ ในเรื่องความรักมาแล้ว ประโยคนี้ได้กลายเป็นบทเรียนที่ผูกมัดความคิดและทัศนคติในเรื่องความรักและความสัมพันธ์จนแทบจะดิ้นไม่หลุด พร้อมยอมจำนนให้อย่างเต็มหัวใจว่าต่อจากนี้ไปเราจะต้องเป็นเช่นนี้เสมอ “ ความรักเป็นความรู้สึกพิเศษที่แสนจะเรียบง่าย เวลาที่เรามองความรักเป็นเรื่องซับซ้อน นั่นก็เพราะตัวเราเองปรุงแต่งความรักให้เต็มไปด้วยส่วนผสมที่รกรุงรังเกินไป ”...
ช่วงเดือนที่ผ่านมานี้ เราได้คุยกับเพื่อนผู้หญิงหลายคนเกี่ยวกับเรื่องหัวใจ และมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ทำเราสะพรึงกลัวมาก ถึงขั้นเอามือทาบอก ร้องว่า “โอ๊ย นี่มึงดูอะไรกันขนาดนี้” นั่นก็คือเรื่องการส่องเฟซบุ๊กของคนที่แอบชอบ อันที่จริงต้องบอกก่อนว่า เรื่องส่องเฟซบุ๊กเป็นหนึ่งในประเด็นวิทยานิพนธ์ที่เราเคยศึกษา แต่ถึงอย่างนั้น ทุกครั้งที่ได้ยินใครเล่าเรื่องนี้ก็ยังทำให้เราตื่นเต้นได้เสมอ ยิ่งช่วงหลังๆ ที่คนย้ายไปเล่นอินสตาแกรมกันมากขึ้น และมีลูกเล่นใหม่ๆ เช่น ไอจีสตอรี (IG Story) ก็ทำให้เรื่องการ...
เรามีคนรู้จักอยู่สองสามคนที่เคยมีความสัมพันธ์แบบ friends with benefits หรือแบบ ‘มากกว่าเพื่อน แต่ไม่ใช่แฟน’ ซึ่งรวมไปถึงการมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งร่วมกัน แต่ว่าแทบทุกคนที่เรารู้จักไม่สามารถรักษาสถานะแบบเบลอๆ นี้ได้ยาวเลย เหตุผลเพราะ มักจะเกิดปัญหาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มอยากเป็นเจ้าข้าวเจ้าของหรือคบหาจริงจังกับอีกฝ่าย แต่ว่าอีกฝ่ายกลับไม่ต้องการคบแบบนั้น ผลที่ตามมาคือไปต่อกับสถานะเบลอๆ นี้ไม่ได้ และจบลงด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างหยุดและแยกย้ายกันไปเอง อย่างในงานวิจัยชื่อ Friendship After a...
สายตาจับจ้องไปยังกลุ่มคนตรงหน้า แทบไม่น่าเชื่อว่าหนุ่มสาวชาวปาริเซียงเนี้ยบกริบตั้งแต่ผมทรงอันเดอร์คัตเรียบแปล้ ไปจนถึงรองเท้า Dr.Martens เงาวับ ที่เรากำลังแฮงเอาต์ด้วยในบาร์เบียร์ใจกลางกรุงปารีสท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ จะเป็นคนกลุ่มเดียวกับฝรั่งปอนๆ สวมเสื้อกล้ามเบียร์สิงห์ คีบรองเท้าแตะช้างดาว แบกเป้ตะลอนๆ เดินทอดน่อง สั่งผัดไทยไม่ใส่พริกสำเนียงแปร่งที่เราพบเมื่อเดือนก่อน ณ ดินแดนอีกซีกโลกหนึ่งซึ่งไอร้อนระอุแผดเผาตลอดทั้งปี มหานครปารีสเองก็มีเรื่องราวให้เราแปลกใจได้เสมอ ไม่น้อยหน้าเพื่อนชาวปาริเซียงกลุ่มนี้เลย เพราะนอกจากจะเป็นเมืองที่มีการอนุรักษ์สักขีพยานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมร่วมสมัยแล้ว ฝรั่งเศสยังเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพมาตั้งแต่ไหนแต่ไร...
ทอดสายตาออกไปเบื้องหน้า ทุ่งหญ้าพลิ้วไหวอย่างเกียจคร้านเป็นแนวตามสายลมเย็นที่พัดมาเป็นระลอก ทันใดนั้นเสียงฝีเท้ากุบกับดังแว่วมาแต่ไกล และใกล้เข้ามาทุกขณะ หญิงสาวผมสีฟางร่างทะมัดทะแมงปรากฏตัวขึ้นตรงเส้นขอบฟ้า เธอวิ่งกระหืดกระหอบในมือถือถังพลาสติกบรรจุอาหารสัตว์มาด้วยใบหนึ่ง ด้านหลังคือฝูงแกะนับร้อย นำโดยแกะหนุ่มจ่าฝูง วิ่งกวดประชิดตัวเธอพร้อมเอาหัวกระแทกถังใส่อาหารอย่างดุดัน “เปิดประตู!” เธอตะโกนเสียงดังลั่นทุ่ง เรารีบวิ่งไปคว้าประตูรั้วไม้ขนาดมหึมา ผลักมันเปิดออกอย่างทุลักทุเล เสี้ยววินาทีต่อมา ถังใส่อาหารลอยลิ่วข้ามหัวเราเข้าไปในคอกไม้ พร้อมฝูงแกะหน้าตาหิวกระหายที่ควบตามเข้าไปติดๆ หญิงสาวผมสีฟางเดินมาพักหอบหายใจข้างๆ “สนุกเนอะ ว่าไหม” เธอถามพร้อมรอยยิ้มกว้าง...
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความอยากรู้เป็นแรงจูงใจผลักดันให้เกิดพฤติกรรมเพื่อขับเคลื่อนชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของสัญชาตญาณอันเป็นผลผลิตจากวิวัฒนาการ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้ามีใครให้ความสนใจเรื่องความรักของเรา หรือแม้แต่เราเองที่เป็นฝ่ายให้ความสนใจความรักของคนอื่น ‘ความรักและความสัมพันธ์’ น่าจะเป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในวงสนทนาอยู่บ่อยครั้ง ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ด้วยเหตุผลพื้นฐานที่สุดนอกเหนือจากความอยากรู้ คือเพื่อแชร์มุมมองและประสบการณ์รักของกันและกัน หนึ่งในคำถามที่ฟังดูแสนจะธรรมดาอย่าง ‘รักคืออะไร?’ กลับสร้างปฏิกิริยาตอบกลับจากคำตอบของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ไม่ผิดคาดนัก เพราะความรักเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล รักของเรา รักของเธอ รักของเขา แต่ละคนมีประสบการณ์รักและถูกรักเป็นของตัวเอง ดังนั้น ในคำถามเดียวกัน...
เราเคยอ่านหนังสือของ ริก วอร์เรน เขียนไว้ประโยคหนึ่งที่เราจำได้ขึ้นใจว่า “การที่เราไม่ให้อภัยใคร ทำให้เรารักใครคนอื่นอย่างเต็มหัวใจไม่ได้” ซึ่งประโยคนี้ทำให้เรานึกถึงหนังญี่ปุ่นเรื่อง Departures ที่พระเอกเป็นนักดนตรีอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เมื่อล้มเหลวจากอาชีพ เขาเลยย้ายกลับไปทำงานที่บ้านเกิดโดยเป็นสัปเหร่อคอยตกแต่งศพ ส่วนปมใหญ่ในชีวิตของพระเอกคือการที่เขาเข้าใจมาตลอดว่าพ่อไม่รัก และนั่นทำให้ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความเศร้าหมองและการจมปลักอยู่กับปมภายในใจ จนกระทั่งวันหนึ่งโชคชะตาก็ทำให้เขาต้องมารับหน้าที่ตกแต่งศพให้พ่อที่ไม่ได้เจอกันมาหลายสิบปี และวันนั้นเองที่ทุกอย่างได้เฉลยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาพ่อรักและรอคอยจะเจอเขา ซึ่งในวันนั้น ปมที่อยู่ในใจมาตลอดหลายสิบปีของพระเอกก็ถูกคลายออก เขาเหมือนได้ชีวิตใหม่ หลังจากนั้นเขาถึงได้มีครอบครัวและเริ่มต้นบทบาทพ่อของลูกชายที่สามารถมอบความรักให้ลูกได้อย่างเต็มที่...
ครั้งหนึ่งเราอ่านหนังสือ ไม่มีความเจ็บปวดใดที่คุณเอาชนะไม่ได้ และมีอยู่ตอนหนึ่งที่เราประทับใจมาก เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนไข้หญิงรายหนึ่งที่มีปัญหา ‘กลัวความรัก’ โดยมีสาเหตุมาจากการมีประสบการณ์หรือปมไม่ดีในอดีต เธอเลยกลายเป็นคนกลัวการผูกพันกับใคร ไม่กล้าไว้ใจคน ทั้งที่ใจลึกๆ ก็อยากมีความรักดีๆ ผลคือผู้หญิงคนนี้ไม่มีความสุขและปัญหาในชีวิตรัก นักจิตบำบัดผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ก็เลยมอบหนังสือเล่มหนึ่งให้คนไข้หญิงอ่าน หนังสือเล่าถึงตัวละครที่เวลารักใครก็ทุ่มเทความรักให้เต็มหัวใจ แต่โชคร้ายที่ทุกครั้งต้องพบเจอแต่ความเจ็บปวด ตัวละครจึงตัดสินใจว่าจะไม่ขอรักใครอีกแล้ว แต่สุดท้ายตัวละครเองนี่แหละที่พบว่าการอยู่โดยไม่รักใครเลยต่างหาก คือสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเธอเอง และมันทำให้เธอไม่มีความสุข นับจากนั้นมาตัวละครนี้ก็เลยตัดสินใจว่า เอาละ...
เวลาเราอ่านบทความสอนวิธีจีบคนที่ชอบ เราพบว่าส่วนใหญ่เลยคือการแนะนำ ‘วิธีการ’ ไม่ใช่ ‘วิธีคิด’ ถามว่ามันดีไหม? มันก็ดีตรงที่บอกเป็นขั้นตอนเป๊ะๆ แต่มีใครบ้างที่ทำแล้วสำเร็จ? เหตุผลก็เพราะการจีบใครสักคนไม่ใช่สิ่งที่มีสูตรตายตัว คนเราต่างมีบุคลิก สไตล์การสื่อสาร และการเข้าหาคนที่แตกต่างกัน จะเป็นไปได้อย่างไรที่ทำแบบนั้นแบบนี้แล้วจะได้ผลเหมือนกันหมด ฉะนั้น เราเลยคิดเสมอว่า ถ้าจะแนะนำวิธีจีบ เราไม่อยากแนะนำเป็นวิธีการ แต่อยากแนะนำเป็น ‘วิธีคิด’...