จังหวะหัวใจหยุดเต้นแบบในละครมีอยู่จริง! เมื่อชายหนุ่มร่างสูงโปร่งตรงหน้าก้าวเท้าเข้ามาหาในระยะประชิด “สวัสดีครับ คุณพักห้องนี้หรืเปล่า” เขาเอ่ยปากถามกลางโถงทางเดินในโฮสเทลแห่งหนึ่ง ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เรายิ้มตอบกลับไป เขาจึงร่ายยาวถึงชื่อเสียงเรียงนาม และจุดประสงค์ของการมาเยือนมหานครแห่งนี้ พร้อมเอ่ยปากชักชวนเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง หากเราท่องเที่ยวตัวคนเดียวเหมือนกัน เฮ้ย! ชวนกันง่ายๆ แบบนี้เลยหรือ เรานิ่งอึ้งไปชั่วขณะ แล้วจึงตอบกลับไปด้วยประโยคแสนสั้น “ตกลงค่ะ” แน่ล่ะว่าใครๆ...
“ทุกคนมีสิทธิในการตาย (หากนั่นไม่ใช่ข้อบังคับ), สิทธิในการทำผิดพลาด, สิทธิที่จะสงสัย, สิทธิที่จะรัก และถูกรัก (หากข้อหลังนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็น), สิทธิในการมีความสุข, สิทธิในการที่จะไม่มีความสุข, สิทธิในการมีศรัทธา, สิทธิในการเลือกสัญชาติของตนเอง, สิทธิที่จะเข้าใจ หรือปฏิเสธที่จะเข้าใจอะไรเลย, สิทธิที่จะรักและดูแลแมว (หากแมวไม่ต้องรักและดูแลคุณกลับ)…” ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องตลกและโกหก หากจะบอกว่าข้อความข้างต้นคือบางส่วนของรัฐธรรมนูญประจำรัฐอิสระแห่งหนึ่ง หากแต่นี่เป็นข้อความจริง และรัฐแห่งนี้มีตัวตนอยู่จริง...
ว่ากันว่า เราไม่ได้เติบโตตามอายุที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี แต่ชีวิตจะเติบโตขึ้นเมื่อก้าวข้ามผ่านงานยาก ความท้าทายบางอย่างต่างหากที่ทำให้เราก้าวพ้นจากวัยหนึ่งสู่วัยหนึ่ง มองย้อนกลับไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ครั้งแรกที่ได้ยินข่าวเด็กติดถ้ำ ความเห็นและความรู้สึกต่อข่าวในวันนั้นล้วนต่างกันไปในใจแต่ละคน บ้างเป็นห่วง บ้างหวัง บ้างเศร้า บ้างคิดว่านี่ก็เป็นเพียงอีกข่าว ไม่มีใครคิดว่าเพียงไม่กี่สิบวันถัดมา เรื่องราวของสิบสามชีวิต จะกลายเป็นเรื่องราวของคนทั้งโลก และในวันที่พวกเขาออกมา ความรู้สึกหลากหลายที่เคยมีต่อเรื่องราวเหล่านั้นราวกับถูกหล่อหลอมในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน เป็นความปลื้มปีติใจ เป็นความยินดีร่วมกัน –...
“ในการที่จะใช้ชีวิตนี้ คนเราต้องเรียนรู้ที่จะทำอยู่สามอย่าง คือ รักแม้ในสิ่งที่รู้ว่าไม่เป็นนิรันดร, ประคองมั่นไว้แนบกายราวกับว่าทั้งชีวิตขึ้นอยู่กับรักนั้น และเมื่อถึงเวลาที่ต้องปล่อยมันไป — ก็ต้องปล่อยไป” ตัวอักษรขนาดเล็กๆ บนผนังสีขาว ท่ามกลางข้าวของชิ้นเล็กชิ้นน้อย ตั้งแต่ตุ๊กตากระต่ายตัวมอมแมม ขนมปังขิงห่อพลาสติก กล่องไม้ขีดไฟ เสื้อบาสเกตบอล ไปจนกระทั่งรถสังกะสีเด็กเล่นคันเก่า ถูกจัดแสดงไว้กระจัดกระจายในห้องสีขาวเปล่าๆ พร้อมคำบรรยายใต้ภาพที่สั้นเป็นประโยคบ้าง ยาวเป็นจดหมายบ้าง ดูผ่านๆ...
“รสหวานของปลาไหลทะเล ไข่ม้วน และคัมเปียว รสเปรี้ยวและเค็มของโคฮาดะ รสขมของสึเคะปลาเนื้อแดง และรสมันของฮิราเมะกับหอยแครง… สีแดงของปลาเนื้อแดงและหอยแครง สีเหลืองของไข่ม้วน สีครามของปลาโคฮาดะ สีขาวของปลาฮิราเมะ และสีดำของคัมเปียว” ท้องร้องโครกครากแทบคลานหาอาหารญี่ปุ่นกินเสมอหลังจากที่ได้อ่าน ‘ไอ้หนุ่มซูชิ’ ฉากบนโต๊ะอาหารนี่เองที่ทำให้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันแบบฉบับญี่ปุ่นค่อยๆ แทรกซึมเข้ามาในความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคำกล่าว ‘อิตะดะคิมัส” ที่แม่โนบิตะมักย้ำให้พูกก่อนมืออาหาร หรือมิซาเอะแม่ผู้คอยจ้องไม่ให้ชินจังแอบเอาพริกหวานไปทิ้งใต้โต๊ะ เพื่อฝึกนิสัยให้กินผักได้...
“There is more to Belgium than waffles, frites, and Manneken Pis.” ข้อความบนป้ายที่อ่านแล้วทำให้รู้ตัวว่ามาเบลเยียมเป็นครั้งที่สามแล้ว จนต้องถามตัวเองตอนยืนรอรถหน้าสนามบินว่าอะไรกันที่ทำให้กลับมาประเทศเล็กๆ ท่ามกลางพี่ใหญ่แห่งยุโรปที่ขนาบข้างอย่างฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ถ้าคำตอบจะเป็นวาฟเฟิล ช็อกโกแลต หรือเบียร์ก็ไม่ผิดอะไร แต่รู้ดีแก่ใจว่าความหลงใหลมันมากไปกว่านั้น...
“Hate speech is not free speech” ถึงวันนี้มีใครจดจำข่าวผู้ชายที่ถูกถ่ายรูปบนรถไฟฟ้า ในภาพนั้นเขายืนเล่นมือถือ สวมรองเท้าที่มีรอยเป็นรู พร้อมแคปชันที่ผู้ถ่ายกล่าวไว้ว่า “รองเท้าติดกล้อง ขอให้สาวๆ ระวังตัว” กันได้บ้าง จำได้บ้างไม่ได้บ้าง แน่นอนละ เรื่องราวก็ผ่านมาแล้วเป็นปีๆ เนื้อหาของข่าวว่าอย่างไรนั้นจำไม่ได้ อย่าว่าแต่ให้รื้อความจำเลยว่าเคยฝากความเห็นอะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือไม่ อาจจะเคยพยักหน้าเออออไปในเชิงต่อว่าผู้ชายคนนั้น...
รถไฟเบอร์ 2 ตู้ ขบวนเบอร์ 14 ที่นั่งเบอร์ 16 ระยะเวลาเดินทาง 78 ชั่วโมง ก่อนจะถึงที่หมายแรก พร้อมข้อมูลการเดินทาง เวลาท้องถิ่นเมื่อเทียบกับเวลาบนรถไฟถูกเขียนไว้อย่างละเอียดโดยเพื่อนชาวรัสเซียที่พบกันในโฮสเทลและคอยช่วยเหลือเพื่อเตรียมตัวเดินทางโดยรถไฟข้ามจากเมืองหลวงฝั่งตะวันตกไปยังสุดขอบตะวันออกของประเทศรัสเซีย ความใส่ใจของเพื่อนใหม่ที่มากล้นจนเรานึกไม่ออกว่าการเดินทางครั้งนี้จะเป็นไปได้อย่างไรหากปราศจากมิตรภาพ และต้องประหลาดใจกับความรู้สึกที่เปลี่ยนไปเมื่อได้พบและพูดคุยกับคนรัสเซียที่ใครต่อใครต่างบอกเป็นเสียบเดียวกันว่าเป็นคนเย็นชาพอกับอากาศหน้าหนาว ก้าวแรกในประเทศนี้ที่ภาษาอังกฤษไม่ช่วยอะไร และการยิ้มสู้ก็ดูจะไม่ช่วยให้ได้รับความเห็นใจเพิ่มขึ้นแต่อย่างใดจึงเต็มไปด้วยความคาดเดาไม่ได้ “เราไม่ยิ้มเพียงเพราะว่ามันสุภาพ” ...
เราเดินข้ามสะพานชาร์ลส์ ข้ามผ่านจัตุรัสเมืองเก่าที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว แผงขาย Trdelník หรือ Chimney cake ขนมปังม้วนแท่งเหล็กย่างบนเตาถ่านโรยด้วยน้ำตาลและผงอบเชย ที่ใครมาก็ต้องซื้อกลับไปถ่ายรูปราวกับว่ามันเป็นขนมท้องถิ่นของที่นี่ ทั้งที่เจ้าขนมนี้มีขายทั่วยุโรปตะวันออกจนบอกไม่ได้ว่ามันเป็นขนมดั้งเดิมของประเทศไหน เดินต่อมาเรื่อยๆจนถึงจัตุรัสเวนเซสลาส ผ่านถนนช้อปปิ้งสายหลักที่เต็มไปด้วยร้านค้าแบรนด์เนมที่ข้าวของเหมือนกันไปหมดทั่วโลก ผ่านพิพิธภัณฑ์คอมมิวนิสต์ที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร ‘ความฝัน ความจริงและฝันร้าย สะท้อนชีวิตภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวาเกีย’ แต่เรายังคงเดินต่อมาเรื่อยๆ จนมาหยุดอยู่ที่สวนสาธารณะเล็กๆ แห่งหนึ่งที่อยู่ติดกับโรงหนังเก่าขนาดเล็ก ที่นี่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์...
“การตายไม่น่ากลัวหรอก การถูกห้ามไม่ให้ตายสิน่ากลัวกว่า” David Goodall ชายชราวัย 104 ปี อดีตศาสตราจารย์และนักวิทยาศาสตร์สัญชาติอังกฤษ-ออสเตรเลีย ในชุดสเวตเตอร์ไหมพรมสีน้ำเงินที่มีรอยปักบนอกซ้ายว่า ‘ageing disgracefully’ (แก่ตัวอย่างไม่สง่างาม) ให้สัมภาษณ์นักข่าวเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตของเขา ตามด้วยการฮัมทำนองท่อนหนึ่งในบทประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของบีโธเฟน ซึ่งเป็นบทเพลงสุดท้ายที่เขาเลือกจะได้ยินในช่วงข้ามผ่านระหว่างความเป็นและความตาย น้ำเสียงของ Goodall แตกพร่า...
หากสงครามยูโกสลาเวีย สงครามนองเลือดในยุค 1990s คือภาพเก่า ภาพจำที่โลกมีต่อโครเอเชียในวันนั้น ชัย (เกือบ) ชนะของโครเอเชียในวันนี้ก็ดูจะเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศ ภาพลักษณ์ของทีมม้ามืด ของประเทศเล็กๆ ที่สู้ยิบตา ราวกับว่าฟุตบอลนำสิ่งที่ชาวโครแอตถามหา แต่ไม่เคยได้รับในหลายทศวรรษที่ผ่านมา นั่นคือความหวังต่อการเปลี่ยนแปลง นักฟุตบอลของทีมโครแอตปีนี้ล้วนเกิดและเติบโตในช่วงเวลาที่โครเอเชียประกาศตนเป็นประเทศอิสระจากสงครามกลางเมืองร้ายแรงที่แตกแยกยูโกสลาเวียในปี 1991 ผู้เล่นคนสำคัญอย่าง ลูก้า...
ฉาก ‘Milk Bar’ (Bar Mleczny) ลักษณะเป็นห้องเดี่ยวหลังคาทรงเตี้ย ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางตึกอาคารสูงในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ดูคล้ายเป็นฉากที่ผิดที่ผิดทาง แตกต่างไปจากสิ่งปลูกสร้างในยุคปัจจุบัน ผ้าม่านลูกไม้สีเทาหม่นๆ คล้ายกลางวันในฤดูหนาว โคมไฟดิสโก้บอลที่มองดูแล้วน่าจะเป็นแชนเดอเลียร์โมเดิร์นในวันที่มันถูกยกจับขึ้นไปบนเพดานนั่น สิ่งของเหล่านี้กลายเป็นของเก่าเข้ากรุ หรือในอีกมุมมองหนึ่งคือเครื่องตกแต่งแห่งวันวาน เพราะอุปกรณ์ภายในร้านดูสงวนไว้ราวกับนั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปก่อนปี 1989 ก่อนคอมมิวนิสต์จะล่มสลาย...