เบอรลินที่รัก หลายปีแล้วที่ไม่ได้กลับไปเยี่ยมเยือนเหมือนที่หมายมั่นไว้ก่อนจากกัน ฉันยังจำวันแรกที่ไปถึงในวันปลายฤดูใบไม้ผลิได้ …แดดบางใสนั่น แล้วก็กลิ่นลาเวนเดอร์ข้างทางที่อวลลอยในอากาศ ว่ากันว่าเมืองทุกเมืองมีกลิ่นอายของตัวเอง สำหรับฉัน กลิ่นของเบอร์ลินที่จำเก็บเป็นกลิ่นนั้น …ลาเวนเดอร์รางๆ ในกรุ่นแดด แม้จะรู้ดีว่าในช่วงเวลาอื่นของปีเมืองก็คงมีกลิ่นที่ต่างออกไป ...
ถ้าให้คุณยืนอยู่หน้า ‘สถานีรถไฟหัวลำโพง’ พร้อมหลับตาจินตนาการไปว่า ตลอด 105 ปีที่เปิดทำการมา หัวลำโพงผ่านเรื่องราวอะไรมาบ้าง… ‘โอ้โฮ!’ คุณยังไม่เห็นภาพเหล่านั้นหรอก แต่คงเป็นคำอุทานที่เผลอหลุดขึ้นมาก่อน เพราะที่นี่คือสถานีรถไฟแห่งแรกๆ ของประเทศไทย รวมทั้งยังเป็น ‘ศูนย์กลางการเดินทาง’ ที่กระจายตัวออกไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ทุกทิศทุกทาง...
เทอมสุดท้ายของชีวิตในรั้วมหา’ลัยที่เพิ่งผ่านพ้นไปปีกว่า วิชาหนึ่งที่เราลงเรียนเพราะอยากจะเรียนจริงๆ คือ ‘Self Awareness’ หรือการตระหนักรู้ในตัวเอง ซึ่งชื่อวิชาบอกชัดเจนแล้วว่าเป็นการเรียนรู้เพื่อกลับมสำรวจภายในจิตใจของตัวเอง และหนึ่งในบทเรียนนั้นคือ ‘Personal Core Value’ หรือ ‘คุณค่าภายในขั้นพื้นฐานของมนุษย์’ โดยอาจารย์ผู้สอนมีรายการคุณค่ามาให้นักศึกษาเลือก 5 รายการเรียงตามลำดับว่า คุณค่าไหนที่เห็นว่าสำคัญที่สุดในชีวิต ...
‘ญี่ปุ่น’ คือหนึ่งในชนชาติที่มักจะได้รับการพูดถึงอยู่เนืองๆ และเป็นที่ยอมรับโดยถ้วนทั่วกันว่าเต็มเปี่ยมไปด้วย ‘จิตสำนึกสาธารณะ’ ไม่ว่าจะเป็นต่อตนเอง สังคม หรือประเทศชาติ ทว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จิตสำนึกที่คำนึงถึงสาธารณชนของคนญี่ปุ่นกลับถูกครอบงำด้วยลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง ส่งผลต่อการกระทำที่เหี้ยมโหดมากมายตามมาหลังจากนั้น กลายเป็นบทเรียนขนานใหญ่ที่ถูกจารึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวด คอยย้ำเตือนชาวญี่ปุ่นไม่ให้กลับไปกระทำผิดพลาดซ้ำอีก บทความตอนนี้จึงต้องการที่จะพาคุณย้อนกลับไปทบทวนช่วงเวลาในยุคมหาสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมบนหน้าประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้ญี่ปุ่่นกลายมาเป็นชนชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มี ‘จิตสำนึกสาธารณะแบบญี่ปุุ่่น’...
นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘LINE’ แอปพลิเคชันคู่ใจของใครหลายคนที่เอาไว้ใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้คน ตั้งแต่ครอบครัว คนรัก หรือที่ทำงาน เรียกได้ว่าใช้งานได้สะดวกสบายแบบไร้รอยต่อกันเลย แต่รู้หรือไม่ว่าแอพพลิเคชันไลน์เปิดใช้งานมากว่าสิบปีแล้ว และกว่าจะมามีฟีเจอร์หลากหลายมากมายให้เราได้ใช้งานกันอย่างทุกวันนี้ มีประวัติที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง 2011 เดือนมีนาคมปี 2011 เกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิที่ภูมิภาคโทโฮกุ ทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของญี่ปุ่นล่มไม่เป็นท่าทั่วประเทศ มีเพียงสัญญาณอินเทอร์เน็ตเท่านั้นที่ใช้การได้...
เรื่องราวของทีมงานที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาอย่างยั่งยืนทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชนเพื่อร่วมแรงร่วมใจให้เกาะลันตาเป็นสวรรค์แห่งการพักผ่อนจริงๆ
มีข่าวว่าสถานีรถไฟ ‘หัวลำโพง’ หรือชื่อที่แท้จริงคือ ‘สถานีกรุงเทพ’ จะยุติบทบาทในฐานะสถานีส่วนกลางที่เชื่อมคนทั้งประเทศเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นทางการ และปรับเส้นทางรถไฟส่วนใหญ่ให้สิ้นสุดที่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ถือเป็นการปิดตำนาน 105 ปีของสถานี พร้อมกับความสุ่มเสี่ยงว่าพื้นที่ประวัติศาสตร์อาจถูกรื้อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นแทน ตามรอยโรงภาพยนตร์สกาล่าที่เพิ่งมีดราม่าไปเมื่อไม่นานมานี้ ไม่ว่าท้ายที่สุดชะตากรรมของหัวลำโพงจะเป็นเช่นไร อย่างน้อยสถานีที่ถูกออกแบบมาอย่างเป็นเอกลักษณ์ก็ไม่มีทางลบออกไปจากสังคมไทยได้ เนื่องจากมีภาพยนตร์ขนาดยาว...
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ดำเนินมาอย่างยาวนานซึ่งทุกคนต่างได้รับผลกระทบให้ต้องหาหนทางปรับตัวหรือแม้กระทั่งหาทางรอด สิ่งหนึ่งที่เราเห็นเป็นปรากฎการณ์ของยุคสมัย ก็คือการที่คนธรรมดาตัวเล็กๆ ต่างก็หันมา ‘ปลดล็อกความสามารถ’ ทำในสิ่งที่ตัวเองยังพอจะทำได้ โดยใช้ทั้งความถนัดและความหลงใหลเรียนรู้พัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ของตัวเองกันออกมามากมาย ที่สำคัญพวกเขามีจุดเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ อย่างในครัวที่บ้าน และทำธุรกิจแบบเดลิเวอรีเป็นหลัก ผ่านการสื่อสารด้วยโซเชียลมีเดีย เช่นเดียวกับ 3 ผู้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ที่ต่างก็ทำด้วยความใส่ใจ ภายใต้ยุคของวิถีปกติใหม่ที่เศรษฐกิจยังคงซบเซา...
เมื่อพูดถึง ‘จิตสำนึกสาธารณะ’ ก็มักจะพ่วงตามมากับภาพของ ‘ชนชาติญี่ปุ่น’ ที่ใครหลายคนมักจะมีภาพแบบสถิตย์ นึกถึงแต่อะไรที่ใครมักคิดถึงกันอย่างที่กระแสสื่อสังคมส่วนใหญ่มักจะให้ภาพร่วมกัน แต่จริงๆ แล้ว สิ่งนี้ไม่อาจให้ภาพเหมารวมกับลักษณะสังคมและวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นทั้งหมดทั้งมวลได้ แท้ที่จริงตามหน้าประวัติศาสตร์ของชาวญี่ปุ่นนั้นล้วนแล้วแต่มีพลวัตและไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวตลอดมาอย่างที่เราเข้าใจ บทความนี้จะต้องการกล่าวถึงบริบทสังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ถึงญี่ปุ่น ณ ปัจจุบันว่าภายหลังจากประเทศญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามในครั้งนั้น ทำให้ผู้คนเต็มไปด้วยบาดแผลภายในจิตใจและปัญหาทางอารมณ์มาตั้งแต่ตอนนั้นจวบจนปัจจุบันนี้ กลายมาเป็นความย้อนแย้งภายในจิตใจของคนญี่ปุ่น...
หากพูดถึงคำว่า ‘จิตสำนึกสาธารณะ’ สิ่งที่ใครหลายคนมักจะคิดถึงขึ้นมาพร้อมกัน จนอดเอามาเปรียบเทียบไม่ได้ ก็คือภาพของ ‘ชนชาติญี่ปุ่น’ ที่ลอยมาพร้อมกับภาพประชาชนต่อแถวเข้าคิวรับถุงยังชีพเมื่อภัยพิบัติ หรือภาพผู้นำมายืนหน้าโพเดียมประกาศขอลาออกจากตำแหน่งภายหลังจากการทำผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย แล้วสิ่งใดที่หล่อหลอมให้คนญี่ปุ่นมี ‘จิตสำนึกสาธารณะ’ คำนึงต่อผู้อื่นได้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวโลกได้ขนาดนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่เพียงแค่กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่เข้มข้น แต่ยังเป็นผลมาจากเรื่องทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และประวัติศาสตร์ของประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย ...
“คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก” วลีสุดฮิตเวลามีคนไทยสักคนแสดงศักยภาพที่ตัวเองมีจนเป็นที่ประจักษ์สายตาแก่คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการประกวดนางงามที่เพิ่งจบไป การแข่งร้องเพลง ทักษะด้านการแสดง การแข่งกีฬา รางวัลด้านวิชาการ รวมถึงผลงานด้านศิลปะแขนงต่างๆ ในบทความนี้เราอยากจะพูดถึงศิลปะการวาดภาพ ทั้งด้านวิจิตรศิลป์และด้านดิจิทัลอาร์ต หลายคนอาจรู้สึกเช่นเดียวกันกับเราว่า ศักยภาพของศิลปินในเมืองไทยมีมากพอให้ผลิตผลงานได้เทียบเท่าวงการศิลปะในต่างประเทศเลยด้วยซ้ำ...
หากคุณใช้บริการขนส่งมวลชนระบบราง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ รวมไปถึงแอร์พอร์ตลิงก์ หลังจากรถไฟเข้าเทียบชานชาลาแล้ว จะสังเกตได้ว่าคุณสามารถเดินเข้าไปในตัวรถได้ทันที ไม่ต้องปีนขึ้นบันไดหลายขั้นแบบรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การออกแบบชานชาลาให้สูงเทียบเท่ากับพื้นในตู้โดยสาร เรียกว่า ‘ชานชาลาเสมอระดับ’ ส่วนชานชาลาที่อยู่คนละระดับกับพื้นในตู้โดยสาร (ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วตัวชานชาลาจะอยู่ต่ำกว่า) เรียกว่า ‘ชานชาลาต่างระดับ’ และการออกแบบชานชาลาเสมอระดับนั้นเป็นการออกแบบให้ทุกๆ คนใช้ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จะเดินเร็ว เดินช้า...