เป็นเรื่องปกติ ที่เวลาทำงานย่อมมีงานที่ชอบและไม่ชอบ สำหรับงานที่ชอบนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะต่อให้เหน็ดเหนื่อยแค่ไหน แต่เพราะด้วยใจรักหรือเพราะยังสนุก ก็ทำให้กัดฟันทนทำต่อไปได้ ทว่าพอเป็นงานที่ไม่ชอบ ก็เป็นเรื่องยากที่จะให้กำลังใจตัวเองว่าทำไมฉันควรทนทำมันต่อไป อันที่จริง ไม่ว่าทำงานอยู่ในระดับไหน ก็จะมีงานที่ไม่ชอบปะปนอยู่ด้วยเสมอ เช่น บางคนขึ้นมาเป็นหัวหน้า แล้วนึกว่าจะรอดจากงานจุกจิก แต่ที่ไหนได้ งานจุกจิกปวดหัวกลับอยู่ในรูปแบบอื่นแทน เช่น ลูกน้องงอแง...
การเรียกเงินเดือนก็เหมือนการตั้งราคาสินค้า (Pricing) ซึ่งมีทั้งคนที่ตั้งแล้วได้ราคาดีและได้ราคาไม่ดี แต่เหนือสิ่งอื่นใด ต้องดูด้วยว่าตัวเรานั้นกำลังขายตัวเองแบบไหน ขายแบบสินค้าทั่วไป? หรือสินค้าพรีเมียม? พูดอีกอย่างคือก่อนจะคิดเรื่องเรียกเงินเดือน อาจต้องคิดก่อนว่าเรากำลังจะย้ายไปทำงานแบบธรรมดา หรือแบบไม่ธรรมดา กล่าวคือย้ายไปรับตำแหน่งเดิมหรือสูงขึ้นกว่านิดหน่อย หรือกำลังย้ายไปเป็น “กุญแจ” ให้กับบริษัท เพราะการย้ายงานแบบหนึ่งกับแบบสองมีวิธีคิดการเรียกเงินที่แตกต่างกัน การย้ายไปแบบธรรมดา...
เคยมีรุ่นพี่แนะนำว่า ถ้าเรียนจบควรทำตำแหน่งธุรการหรือแอดมินเอกสารสักปีสองปี เพราะงานนี้จะสอนวิชาทำงานมหาศาล แต่รุ่นพี่ไม่ได้บอกว่ามันสอนอะไรบ้าง เอาแต่พูดว่าไปลองก่อน เดี๋ยวจะรู้เอง แต่ขอให้เชื่อเถอะว่ามีประโยชน์แน่นอน ถัดจากนั้นประมาณหนึ่งปี เราก็จับพลัดจับผลูได้ทำงานแรกเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) ซึ่งก็คืองานประเภทแอดมินหรือธุรการนั่นเอง เพราะเนื้องานส่วนใหญ่วนเวียนอยู่กับเอกสาร การประสานงานระหว่างแผนก รวมทั้งติดต่อซัพพลายเออร์ ซึ่งขอบอกตามตรงว่าเราเกลียดงานนี้เหลือเกิน เพราะมันวุ่นวายและเรียกร้องความรับผิดชอบสูงมาก...
ปัญหาหนึ่งที่คนทำงานแทบทุกแห่งประสบคืองานล้นมือและไม่รู้จะจัดการอย่างไร เคลียร์งานเท่าไรก็เหมือนไม่หมด แถมยังมีงานใหม่หรืองานแทรกเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกหมดกำลังใจในการทำงาน จนกลายเป็นปัญหาเบิร์นเอาต์ เราเองก็เคยประสบปัญหานี้เช่นกัน อย่างที่ออฟฟิศเราเป็นเอเจนซีโฆษณา ฝ่ายที่เราดูแลเป็นหน่วยวางแผนกลยุทธ์โฆษณา (Planner) โดยช่วงกลางปีจะมีงานลูกค้าเข้ามาเยอะมาก ทีนี้ก็เกิดปัญหา เพราะลูกน้องเรารับงานล้น คือมากกว่า 6 ชิ้นต่อสัปดาห์ ส่วนตัวเราเองก็เหนื่อยไม่แพ้กัน...
เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์เราแต่ละคนล้วนแตกต่างไปตาม ‘เป้าหมาย’ ของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายเล็กๆ ที่แค่อยากตื่นขึ้นมาเพื่อจิบกาแฟอุ่นๆ ในทุกวัน หรืออาจยิ่งใหญ่จนถึงอยากรวยล้นฟ้า ไม่ก็อยากเป็นฮีโร่ช่วยเหลือคนมากมายก็ตาม ส่วนประกอบสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของคนส่วนใหญ่คือ ‘การทำงานหนัก’ เพื่อก้าวไปให้ถึงปลายทางที่ตั้งใจไว้ นอกจากนี้คุณลักษณะนิสัยอย่างความพากเพียรก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เราต่างใกล้ชิดกับเป้าหมายนั้นได้มากยิ่งขึ้น ...
เรียกว่าเป็นกรณีคลาสสิกก็ว่าได้ ที่มักมีการถกเถียงว่าหน้าที่ ‘ชงกาแฟ’ ให้ลูกค้าและหัวหน้าเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำหรือเปล่า? บางคนมองว่า ไม่ได้อยู่ใน Job Description แล้วจะทำไปทำไม แถมดูจะไม่ให้เกียรติกันด้วยถ้าบริษัทไหนยังมีนโยบายให้พนักงานชงกาแฟให้หัวหน้า ทว่า ‘งานชงกาแฟ’ มีมิติที่ลึกกว่านั้น จริงอยู่ที่งานชงกาแฟไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในหน้าที่ที่พนักงานต้องทำ แต่งานชงกาแฟมักถูกใช้เป็น ‘คำถามหลอก’ ที่หลายคนไม่ทันคิด เพราะมีกรรมการสอบสัมภาษณ์หลายคนที่ยังนิยมถามคำถามนี้กับผู้สมัครว่า...
สิ่งหนึ่งที่คนทำงานประจำโหยหาตลอดก็คือ ‘วันหยุด’ หรือความยืดหยุ่นในการเข้าออกงาน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า งานประจำบางงานก็สามารถมีอิสระและวันหยุดมากกว่าปกติได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเราเป็นต้น ปีนี้ก็เข้าปีที่ 3 แล้วที่เราใช้ชีวิตเป็นลูกจ้างก็จริง แต่มีอิสระที่จะไปนู่นมานี่ จนทำให้ใครหลายคนแทบไม่เชื่อว่าเราทำงานประจำ เพราะไม่คิดว่าจะมีงานที่ไหนยอมให้เราลาไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศบ่อยแทบทุกเดือน อันที่จริง รูปแบบการทำงานของเราถือเป็นดีลพิเศษ ฉะนั้น ในบทความนี้...
หลายคนมักคิดว่าการเลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องของจำนวนปีที่คุณทำงาน เช่น ถ้าทำงานสักสองปีก็น่าจะถึงจุดที่ได้ปรับตำแหน่ง แต่อีกมุมหนึ่ง เชื่อว่าคงมีหลายคนที่เคยอกหักเพราะคิดแบบนี้มาบ้างแล้ว คือเคยคิดว่าจะได้ปรับ แต่สุดท้ายไม่ได้ปรับ ถ้าจะวิเคราะห์ปัญหานี้ อาจต้องมาดูกันว่า การทำงานที่ผ่านมาเป็นการทำงานแบบไหน หนึ่ง แบบที่คุณเก่งงาน หรือสอง แบบที่คุณเก่งเพื่อเป็นหัวหน้า เพราะหลายคนมักเข้าใจว่าถ้าทำงานจนเก่ง เช่น ทำงานจนคล่อง...
เชื่อว่าช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคนพูดกันหนาหูว่า ‘เศรษฐกิจไม่ดี’ และมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายคงมีอาการหวาดหวั่นหรือใจตุ๊มๆ ต่อมๆ อยู่ไม่น้อย—ด้วยความกังวลว่าพิษเศรษฐกิจครั้งนี้จะส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงสัญญาเตือนภัยล่วงหน้า 5 ข้อ เพื่อให้คุณใช้สังเกตว่าบริษัทที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันมีทีท่าเป็นอย่างไร—จะวิกฤตเหมือนเศรษฐกิจช่วงนี้หรือเปล่า—เพราะบางทีคุณอาจกำลัง ‘รู้ตัวช้า’ หรือไม่ก็ ‘ตื่นตูม’ จนเกินเหตุ 1. รายได้ของบริษัทลดลง ...