ประกันสุขภาพที่ first jobber ควรรู้เพื่อช่วยในการลดหย่อนภาษี และความคุ้มครองสุขภาพ

นอกจากเตรียมของขวัญปีใหม่ให้ตัวเอง และคนสำคัญเพื่อเป็นรางวัลแก่การทำงานหนักมาทั้งปี หรือเขียนรายการ New Year Resolutions แล้ว สิ่งที่ผู้มีรายได้จำเป็นต้องเตรียมตัวไว้อีกอย่างหนึ่งคือ ‘การยื่นและชำระภาษี’ ของปีที่ผ่านมา 

        สำหรับ first jobber ที่ต้องจ่ายภาษีปีนี้เป็นครั้งแรก การหาตัวช่วยมา ‘ลดหย่อนภาษี’ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งเพื่อให้เราได้รับประโยชน์จากการเสียภาษีมากยิ่งขึ้น 

        โดย ‘ประกันสุขภาพ’ เป็นตัวเลือกที่อยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของใครหลายๆ คน เพราะให้ความคุ้มครองสุขภาพยามเจ็บป่วย และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย มาดูกันว่าประกันสุขภาพแบบไหนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง และลดได้เท่าไหร่ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นภาษีในปี 2565 (ปีภาษี 2564)

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกันสุขภาพที่สามารถลดหย่อนภาษีได้

        • ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ

        • ประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก

        • ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)

        • ประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

ไม่ว่าจะซื้อให้ ‘ตัวเอง’ หรือ ‘พ่อแม่’ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกัน

        ประกันสุขภาพของตัวเอง

        • ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี

        • เมื่อรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 100,000 บาท

        • ประกันสุขภาพ Covid-19 ก็นำมาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้

        • ประกันสุขภาพประเภท UDR หรือ Unit Deducting Rider ซึ่งต้องซื้อพ่วงกับประกันชีวิตแบบ Unit-Linked ก็นำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน แต่เฉพาะส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมเพื่อความคุ้มครองสุขภาพเท่านั้น

        • ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย

       

        ประกันสุขภาพของพ่อแม่

        • ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี

        • ถ้าแบ่งจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่กับพี่น้องตัวเอง จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดตามจำนวนยอดเงินหารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้องที่ร่วมจ่าย (เช่น จ่าย 15,000 ร่วมกับพี่น้อง 3 คน ลดหย่อนต่อคนสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท)

        • ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้ตลอดปีภาษีนั้น เราสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่คู่สมรสไปใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี

        • พ่อแม่ต้องมีรายได้ทั้งปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท

        • ตัวเรา/คู่สมรส ต้องเป็นลูกแท้ๆ ที่ชอบด้วยตามกฎหมายของพ่อแม่ (ลูกบุญธรรมไม่ได้) ถึงจะสามารถนำประกันสุขภาพของพ่อแม่มาลดหย่อนได้

        • ต้องมีเราหรือพ่อแม่คนใดคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้นๆ

        • ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย

เพิ่มความมั่นใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ด้วยประกันสุขภาพจาก ‘เมืองไทยประกันชีวิต’

        เพราะประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต ให้ความคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่มากกว่าแค่ความคุ้มครอง ด้วยแผนที่เลือกได้ตามความต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท ซึ่งคุ้มครองทั้งโรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป โรคเก่าที่วนมาเกิดซ้ำได้ หรือโรคอุบัติใหม่ ก็มั่นใจได้ ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 80 ปี และดูแลต่อเนื่องสูงสุดถึง 99 ปี ข้อสำคัญคือ สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

        พิเศษสุดๆ ซื้อในช่วงนี้ ผ่อนค่าเบี้ย 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือแลกรับเงินเครดิตเงินคืนสูงสุด 14% หรือมองหาแบบประกันที่ตรงใจ ซื้อ 1 ได้ถึง 2 ทั้งคุ้มครองและลดหย่อนภาษี  ชอบแบบไหนก็จัดให้ ซื้อเลยวันนี้!! วางแผนเร็ว ทั้งคืนทั้งคุ้ม (ครอง) 

        รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://webmtl.co/3Cw9Lfu หรือ โทร.1766


       • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย

       • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

       • การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

       • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด

       • ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมเนื่องจากผลกระทบหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด รับความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 11 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2564

       • การปรับลดระยะเวลารอคอย (waiting period) เหลือ 14 วัน สำหรับการติดเชื้อโรค Covid-19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่ 28 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2564

       • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย