“ข้าพเจ้ารักปารีส” ประโยคขึ้นต้นในหนังสือ ความรักของวัลยา ที่ผู้เขียน เสนีย์ เสาวพงศ์ มาเฉลยเอาในบรรทัดต่อไปว่า “ไม่ใช่เพราะปารีสมีไวน์และแชมเปญรสอร่อย ไม่ใช่เพราะปารีสมีระบำคาบาเรต์… มีเสน่ห์ด้วยผู้หญิงที่ฌ็องเซลิเซ, ปิกาล, มาดแลน และกลีชี” ...
โอเปราเฮาส์ โรงอุปรากรแห่งชาติที่เป็นดั่งสัญลักษณ์ของกรุงเวียนนา ด้านหน้าอาคารประดับตกแต่งด้วยศิลปะสไตล์นีโอเรอเนซองส์ ด้านในผสมผสานศิลปะหลายยุคสมัย แทบทุกตารางนิ้วประดับตกแต่งไปด้วยรูปปั้นสีทองอร่าม บนพื้นปูพรมแดงก่ำตัดกับผนังหินอ่อน ไม่เพียงแต่โดดเด่นในเรื่องความสวยงาม แต่ยังมีนัยยะสำคัญเป็นสถานที่ที่ใช้สืบสานเรื่องราวความรุ่งเรืองของชาติในอดีตมาสู่ปัจจุบัน ผ่านบทประพันธ์คลาสสิกของคีตกวีเอกระดับโลกอย่างโมซาร์ต หรือวากเนอร์ ซึ่งรวมความเป็นเลิศทางดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม ไม่ว่าใครมาถึงเวียนนาก็ต้องแวะที่นี่กันทั้งนั้น เราเดินผ่านหน้าโรงละครไปเรื่อยๆ จากประตูหนึ่งไปสู่อีกประตูหนึ่งจนถึงด้านหลังโอเปราเฮาส์ หยุดยืนหน้าประตูเหล็กสีแดงหม่นไร้การตกแต่งประดับประดาใดๆ ไม่มีคนยืนรอต่อแถวซื้อบัตร ไม่มีคนถ่ายรูป นี่คือประตูบานเดียวที่เปิดรับผู้คนที่ไม่มีบัตร...
แอนเดรส เจ้าของบ้านคนใหม่ เปิดบทสนทนาในวันที่เราพบกันว่า หนึ่ง เขาเป็นชาวคาตาลัน สอง เราเลือกอยู่ถูกที่และจะต้องชอบแถวนี้แน่ๆ เพราะย่านโพเบิลนู (Poblenou) นั้นไม่เหมือนที่ไหนๆ ในบาร์เซโลนา พร้อมกับแนะนำจุดต่างๆ ให้ออกไปเดินสำรวจจะได้รู้ว่าคำกล่าวของเขานั้นไม่เกินจริง ไม่ต้องรอยืนยันจากแอนเดรสก็พอจะรับรู้ได้ถึงข้อเท็จจริงนั้น ตั้งแต่เห็นธงคาดสีเหลืองแดงมีดาวขาวบนพื้นฟ้าประจำชาติคาตาลุญญา (Catalanya) ปักอยู่หน้าบ้าน และชื่อเสียงของย่านโพเบิลนู...
ตัดสินใจจองที่พักในโครเอเชียไปแค่ 2 วัน ด้วยคิดว่ามันจะเป็นเพียงทางผ่านของเราจากเมืองหลวงซาเกร็บ ไปสู่บูดาเปสต์ของฮังการี จุดหมายปลายทางที่ ‘เขาว่ากันว่า’ มีที่เที่ยวมากกว่า น่าสนใจกว่า ไปใช้เวลานานนานที่นู่นดีกว่า ภาพแรกของโครเอเชียเมื่อรถบัสข้ามเมืองเข้ามาจอดในสถานีขนส่ง คืออาคารบ้านเรือนสีน้ำตาลหม่นๆ ตึกหลายหลังมีลักษณะร้างแม้จะอยู่กลางเมืองหลวงของประเทศ ฝนก็ดันมาตกในวันที่เราเพิ่งมาถึงแบบนี้ ยิ่งตอกย้ำเสียงในใจซึ่งดังขึ้นมาว่า ดีแล้วที่เราจองมาพักแค่ไม่กี่คืน “ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไรให้เที่ยว” อยู่แป๊บเดียวแล้วไปต่อ…...
ตูลูส หรือ นครสีชมพู (La Ville Rose) คือชื่อเล่นที่ถูกตั้งตามสถาปัตยกรรมและตึกรามบ้านช่องยุคเรอเนซองส์ซึ่งก่อขึ้นด้วยอิฐสีส้มอมชมพู เมืองนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส มีเทือกเขาปิเรเนเป็นพรมแดนธรรมชาติขีดเส้นแบ่งจากสเปน เมืองซึ่งเป็นทางผ่านระหว่างเดินทางเช่นนี้ คงมีเหตุผลเรื่องความบังเอิญที่ทำให้เราต้องหยุดพัก เพราะดูเหมือนว่าบทเรียนต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นตลอดการเดินทางที่ผ่านมา ย้อนกลับให้ได้ทบทวนอีกครั้ง ณ นครสีชมพู เอริก...
ใดๆ ในโลกล้วนเปลี่ยนแปลง มีใครเคยบอกเราว่า อินเดียคือยาขนานเอกรักษาอาการป่วยใจได้ด้วยการปลุกสติให้กลับคืนมาทุกย่างก้าวในประเทศนั้น ก็อาจจะจริงอย่างที่เขาบอกเรื่องการใช้สติรักษาความป่วยใจ แต่เขาผู้นั้นไม่ได้บอกไว้ว่าจะต้องแลกกับการป่วยกาย หรือต้องหอบร่างที่เริ่มป่วยจากการหายใจไม่ออกเพราะฝุ่นควันตั้งแต่วันที่สองในเดลี เพื่อไปนั่งรถบัสกลางคืนเป็นเวลาสิบชั่วโมง ซึ่งตู้นอนบนรถบัสนั้นเปิดเพลงแขกปนไม่เข้าจังหวะกับเสียงบีบแตรตลอดทั้งคืน เวลาเดียวที่หูได้พักคือเมื่อรถจอดแวะให้เข้าห้องน้ำกลางถนนสี่เลน เราถามพี่คนขับว่าห้องน้ำอยู่ไหน พี่เขาชี้ไปฝั่งตรงข้ามถนนที่มีรถบรรทุกวิ่งไปมาพร้อมเสียงแตรสนั่น สติตื่นคืนกลับมากลางดึกอีกครั้ง เราเดินไปภาวนาไปเพียงเพื่อจะพบกับฉากกั้นห้องเปล่าๆ ที่มีทางเลือกให้ฝึกใจสองทาง คือฝึกความอดทนกลั้นไว้จนปลายทาง หรือฝึกขัดเกลาการมีตัวตน ลืมเรื่องภาพลักษณ์ใดๆ...
ฉันเหนื่อย เหนื่อยเดินประท้วงทุกสิบมีนา ตะโกนโห่ร้องก้องไปในหุบเขาดารัมซาลา ฉันเหนื่อย เหนื่อยกับการขายเสื้อผ้าริมถนน สี่สิบปีแห่งการอดทน รอคอยความหวังเล็กราวฝุ่นผง ฉันเหนื่อย เหนื่อยกินข้าวกับดาล1 ให้อาหารวัวควายในป่าคานาคาธา ฉันเหนื่อย เหนื่อยลากโดตี2ไปมา บนพื้นโคลนถนนแมนกูทิลา ฉันเหนื่อย เหนื่อยกับการต่อสู้ให้ประเทศ ที่ฉันไม่เคยเห็น...
ในยุคสมัยแห่งการจัดลำดับ ให้คะแนน หลายครั้งก็แอบเห็นใจประเทศและเมืองต่างๆ ที่ได้ ‘คะแนน’ น้อยกว่าที่ควร เพียงเพราะภาพความจริงไม่ได้สวยงามตามภาพความคาดหวังที่ตั้งไว้ก่อนเดินทางมาถึง ทั้งๆ ที่ถ้าเมืองเหล่านั้นพูดได้ อาจจะแย้งกลับว่า ก็เป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้ว จะมาคาดหวังแล้วมาผิดหวังกับเมืองเองทำไมเล่า นักเดินทางทั้งหลาย โคเปนเฮเกนเป็นหนึ่งในเมืองที่ความคาดหวังสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับสิ่งที่ใครก็ต่างเยินยอกันเหลือเกินกับเมืองและประเทศเดนมาร์กนี้ ตั้งแต่สวัสดิการสังคมที่ดีจนติดอันดับสองของประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกปี 2017...
เคยให้คำมั่นหมายว่าจะไม่เข้าร้านอาหารไทยหากไม่จำเป็น จะไม่หอบหิ้วเครื่องปรุงอาหารไทยมาเต็มกระเป๋าเดินทาง อาจทำเองบ้างเมื่ออยาก แต่ในโอกาสทั่วไปจะลิ้มลองอาหารของประเทศนั้นๆ ให้ได้มากที่สุด บอกตัวเองว่ามาทั้งทีก็น่าจะลิ้มรสชาติอาหารของเขา ไม่เอาความเคยชินในรสเครื่องเทศเป็นเครื่องยึดติดจนไม่ได้ประสบการณ์นั้นๆ เต็มที่ แล้วคำมั่นหมายก็แหลกสลายไปในเบอร์ลิน เมื่อเพื่อนเยอรมันชวนไป ‘สวนสาธารณะไทย’ ซึ่งเพื่อนยืนยันว่านี่แหละประสบการณ์แบบเบอร์ลินเนอร์ ขุดตัวเองออกจากที่นอนในสายวันอาทิตย์ แล้วนั่งรถไฟข้ามไปฝั่งตะวันตกของเบอร์ลิน สู่ Preussenpark สวนสาธารณะประจำย่านนี้ที่...
‘Ik hou van Holland’ ภาพเสื้อยืดปักตัวอักษร ‘ฉันรักฮอลแลนด์’ วางขายอยู่เต็มถนนสายหลัก, สะพานข้ามคลองเล็กๆ ที่มีอยู่แทบจะทุกๆ กิโลเมตร คอยเชื่อมอาคารหน้าแคบทรงสูงประดับกระจกใสบานกว้าง ซึ่งขนาบระหว่างสองฝั่ง, ปลาแฮร์ริงสดๆ เสิร์ฟคู่กับหัวหอมสับและแตงกวาดอง ล้างปากด้วยของหวานเป็นสตรูปวาฟเฟิลวางบนกาแฟร้อนๆ ข้างในมีซอสคาราเมลไหลเยิ้มไว้ตัดความขม เมืองแต่ละเมืองนั้น...
สุดเขตปลายรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย สุดสายปลายทางการเดินทาง คือเส้นทางหนึ่งที่ฝันไว้ สุดขอบดินแดนโลกตะวันตก ล่องข้ามน่านน้ำมหาสมุทรนั่นไปก็คือโลกตะวันออกที่เราเริ่มออกเดินทาง หากทรานส์-ไซบีเรียคือความฝัน วลาดีวอสตอค (Vladivostok) คือเมืองปลายทางที่เราไม่อยากก้าวมาถึง เพราะมันเป็นสัญญาณว่าความฝันนั้นจบลงแล้ว วลาดีวอสตอค เป็นประตูบ้านของรัสเซียฝั่งเอเชียแปซิฟิก จุดเริ่มต้นเส้นทางในฝันทรานส์-ไซบีเรียของใครหลายคน และเป็นจุดสิ้นสุดการเดินทางของใครบางคนรวมทั้งตัวเราเอง นอกจากที่ตั้งสุดตะวันออกไกลของรัสเซีย...
“Look daddy, there are no people on the street, only police.” เด็กผู้หญิงคนหนึ่งพูดโพล่งขึ้นมาระหว่างรอรถไฟใต้ดิน U-Bahn ในวันที่เมืองใหญ่เป็นอันดับสองของเยอรมนีอย่างฮัมบูร์ก เงียบผิดปกติทั้งใต้ดินและบนถนน ทำให้เสียงเล็กๆ ดังขึ้นมากระทบหู รวมทั้งเสียงไซเรน เสียงเฮลิคอปเตอร์บนท้องฟ้าที่ดังอยู่แล้วก็สั่นโสตประสาทมากไปกว่าเดิม ...