เรามักเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ‘นักรบย่อมมีบาดแผล’ เพราะนั่นเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่านักรบคนนั้นมีประสบการณ์ผ่านศึกมาอย่างโชกโชนแค่ไหน แต่ในความเป็นจริงคนธรรมดาอย่างเราก็มีบาดแผลได้ และเชื่อว่าย่อมมีกันทุกคน ทั้งบาดแผลภายนอกที่เห็นได้ตามร่างกาย รวมถึงบาดแผลภายในที่เรียกว่า ‘บาดแผลในใจ’
ไม่ว่าจะเป็นแผลภายนอก หรือแผลในใจ ไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ แต่บาดแผลนั่นย่อมมีผลต่อการเติบโตด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับบาดแผลที่อยู่ในใจ หรืออาจใช้คำว่า ปมในใจ เป็นสิ่งที่ยากจะรักษาให้หายได้ เนื่องจากความรุนแรงและความถี่ที่ทำให้เกิดบาดแผลนั่นย่อมแตกต่างกันไปตามสาเหตุที่เกิดกับคนแต่ละคน
Intro to ‘Trauma’
ในบริบทของจิตวิทยา บาดแผลในใจ ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Trauma’ หมายถึงการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนกับสภาวะจิตใจ
โดยบุคคลที่ถูกกระทบกระเทือนจิตใจอาจตอบสนองได้หลายวิธี เช่น เกิดสภาวะช็อก เศร้าสลด หรือปฏิเสธ ไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากการตอบสนองในทันทีหรือในระยะสั้น การบาดเจ็บยังอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาระยะยาวหลายอย่างในรูปแบบของความรู้สึกนึกคิดทางอารมณ์ เกิดภาพย้อนความทรงจำ มีความหุนหันพลันแล่น และเกิดความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด นอกจากอาการทางจิตใจแล้ว บาดแผลยังสามารถนำไปสู่อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เฉื่อยชา และคลื่นไส้ได้
ซึ่งการบาดเจ็บที่ทำให้เกิดแผลทางใจ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ การบาดเจ็บเฉียบพลัน การบาดเจ็บเรื้อรัง และการบาดเจ็บที่ซับซ้อน
การบาดเจ็บเฉียบพลัน (Acute Trauma)
Acute Trauma ส่วนใหญ่เป็นผลจากการประสบกับเหตุการณ์สะเทือนใจเพียงครั้งเดียว เช่น อุบัติเหตุ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การทำร้ายร่างกาย หรือภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงพอจะคุกคามความมั่นคงทางอารมณ์ หรือร่างกายของบุคคล เหตุการณ์นั้นจึงสร้างความสะเทือนใจไม่รู้ลืมในจิตใจของบุคคล
การบาดเจ็บเฉียบพลันมักแสดงในรูปแบบของ
- ความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนกมากเกินไป
- การระคายเคือง
- ความสับสน
- นอนไม่หลับ
- ความรู้สึกขาดจากสิ่งรอบข้าง
- ขาดความไว้วางใจอย่างไม่มีเหตุผล
- ไม่สามารถมีสมาธิกับงานหรือการเรียนได้
- ขาดการดูแลตนเองหรือกรูมมิ่ง
- พฤติกรรมก้าวร้าว
การบาดเจ็บเรื้อรัง (Chronic Trauma)
Chronic Trauma เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหลายครั้งในระยะยาวและ/หรือน่าวิตกกังวลเป็นระยะเวลานาน การบาดเจ็บเรื้อรังอาจเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยที่รุนแรงในระยะยาว การถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างต่อเนื่อง ความรุนแรงในครอบครัว การกลั่นแกล้ง และการประสบกับสถานการณ์ที่รุนแรง เช่น สงคราม เหตุการณ์ต่างๆ ของการบาดเจ็บเฉียบพลัน และการบาดเจ็บเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษา โดยอาการของการบาดเจ็บเรื้อรังมักปรากฏขึ้นหลังจากผ่านไปนานหลายปีหลังจากเหตุการณ์นั้น
การบาดเจ็บเรื้อรังมักแสดงในรูปแบบของ
- แสดงออกมาเป็นอารมณ์แปรปรวนหรือคาดเดาไม่ได้
- ความวิตกกังวล
- ความโกรธอย่างรุนแรง
- เหตุการณ์ย้อนหลัง
- เหนื่อยล้า
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ปวดหัว และคลื่นไส้
- อาจมีปัญหาเรื่องความไว้วางใจ และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่มีความสัมพันธ์หรืองานที่มั่นคง
การบาดเจ็บที่ซับซ้อน (Complex Trauma)
การบาดเจ็บที่ซับซ้อน เป็นการบาดเจ็บที่ยืดเยื้อและเกิดซ้ำ ยิ่งกว่าการบาดเจ็บเรื้อรัง ซึ่งเกิดขึ้นจากการสัมผัสกับเหตุการณ์ หรือประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจที่หลากหลาย โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่อาจทำให้บุคคลนั้นรู้สึกเหมือนถูกกักขังอยู่
อาจพบเห็นได้ในบุคคลที่เคยตกเป็นเหยื่อของการทารุณกรรมในวัยเด็ก การถูกละเลยความสำคัญ ความรุนแรงในครอบครัว ข้อพิพาทในครอบครัว และสถานการณ์ย่ำแย่อื่นๆ เช่น ความไม่สงบของบ้านเมือง ส่งผลต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ และประสิทธิภาพโดยรวมของบุคคลในประเทศ การบาดเจ็บที่ซับซ้อนมักส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจิตใจของบุคคลนั้น
จึงทำให้บางคนอาจได้รับผลกระทบมากกว่าคนอื่นๆ คนเหล่านี้อาจติดอยู่กับผลกระทบทางอารมณ์ของบาดแผล และพบว่าเป็นการยากที่จะดำเนินชีวิตต่อไป การแสดงอาการชอกช้ำในระยะยาวสามารถนำไปสู่ภาวะทางจิตเรียกว่าโรค PTSD
PTSD โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ
PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย แม้ว่า PTSD จะจัดว่าเป็นความผิดปกติ แต่ก็ถือว่าเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ผิดปกติตามปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อเราประสบกับเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง ปฏิกิริยาของจิตใจจึงพยายามปรับและเยียวยาตัวเราจากการบาดเจ็บนั้น ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บมักจะลดลง และหายไปในช่วงสองสามสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราไม่สามารถเยียวยาตัวเองจากกระทบกระเทือนจิตใจนั้นได้ จึงเกิดการป้องกันตัวเองขึ้นส่งผลให้เกิดอาการ PTSD หรืออาการ PTSD ที่ซับซ้อนได้ โดยอาการที่เป็นผลกระทบจากแผลในใจนั้น อาจกลายเป็นโรค PTSD หลังจากมีอาการมานานกว่า 4 สัปดาห์
ลักษณะอาการของโรค PTSD หรือ โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ ได้แก่
- มักจะเห็นภาพความทรงจำซ้ำๆ หรือฝันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจบ่อย
- มีกมีความรู้สึกราวกับว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอีกในช่วงเวลาปัจจุบัน
- มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากช่วงเวลาปัจจุบัน หรือประสบเหตุการณ์ย้อนหลัง
- มีความทุกข์ทางจิตใจ หรือปฏิกิริยาทางร่างกาย เมื่อนึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ
- อาการหลีกเลี่ยงอย่างต่อเนื่อง
5.1 พยายามหลีกเลี่ยงความคิด ความรู้สึก และอาการทางร่างกายที่กระตุ้นความทรงจำของเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ
5.2 พยายามหลีกเลี่ยงการเตือนความจำภายนอกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจซึ่งอาจรวมถึงผู้คน สถานที่ และกิจกรรม - การเปลี่ยนแปลงเชิงลบในการรับรู้และอารมณ์
6.1 มีปัญหาในการจดจำแง่มุมที่สำคัญของเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ
6.2 กำลังโทษตัวเอง หรือผู้อื่นที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ
6.3 กำลังประสบกับอารมณ์ด้านลบของความโกรธ ความรู้สึกผิด หรือความอับอายที่เกี่ยวข้องกับบาดแผล
6.4 รู้สึกโดดเดี่ยวจากโลกหรือคนอื่นๆ
6.5 หมดความสนใจในกิจกรรม หรือความสนใจไปในสิ่งที่ชอบ
6.6 รู้สึกยากที่จะมีอารมณ์เชิงบวก เช่น ความรัก ความสุข - การเปลี่ยนแปลงในความตื่นตัวและการเกิดปฏิกิริยา
7.1 แสดงพฤติกรรมที่หงุดหงิดหรือก้าวร้าว
7.2 รู้สึกหุนหันพลันแล่น
7.3 อยากทำร้ายตัวเอง
7.4 ตกใจง่ายหรือรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา
7.5 ปัญหาในการจดจ่อหรือนอนหลับ
ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ มีความหมายแตกต่างกันไปในแต่ละคน อย่างไรก็ตาม อาการของการถูกกระทบกระเทือนจิตใจที่ไม่สามารถดีขึ้นได้มักเกิดจากกลยุทธ์การเผชิญปัญหาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น สิ่งที่จะเยียวยาความบอบช้ำจากบาดแผลที่เกิดขึ้น เริ่มจากก้าวแรกที่สำคัญคือ ความเข้าอกเข้าใจจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อน ผู้รอดชีวิต ที่ปรึกษา บริการที่สนับสนุนการรักษา รวมถึงนักบำบัดทางจิตวิทยา
อ้างอิง:
- https://www.lifeskillssouthflorida.com/mental-health-blog/the-difference-between-type-i-trauma-and-type-ii-trauma/
- https://www.medicinenet.com/what_are_the_3_types_of_trauma/article.htm
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/trauma-bonding
- https://traumapractice.co.uk/ptsd-symptoms/
- https://traumapractice.co.uk/what-is-ptsd-disorder/