ฉันเหนื่อย เหนื่อยเดินประท้วงทุกสิบมีนา ตะโกนโห่ร้องก้องไปในหุบเขาดารัมซาลา ฉันเหนื่อย เหนื่อยกับการขายเสื้อผ้าริมถนน สี่สิบปีแห่งการอดทน รอคอยความหวังเล็กราวฝุ่นผง ฉันเหนื่อย เหนื่อยกินข้าวกับดาล1 ให้อาหารวัวควายในป่าคานาคาธา ฉันเหนื่อย เหนื่อยลากโดตี2ไปมา บนพื้นโคลนถนนแมนกูทิลา ฉันเหนื่อย เหนื่อยกับการต่อสู้ให้ประเทศ ที่ฉันไม่เคยเห็น...
“Art wasn’t supposed to look nice; it was supposed to make you feel” —ศิลปะไม่ควรเป็นเพียงความสวยงามเท่านั้น ศิลปะควรทำให้เรารู้สึก -Pablo Picasso คำพูดนี้มักสะท้อนก้องไปมาอยู่ในหัว...
ในยุคสมัยแห่งการจัดลำดับ ให้คะแนน หลายครั้งก็แอบเห็นใจประเทศและเมืองต่างๆ ที่ได้ ‘คะแนน’ น้อยกว่าที่ควร เพียงเพราะภาพความจริงไม่ได้สวยงามตามภาพความคาดหวังที่ตั้งไว้ก่อนเดินทางมาถึง ทั้งๆ ที่ถ้าเมืองเหล่านั้นพูดได้ อาจจะแย้งกลับว่า ก็เป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้ว จะมาคาดหวังแล้วมาผิดหวังกับเมืองเองทำไมเล่า นักเดินทางทั้งหลาย โคเปนเฮเกนเป็นหนึ่งในเมืองที่ความคาดหวังสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับสิ่งที่ใครก็ต่างเยินยอกันเหลือเกินกับเมืองและประเทศเดนมาร์กนี้ ตั้งแต่สวัสดิการสังคมที่ดีจนติดอันดับสองของประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกปี 2017...
‘มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่คุณได้มาอยู่ที่นี่’ เอ็มมานูเอล บอร์ก โฮสต์ชาวมอลทีส กล่าวไว้อย่างนั้น หลังจบบทสนทนาบนโต๊ะอาหารยามเช้าเกี่ยวกับความบังเอิญต่างๆ ที่พบเจอตั้งแต่เหยียบแผ่นดินมอลตา เอ็มมานูเอลบอกว่า การที่เราได้มาอยู่ที่บ้านหลังนี้ มีบทสนทนาเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทุกอย่างล้วนถูกจัดสรรแล้วในเวลาที่เหมาะสม ด้วยประสงค์ของพลังงานเบื้องบน ที่มีคำนามนิยามใช้เรียกขับขานให้เข้าใจตรงกันว่า ‘พระเจ้า’ มันง่ายมากที่วาทกรรมเรื่องพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าจะเข้าไปสื่อสารในใจมนุษย์อย่างเรา โดยเฉพาะในเวลาเคว้งคว้าง ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วเสียจนมองทุกอย่างเป็นความว่างเปล่า การที่ได้รู้ว่ามีอะไรบางอย่างยังคอยเฝ้ามองเราอยู่บางทีมันก็เป็นการปลอบประโลม...
“ข้าพเจ้ารักปารีส” ประโยคขึ้นต้นในหนังสือ ความรักของวัลยา ที่ผู้เขียน เสนีย์ เสาวพงศ์ มาเฉลยเอาในบรรทัดต่อไปว่า “ไม่ใช่เพราะปารีสมีไวน์และแชมเปญรสอร่อย ไม่ใช่เพราะปารีสมีระบำคาบาเรต์… มีเสน่ห์ด้วยผู้หญิงที่ฌ็องเซลิเซ, ปิกาล, มาดแลน และกลีชี” ...
“Det finnes ikke dårlig vær, bare dårlige klær.” (There is no such thing as bad weather, only bad clothing.) ...
มันมีเหตุผลที่คำกล่าวว่า ‘การเดินทางสำคัญกว่าจุดหมาย’ ถูกยกขึ้นมากล่าวบ่อยครั้งทั้งในแง่การใช้ชีวิตและการเดินทาง นอกไปจากการเลือกปลายทางที่จะไปด้วยเหตุผลต่างๆ นานาแล้ว การเลือกวิธีการเดินทางก็ดูจะให้ประสบการณ์ที่ต่างกันไปในแต่ละครั้ง บ้างถึงเร็วแต่ก็พลาดโอกาสเห็นวิวข้างทาง บ้างหนทางก็ไม่สะดวกเท่าไหร่ แต่เวลาที่ยืดออกไปก็ดูจะทำให้มิตรภาพระหว่างทางขยายตาม โดยปกติแล้วเราจะดูแผนที่ ดูสภาพภูมิประเทศเชื่อมต่อระหว่างต้นทางและปลายทาง และเมื่อครั้งมาถึงประเทศแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวียที่ประเทศต่างๆ ถูกห้อมล้อมด้วยทะเลเหนือและทะเลบอลติก จึงไม่พลาดที่จะลองหาวิธีการเดินทางโดยเรือ ให้ได้ประสบการณ์แบบชาวไวกิ้ง ชาวพื้นเมืองสมัยก่อนของแถบนี้ ...
ภาพของอาคารสีพาสเทลตัดกันตั้งเรียงรายอยู่ข้างท่าเรือเก่าแก่ของโคเปนเฮเกน หนึ่งในนั้นคือบ้านของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘ราชาแห่งเทพนิยาย’ อย่าง ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (Hans Christian Andersen) ซึ่งเป็นภาพที่เราเคยเห็นครั้งแรกเมื่อได้รับโปสต์การ์ดจากเพื่อนทางจดหมายชาวเดนิช ในสมัยการเขียน pen pal ยังเป็นที่นิยมสำหรับการใช้หาเพื่อนต่างชาติและฝึกภาษาอังกฤษ การที่ได้มานั่งทอดหุ่ยหลังจากตระเวนเดินไปทั่วเมือง และนึกย้อนมองออกไปยังฉากในโปสต์การ์ดที่เคยได้รับวันนั้น มันเป็นความรู้สึกที่ราวกับฝันที่กลายเป็นจริง...
“Look daddy, there are no people on the street, only police.” เด็กผู้หญิงคนหนึ่งพูดโพล่งขึ้นมาระหว่างรอรถไฟใต้ดิน U-Bahn ในวันที่เมืองใหญ่เป็นอันดับสองของเยอรมนีอย่างฮัมบูร์ก เงียบผิดปกติทั้งใต้ดินและบนถนน ทำให้เสียงเล็กๆ ดังขึ้นมากระทบหู รวมทั้งเสียงไซเรน เสียงเฮลิคอปเตอร์บนท้องฟ้าที่ดังอยู่แล้วก็สั่นโสตประสาทมากไปกว่าเดิม ...
ฮัมบูร์ก เมืองท่าสำคัญทางฝั่งเหนือของประเทศเยอรมนี เมืองท่าสมัยใหม่ทับซ้อนใจกลางประวัติศาสตร์บ้านเมืองเก่า เคยถูกใช้เป็นพื้นที่ปะทะกันในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะสิ้นสุดลง มองไปยังพอร์ตริมแม่น้ำเอ็ลเบอ (Elbe) ที่กลายเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของโลกยุคใหม่นี้ แทบดูไม่ออกว่าครั้งหนึ่งเมื่อไม่ถึงศตวรรษก่อน เมืองแห่งนี้เคยถูกทำลายจนกลายเป็นซากปรักหักพัง หากไม่เพ่งพิจารณาดีๆ ว่าสีแดงอิฐของตึกนั้นเป็นความตั้งใจของการสร้างตึกให้มีกลิ่นอายยุโรปสมัยก่อน หรือเป็นคราบเลือดจากชีวิตที่เคยสูญเสียไปในเมืองท่าแห่งนี้กันแน่ ฮัมบูร์กที่เห็นในวันนี้กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจสำคัญของเยอรมันเหนือ ความเป็นเมืองท่าไม่ได้นำมาแค่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รุดหน้าจากการเชื่อมต่อเยอรมนีเข้ากับประเทศอื่นๆ แต่ยังรวมถึงคุณภาพชีวิตที่เป็นผลพลอยได้จากบรรยากาศพื้นที่สาธารณะริมน้ำ พื้นที่สีเขียวชอุ่มทั่วบริเวณกับปริมาณฝนที่มีไม่ขาด (ออกจะมากเกินไปด้วยซ้ำ) รวมไปถึงอุปนิสัยใจคอของผู้คนที่เขาว่ากันว่าผู้คนชาวฮัมบูร์ก...
แอนเดรส เจ้าของบ้านคนใหม่ เปิดบทสนทนาในวันที่เราพบกันว่า หนึ่ง เขาเป็นชาวคาตาลัน สอง เราเลือกอยู่ถูกที่และจะต้องชอบแถวนี้แน่ๆ เพราะย่านโพเบิลนู (Poblenou) นั้นไม่เหมือนที่ไหนๆ ในบาร์เซโลนา พร้อมกับแนะนำจุดต่างๆ ให้ออกไปเดินสำรวจจะได้รู้ว่าคำกล่าวของเขานั้นไม่เกินจริง ไม่ต้องรอยืนยันจากแอนเดรสก็พอจะรับรู้ได้ถึงข้อเท็จจริงนั้น ตั้งแต่เห็นธงคาดสีเหลืองแดงมีดาวขาวบนพื้นฟ้าประจำชาติคาตาลุญญา (Catalanya) ปักอยู่หน้าบ้าน และชื่อเสียงของย่านโพเบิลนู...
รูปปั้นทหารทำจากหินใส่ชุดเกราะโบราณ พร้อมตัวอักษรเกาหลีพาดอยู่บนอาคารตึกแถวสองชั้นหลังเก่าในยานชานเมืองของวลาดีวอสตอค ผู้ชายวัยกลางคนหน้าแดงก่ำแดดสามคนนั่งยองๆ พ่นยาสูบกันอยู่หน้าร้าน เงยหน้าขึ้นมาโดยไม่กล่าวคำทักทายอะไร เพียงแต่พยักหน้าหันไปทางประตูที่มีกระดาษติดอยู่ ซึ่งเขียนเป็นภาษาเกาหลี รัสเซีย และอังกฤษห้วนๆ ว่า “ปิด-เปิด 5 โมง” เรารู้สึกตัวว่าถูกจับจ้อง ครั้นพอหันไปมองสายตามสามคู่กลับทำให้เราเลิ่กลั่กเบือนหันไปจับจ้องกับมวนยาสูบตรงหน้าแทน นาฬิกาบอกเวลาว่าอีกไม่นานจะ 5 โมง...