“การตายไม่น่ากลัวหรอก การถูกห้ามไม่ให้ตายสิน่ากลัวกว่า” David Goodall ชายชราวัย 104 ปี อดีตศาสตราจารย์และนักวิทยาศาสตร์สัญชาติอังกฤษ-ออสเตรเลีย ในชุดสเวตเตอร์ไหมพรมสีน้ำเงินที่มีรอยปักบนอกซ้ายว่า ‘ageing disgracefully’ (แก่ตัวอย่างไม่สง่างาม) ให้สัมภาษณ์นักข่าวเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตของเขา ตามด้วยการฮัมทำนองท่อนหนึ่งในบทประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของบีโธเฟน ซึ่งเป็นบทเพลงสุดท้ายที่เขาเลือกจะได้ยินในช่วงข้ามผ่านระหว่างความเป็นและความตาย น้ำเสียงของ Goodall แตกพร่า...
แอนเดรส เจ้าของบ้านคนใหม่ เปิดบทสนทนาในวันที่เราพบกันว่า หนึ่ง เขาเป็นชาวคาตาลัน สอง เราเลือกอยู่ถูกที่และจะต้องชอบแถวนี้แน่ๆ เพราะย่านโพเบิลนู (Poblenou) นั้นไม่เหมือนที่ไหนๆ ในบาร์เซโลนา พร้อมกับแนะนำจุดต่างๆ ให้ออกไปเดินสำรวจจะได้รู้ว่าคำกล่าวของเขานั้นไม่เกินจริง ไม่ต้องรอยืนยันจากแอนเดรสก็พอจะรับรู้ได้ถึงข้อเท็จจริงนั้น ตั้งแต่เห็นธงคาดสีเหลืองแดงมีดาวขาวบนพื้นฟ้าประจำชาติคาตาลุญญา (Catalanya) ปักอยู่หน้าบ้าน และชื่อเสียงของย่านโพเบิลนู...
ใดๆ ในโลกล้วนเปลี่ยนแปลง มีใครเคยบอกเราว่า อินเดียคือยาขนานเอกรักษาอาการป่วยใจได้ด้วยการปลุกสติให้กลับคืนมาทุกย่างก้าวในประเทศนั้น ก็อาจจะจริงอย่างที่เขาบอกเรื่องการใช้สติรักษาความป่วยใจ แต่เขาผู้นั้นไม่ได้บอกไว้ว่าจะต้องแลกกับการป่วยกาย หรือต้องหอบร่างที่เริ่มป่วยจากการหายใจไม่ออกเพราะฝุ่นควันตั้งแต่วันที่สองในเดลี เพื่อไปนั่งรถบัสกลางคืนเป็นเวลาสิบชั่วโมง ซึ่งตู้นอนบนรถบัสนั้นเปิดเพลงแขกปนไม่เข้าจังหวะกับเสียงบีบแตรตลอดทั้งคืน เวลาเดียวที่หูได้พักคือเมื่อรถจอดแวะให้เข้าห้องน้ำกลางถนนสี่เลน เราถามพี่คนขับว่าห้องน้ำอยู่ไหน พี่เขาชี้ไปฝั่งตรงข้ามถนนที่มีรถบรรทุกวิ่งไปมาพร้อมเสียงแตรสนั่น สติตื่นคืนกลับมากลางดึกอีกครั้ง เราเดินไปภาวนาไปเพียงเพื่อจะพบกับฉากกั้นห้องเปล่าๆ ที่มีทางเลือกให้ฝึกใจสองทาง คือฝึกความอดทนกลั้นไว้จนปลายทาง หรือฝึกขัดเกลาการมีตัวตน ลืมเรื่องภาพลักษณ์ใดๆ...
“มันยากที่จะจินตนาการได้ว่าครั้งหนึ่งเราเคยมีกำแพงเช่นนั้นตั้งอยู่จริงๆ แต่ในระยะเวลายี่สิบแปดปีที่มันคงอยู่ก็นึกไม่ออกเลยว่ากำแพงนี้จะหายไปได้อย่างไร” หนึ่งในบทสัมภาษณ์ Where were you when the Wall came down? จากสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยที่บันทึกเรื่องราวของผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในเยอรมนีช่วงก่อนการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน และนำมาจัดฉายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมฉลองครบรอบ 30 ปี แห่งการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน...
สุดเขตปลายรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย สุดสายปลายทางการเดินทาง คือเส้นทางหนึ่งที่ฝันไว้ สุดขอบดินแดนโลกตะวันตก ล่องข้ามน่านน้ำมหาสมุทรนั่นไปก็คือโลกตะวันออกที่เราเริ่มออกเดินทาง หากทรานส์-ไซบีเรียคือความฝัน วลาดีวอสตอค (Vladivostok) คือเมืองปลายทางที่เราไม่อยากก้าวมาถึง เพราะมันเป็นสัญญาณว่าความฝันนั้นจบลงแล้ว วลาดีวอสตอค เป็นประตูบ้านของรัสเซียฝั่งเอเชียแปซิฟิก จุดเริ่มต้นเส้นทางในฝันทรานส์-ไซบีเรียของใครหลายคน และเป็นจุดสิ้นสุดการเดินทางของใครบางคนรวมทั้งตัวเราเอง นอกจากที่ตั้งสุดตะวันออกไกลของรัสเซีย...
“ศิลปะคือรูปแบบความเป็นมนุษยชาติ เป็นพื้นที่ที่เราสามารถถ่ายทอดตัวตนภายในได้อย่างเป็นอิสระและจริงแท้ที่สุด” ชิป ทอม (Chip Tom) ภัณฑารักษ์นิทรรศการ ‘Wynn – Garden of Earthly Delights’ เล่าถึงที่มาที่ไปถึงภาพเขียนฝีมือเฮียโรนิมัส บอช (Hieronymus...
เช็กแผนที่ในมือตัวเองอีกทีเมื่อมายืนอยู่กลางถนน ย่านชานเมืองของกรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พลางหันไปมองพื้นที่รอบข้างที่ล้อมรอบไปด้วยบ้านทรงยุโรปหลังขนาดย่อมซึ่งมีสวนหย่อมอยู่หน้าบ้าน ยิ่งทำให้ไม่แน่ใจว่าจุดหมายปลายทางที่ตามหาจะมาปรากฏอยู่ในชุมชนเล็กๆ อย่างนี้ได้อย่างไร ชาวสวิสสูงวัยที่นั่งจับกลุ่มกันอยู่หันมาพยักหน้าทักทาย และชี้ไปที่อาคารสีขาวมุมถนนนั่น อาคารขนาดสามชั้นซึ่งน่าจะเป็นไม่กี่สิ่งในย่านแถบชานเมืองนี้ ที่มีผู้คนจากอีกฟากโลกแวะมาเยือนสม่ำเสมอ Ecole Nouvelle de la Suisse Romande (เอกอลนูแวลเดอ ลา...
‘Dialogue with Time’ เป็นนิทรรศการในศูนย์วิทยาศาสตร์ที่เอาจริงเอาจังเรื่อง EduTainment หรือการเรียนการสอนที่ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ต่างๆ ให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้ของประเทศสิงคโปร์ จนทำให้เราไม่แปลกใจเลยว่าทำไมระบบการศึกษาของที่นี่ถึงมีมาตรฐานสูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย รวมถึงของโลกด้วย ขนาดนิทรรศการนี้ยังสามารถออกแบบและนำเสนอออกมาให้สนุก สะท้อนสังคมได้อย่างมีสีสัน และชวนให้ทุกคนมาเปิดประสาทการเรียนรู้ แม้ว่าวันนั้นเป็นเวลาบ่ายแก่ๆ ของวันเสาร์ที่ฝนตก แต่คนจำนวนไม่น้อยทั้งครอบครัวและคู่รักต่างพากันมาเดินเล่นเต็มไปหมด ภาพของทุกคนที่เพลิดเพลินกับ Science...
ภาพของอาคารสีพาสเทลตัดกันตั้งเรียงรายอยู่ข้างท่าเรือเก่าแก่ของโคเปนเฮเกน หนึ่งในนั้นคือบ้านของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘ราชาแห่งเทพนิยาย’ อย่าง ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (Hans Christian Andersen) ซึ่งเป็นภาพที่เราเคยเห็นครั้งแรกเมื่อได้รับโปสต์การ์ดจากเพื่อนทางจดหมายชาวเดนิช ในสมัยการเขียน pen pal ยังเป็นที่นิยมสำหรับการใช้หาเพื่อนต่างชาติและฝึกภาษาอังกฤษ การที่ได้มานั่งทอดหุ่ยหลังจากตระเวนเดินไปทั่วเมือง และนึกย้อนมองออกไปยังฉากในโปสต์การ์ดที่เคยได้รับวันนั้น มันเป็นความรู้สึกที่ราวกับฝันที่กลายเป็นจริง...
“รสหวานของปลาไหลทะเล ไข่ม้วน และคัมเปียว รสเปรี้ยวและเค็มของโคฮาดะ รสขมของสึเคะปลาเนื้อแดง และรสมันของฮิราเมะกับหอยแครง… สีแดงของปลาเนื้อแดงและหอยแครง สีเหลืองของไข่ม้วน สีครามของปลาโคฮาดะ สีขาวของปลาฮิราเมะ และสีดำของคัมเปียว” ท้องร้องโครกครากแทบคลานหาอาหารญี่ปุ่นกินเสมอหลังจากที่ได้อ่าน ‘ไอ้หนุ่มซูชิ’ ฉากบนโต๊ะอาหารนี่เองที่ทำให้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันแบบฉบับญี่ปุ่นค่อยๆ แทรกซึมเข้ามาในความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคำกล่าว ‘อิตะดะคิมัส” ที่แม่โนบิตะมักย้ำให้พูกก่อนมืออาหาร หรือมิซาเอะแม่ผู้คอยจ้องไม่ให้ชินจังแอบเอาพริกหวานไปทิ้งใต้โต๊ะ เพื่อฝึกนิสัยให้กินผักได้...
ว่ากันว่า เราไม่ได้เติบโตตามอายุที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี แต่ชีวิตจะเติบโตขึ้นเมื่อก้าวข้ามผ่านงานยาก ความท้าทายบางอย่างต่างหากที่ทำให้เราก้าวพ้นจากวัยหนึ่งสู่วัยหนึ่ง มองย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ครั้งแรกที่ได้ยินข่าวเด็กติดถ้ำ ความเห็นและความรู้สึกต่อข่าวในวันนั้นล้วนต่างกันไปในใจแต่ละคน บ้างเป็นห่วง บ้างหวัง บ้างเศร้า บ้างคิดว่านี่ก็เป็นเพียงอีกข่าว ไม่มีใครคิดว่าเพียงไม่กี่สิบวันถัดมา เรื่องราวของสิบสามชีวิต จะกลายเป็นเรื่องราวของคนทั้งโลก และในวันที่พวกเขาออกมา ความรู้สึกหลากหลายที่เคยมีต่อเรื่องราวเหล่านั้นราวกับถูกหล่อหลอมในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน เป็นความปลื้มปีติใจ เป็นความยินดีร่วมกัน –...
รูปปั้นทหารทำจากหินใส่ชุดเกราะโบราณ พร้อมตัวอักษรเกาหลีพาดอยู่บนอาคารตึกแถวสองชั้นหลังเก่าในยานชานเมืองของวลาดีวอสตอค ผู้ชายวัยกลางคนหน้าแดงก่ำแดดสามคนนั่งยองๆ พ่นยาสูบกันอยู่หน้าร้าน เงยหน้าขึ้นมาโดยไม่กล่าวคำทักทายอะไร เพียงแต่พยักหน้าหันไปทางประตูที่มีกระดาษติดอยู่ ซึ่งเขียนเป็นภาษาเกาหลี รัสเซีย และอังกฤษห้วนๆ ว่า “ปิด-เปิด 5 โมง” เรารู้สึกตัวว่าถูกจับจ้อง ครั้นพอหันไปมองสายตามสามคู่กลับทำให้เราเลิ่กลั่กเบือนหันไปจับจ้องกับมวนยาสูบตรงหน้าแทน นาฬิกาบอกเวลาว่าอีกไม่นานจะ 5 โมง...