แม้บ้านเราจะเป็นประเทศกสิกรรม และมีความเป็นไปได้ที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่ง ‘ครัวของโลก’ แต่ด้วยปัญหาของราคาผลิตผลที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนทั้งค่าแรง วัตถุดิบ และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ แต่กลับมีช่องทางการจำหน่ายที่จำกัด ทำให้เกษตรกรเป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะทำ จนกระทั่งในปี 2559 บริษัท แคสปี้ จำกัด ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลร่วมกับการลงพื้นที่การเกษตรจริง และมีการพัฒนาโครงสร้างมาโดยตลอด จนกระทั่ง Kaspy ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 และสร้าง Kaspy แอพพลิเคชันสัญชาติไทย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าเกษตร โดยเกษตรกรจะเป็นผู้กำหนดราคาขายเอง นอกจากนี้ยังมีการทำงานร่วมกับเกษตรกรเพื่อพัฒนาวงการเกษตรไทยขึ้น
Kaset + Happy = KASPY
ที่มาของชื่อ Kaspy นั้น ซีอีโอของบริษัทคือ ‘อั๋น’ – รังสิ ทุวิรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคสปี้ จำกัด ได้บอกว่าต้องการช่วยให้ความรู้แก่เกษตรกร และสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรที่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตรเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบ ‘อินทรีย์’ โดยใช้เกษตรกรด้วยกันที่ทำอินทรีย์แล้วประสบความสำเร็จมาแบ่งปันแนวคิดและความรู้ รวมถึงชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการทำเกษตรอินทรีย์ ที่จะปลอดภัยทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต เพื่อให้เกษตรกรทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขเหมือนกับชื่อ Kaspy ที่เขาตั้งขึ้นมาจากคำว่า Kaset + Happy นั่นเอง
ในส่วนของแอพพลิเคชันนั้น ‘ไมค์’ – วุฒิชัย ชีวะสุทโธ ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แคสปี้ จำกัด อธิบายถึงแพลตฟอร์ม Kaspy ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าเกษตรเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ และเมล็ดพันธุ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร ที่ทุกอย่างผ่านการคัดสรรค์มาอย่างดี โดยมีการแบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน เช่น สินค้าปลอดภัย สินค้าไร้สาร สินค้าอินทรีย์ และ สินค้า Kaspy คัดสรร โดยเป็นสุดยอดสินค้าที่ผ่านการคัดเลือกในหลายๆ ด้าน หรือจะเรียกว่าเป็นสินค้าระดับพรีเมียมก็ได้
‘ไมค์’ – วุฒิชัย ชีวะสุทโธ ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แคสปี้ จำกัด และ ‘อั๋น’ – รังสิ ทุวิรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคสปี้ จำกัด
คุณสมบัติหลักที่ทาง Kaspy ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมโครงการด้วยกัน
• เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ดีและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
• เป็นเกษตรกรที่ไม่เห็นผลกำไรเป็นที่ตั้ง
• ผลิตสินค้าดีมคุณภาพแต่ราคาจับต้องได้
• คนที่มีจิตใจมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
โดยทาง Kaspy มีระบบตรวจสอบย้อนกลับที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้ผู้บริโภคได้มั่นใจว่าจะได้ทานผักและผลไม้ที่ปลอดภัย และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาเป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยแบ่งการขายทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ B2C (Business to Customer) B2B (Business to Business) และ C2C (Customer to Customer) หรือการเปิดโอกาสให้คนปลูกผักผลไม้ที่มีสวนเล็กๆ ในบ้านของตัวเอง สามารถมาเปิดบัญชีเพื่อเป็นผู้ขายรายย่อยใน Kaspy ได้ ฝ่ายผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าเป็นสินค้าที่ปลอดภัย เพราะคนที่ปลูกพืชไว้รับประทานเองย่อมไม่ใช้สารเคมีในการเพิ่มผลผลิต และยังช่วยสร้างการซื้อ-ขาย ระดับชุมชนให้แข็งแรงขึ้น ผู้คนก็มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะเพื่อนบ้านหันมาพูดคุยและซื้อ-ขาย กันเองมากขึ้น ทั้งยังช่วยลด Carbon Footprint หรือทรัพยากรพลังงานที่การซื้อ-ขาย แบบเก่าที่ต้องขับรถเพื่อออกไปซื้อของที่ตลาดด้วย
นอกจากเรื่องของการซื้อ-ขายแล้ว ในแอพพลิเคชัน Kappy จะมีหมวดหมู่ ‘แบ่งปัน’ เพื่อเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่มีการแบ่งปันกันในชุมหรือพื้นที่ใกล้เคียง โดยที่มีสินค้าที่ต้องการแบ่งปันให้ผู้อื่นโดยไม่คิดค่าสินค้า ก็สามารถโพสต์ลงในหมวดหมู่แบ่งปันได้ ซึ่งต่อไปทาง Kaspy จะมีการพัฒนาแอพพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเพิ่มขึ้น
ธุรกิจและสังคม 2 เป้าหมายระยะยาวของ Kaspy
ว่าด้วยส่วนของธุรกิจ บริษัทได้วางโครงสร้างในการเพิ่มหมวดหมู่สินค้าให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่ยังอยู่ในคำจำกัดความของคำว่า ‘สินค้าเกษตร’ เพราะเล็งเห็นถึงการเติบโตของการซื้อ-ขาย สินค้าทางออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน โดยตั้งเป้าหมายว่าจะพัฒนาระบบให้มีสินค้าเกษตรที่ครบถ้วนมากที่สุด ตาม สโลแกนของบริษทที่ตั้งไว้ว่า ‘เกษตรครบ จบในแอพฯ เดียว’
ด้านสังคม เป็นการตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาที่ต่อยอดได้ทั้งในแง่ของบุคลและกระบวนการผลิตไปถึงการจำหน่าย โดยทางเกษตรกรต้องมีความคิดที่จะพัฒนาตนเองในด้านองค์ความรู้เพื่อการผลิตสินค้าที่ดีและปลอดภัย มีความรับผิดชอบในการเป็นพ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์ที่ดี มีความรู้ในการทำธุรกิจที่สามารถช่วยให้ตัวเองอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยไม่เบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้อื่น มีความเข้าใจความหมายของคำว่า ‘แบ่งปัน’ เรียนรู้การสร้างแบรนดิ้งและคอนเทนต์ให้กับไร่หรือตัวเอง เพื่อให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้า ทำความรู้จักการซื้อ-ขายในโลกออนไลน์ เพราะข่าวสารและการทำธุรกิจในยุคนี้ถูกย่อให้มาอยู่ในโทรศัพท์มือถือแทบจะ 100% รู้จักการจัดการและงานบริการเพื่อเป็นผู้ขายที่ดี เช่น การตอบข้อความ เมื่อมีลูกค้าทักแชตมาสอบถามสินค้า เข้าใจในเลือกบริษัทขนส่งที่เหมาะกับสินค้าที่ตนเองขาย รวมถึงวิธีการบรรจุสินค้า หรือการเลือกใช้กล่องที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้สินค้าเสียหายในระหว่างขนส่ง และสุดท้ายคือ เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองทั้งในเชิงปฏิบัติและแนวคิด เช่น ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมี เกษตรกรต้องทำอย่างไรเพื่อเป็นการตั้งเป้าหมายไปสู่การทำเกษตรแบบอินทรีย์ และปรับตัวเองในด้านมุมมองของการแบ่งปันให้มากขึ้น เพื่อสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน และมีความสุขเพิ่มขึ้น
นี่คือความตั้งใจและเป้าหมายระยะยาวที่ทาง บริษัท แคสปี้ จำกัด ได้วางไว้ และกำลังพัฒนาไปสู่ความสำเร็จในแต่ละส่วน ซึ่งนอกจากความตั้งใจที่ลงไปศึกษาและคลุกคลีกับคนทำอาชีพเกษตรกรรมอย่างตั้งใจตลอดสี่ปีก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ตอนนี้ยังมีการร่วมมือกับองค์กรที่มีจุดยืนเดียวกัน ในแนวคิดของการดำเนินชีวิตที่ดี คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและผู้คน มากกว่าเรื่องของผลกำไร เช่น โครงการพอแล้วดี หรือการสนับสนุนจากไปรษณีย์ไทยด้านการขนส่งสินค้าในราคาพิเศษ เป็นต้น
Website: https://kaspythailand.com
Facebook: Kaspy
Facebook Group: Kaspy Seller Group
LINE OA for Buyer: Kaspy
LINE OA for Seller: Kaspysellercenter
Where to Find
บริษัท แคสปี้ จำกัด ตั้งอยู่ที่ 109 ซอยราชครู (อารีย์) พหลโยธิน ซอย 5 ถนน พหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 เป็นออฟฟิศที่โอบล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และสนามหญ้าที่ร่มรื่นเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในการทำงาน