ความเก่งในมุมมองของคุณคืออะไร? แค่ไหนถึงเรียกว่าเก่ง? และคุณจะเก่งไปได้นานแค่ไหน?
ในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกอย่างมาไวไปไวราวกับสายลม คิดว่าความเก่งของคุณจะมีอายุนานมากแค่ไหน? จึงไม่แปลกใจเลยที่ว่าทำไมหนึ่งในทักษะที่จำเป็นที่สุดในการเอาชีวิตรอดในศตวรรษที่ 21 จะมีทักษะการเรียนรู้โดยไม่มีที่สิ้นสุด (Life Long Learning) บัญญัติเอาไว้ด้วย แต่อะไรที่ทำให้คุณมั่นใจว่าการเรียนรู้ตลอดอายุขัยของคุณจะมีประสิทธิภาพสูงสุดได้กันล่ะ?
Learning Designer กับศตวรรษที่ 21
ในวันที่สายงานอาชีพเก่าๆ ได้หายไป เนื่องจากไม่เป็นที่ต้องการ ก็มีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มความต้องการของคนในสังคมเช่นกัน และหนึ่งในอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการในโลกฝั่งตะวันตก แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างของประเทศเราคงจะเป็นอาชีพนักออกแบบการเรียนรู้ (Learning Designer)
ดังนั้น หากเรากำลังพูดว่าผู้คนในอนาคตข้างหน้าต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะอยู่รอด ระบบการศึกษาปัจจุบันต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างทักษะ Life Long Learning ได้ จึงเป็นหน้าที่ของ Learning Designer ที่จะต้องออกแบบการเรียนรู้ของผู้คนเสียใหม่
จากการที่ได้พูดคุยกับนักออกแบบการเรียนรู้ท่านหนึ่ง ได้กล่าวไว้ว่าไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ก่อนที่จะทำให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะเก่งได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า ‘ความเก่ง’ ที่แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่?
Instructional Design ทำไมเราถึงต้องรู้จักกับประกอบของความเก่ง
หากเราตีความความเก่งไว้ว่า ความรู้ และความสามารถที่ครอบคลุมในการทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างชำนาญ และไม่ว่าพวกเราทุกคนจะต้องการที่จะเก่งในด้านไหน Learning designer ได้นิยามองค์ประกอบของความเก่งไว้ด้วย 3 องค์ประกอบหลักเสมอ ได้แก่
1. ชุดของความรู้ (Knowledge)
2. ชุดของทักษะ (Skill)
3. ชุดของทัศนคติ (Mindset)
สาเหตุที่ต้องแตกองค์ประกอบความเก่งออกมา เพื่อที่จะได้รู้ว่าสิ่งใดกันที่เป็นอุปสรรคต่อในการสร้างความสามารถของคุณอยู่ และจะได้สร้างรูปแบบการเรียนรู้ให้ถูกจุด ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการที่ขับรถให้เก่ง คุณต้องมีความรู้ด้านกฎจราจร (Knowledge) แต่หากมีความรู้อย่างเดียวโดยขาดทักษะในการควบคุมพวงมาลัย (Skill) ก็ไม่นับว่าคุณเป็นบุคคลที่ขับรถเก่งได้ ดังนั้น ปัญหาของคุณก็คือการเสริมทักษะในการขับรถ จึงจะสามารถขับรถได้อย่างชำนาญบนท้องถนน และถ้าคุณมีทัศนคติในการขับรถที่ไม่ดี (Mindset) นั่นแสดงว่าคุณก็ต้องแก้ปัญหาตรงนี้เพิ่มขึ้นอีก
การยกตัวอย่างขับรถอาจทำให้เห็นว่าสิ่งที่ Learning Designer ทำ เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่หากเปลี่ยนโจทย์เป็น ‘ต้องการที่จะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างชำนาญ’ โจทย์อาจจะดูยากขึ้น แต่จะเห็นได้ว่าวิธีการยังคงเป็นแบบเดิม ไม่ว่าใครก็ตามที่มีวิธีการคิดในอย่างเป็นระบบเช่นนี้ก็จะทำให้เข้าใจได้ว่าความเก่งนั้นสร้างได้อย่างไร
Learning designer จะกลายเป็นหนึ่งในตำแหน่งสำคัญภายในองค์กร
หากพูดถึงการเรียนรู้เรามักติดกรอบว่าต้องอยู่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วบทบาทของนักออกแบบการเรียนรู้ในองค์กรรูปแบบของ Coorporate นั้นมีความสำคัญอยู่ไม่แพ้กัน ในโลกฝั่งตะวันตกนั้นจะมีตำแหน่ง Learning Designer เป็นหนึ่งใน Specialization ที่อยู่ใน Human Team เพราะนอกจากจะต้องเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่สุดแสนจะซับซ้อนแล้วนั้น ยังต้องมีความคิดสร้างสรรในการออกแบบบทเรียนให้พนักงานสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้เรื่อยๆ
ถึงแม้ว่าในองค์กรอาจจะมีทีม Talent Development อยู่ แต่ความแตกต่างกันก็คือ ทีม Learning Designer คือการที่ให้พนักงานหนึ่งคนสามารถที่จะก้าวจากจุด A ไปยังจุด B ผ่านการเรียนรู้ที่จะเก่งขึ้นในรูปแบบของตนเองได้อย่างไร
ในขณะเดียวกัน Talent Development จะเป็นการมองภาพกว้างในการที่จะวาง Career Ladder หรือการ Rotate ว่าพนักงานคนนั้นเก่งอะไร และจะสามารถให้เขาเติบโตไปเป็นอะไรได้บ้าง
Talent Development จึงเป็นการตั้งโจทย์ว่าพนักงานจะเก่งไปเป็นอะไร แต่ Learning Designer คือการจะทำให้พนักงานคนนั้นเรียนรู้ความเก่งได้อย่างไร? จึงพูดได้ว่า Learning Design เป็นหนึ่งในกระบวนการทำงานของทีม Talent Development แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้ถูกบัญญัติตำแหน่งดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน
‘Gamification’ สร้างความเก่งด้วยประสบการณ์ความสนุก
ถึงแม้ว่า Designer แต่ละคนจะมีวิธีในการสอนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป แต่หนึ่งในวิธีการสอนที่น่าสนใจคือการใช้ ‘เกม’ เป็นสื่อกลางในการสอน เพราะอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือ ‘ความสนุก’ ที่จะทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ Gamification จึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งบทบาทในการออกแบบบทเรียนการสอนของเหล่า Learning Designer ด้วย
Gamification คือการสร้างประสบการณ์สนุก ท้าทาย และมีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อสร้างสภาวะที่เรียกว่า Flow State ซึ่งเป็นสภาวะที่ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่นักออกแบบการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญคือ ‘ความสนุก’
และเกมในที่นี้นั้นไม่ได้หมายถึงเกมที่เด็กๆ เล่นกันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการจำลองสถานการณ์จริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมือนจริงมากที่สุด สร้างความกดดันและความท้าทาย เพื่อย่นระยะเวลาในการเรียนรู้
ดังนั้น ไม่เกี่ยวว่าคุณจะเป็นเด็กประถมวัย หรือพนักงานในองค์กรใหญ่ หากประสบการณ์นั้นมันท้าทาย และสนุกมากพอ คุณย่อมเรียนรู้จากมันอย่างไม่รู้ตัว จึงเป็นหน้าที่ของ Learning Designer นี้เองที่ต้อง แตกองค์ประกอบความเก่งเพื่อให้ทราบถึงสิ่งที่ขาดไปของผู้เรียน และเลือกวิธีการเรียนรู้ที่สร้างความสนุกความท้าทาย
“เด็กไทยจะมีพาร์ท Thinking ดีมาก คิดเยอะแต่ Express มันออกมาได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถ้าถามว่าอะไรสำคัญที่สุดเรามองว่าทุกอย่างมันเชื่อมกันหมด อย่างเช่น Part Doing ที่ดีก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้า Thinking Process เราต้องดีก่อน ดั้งนั้นมันต้องมาพร้อมกันทั้งหมด”
– เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ Co-founder BASE Playhouse
“สาเหตุที่ Life long Learning มาเนี่ย เพราะเขามองว่าโรงเรียนมันไม่พอละ Knowledge ที่ต้องใช้กับโลกที่มัน Complex ขึ้นทุกวันมันก็ไม่ทันแล้ว เพราะโลกมัน Require Knowledge ใหม่ๆ ตลอดเวลา การเรียนในห้องเรียนมันก็เลยไม่พอ แม้แต่เทรนนิงในบริษัทบ้างที่ยังไม่พอเลย”
– ภีศเดช เพชรน้อย Co-founder BASE Playhouse
BASE Playhouse Learning Designer hub For Entrepreneur
ส่วนใครถ้าอยากสัมผัสกับกระบวนการการสอนที่จะทำให้คุณเข้าใจถึงทักษะของตัวเอง และพัฒนาตัวเองผ่านความสนุกได้สามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่ BASE Playhouse ชั้น 2 โซน 24 ชั่วโมง สามย่านมิตรทาวน์ ห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้ ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่ก่อตั้งโดย ‘คุณม๋ำ’ – เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ และ ‘คุณแม็ก’ – ภีศเดช เพชรน้อย สอง Learning Designer ที่เชื่อว่า ความสนุก และการเรียนรู้สามารถที่จะไปด้วยกันได้ เพียงแค่อยู่ที่คุณเข้าใจว่าจะออกแบบมันอย่างไร โดยในปัจจุบันมีทั้งหลักสูตรสำหรับเด็กและสำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาบุคลากรให้ตอบโจทย์โลกในศตวรรษที่ 21 ที่จะมาถึง
เพราะทุกทักษะสามารถออกแบบได้ที่ BASE Playhouse