หลังจากช่วงเช้าที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้มีแถลงถึงสถานการณ์เชื้อ COVID-19 ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก ที่ในตอนนี้ประเทศไทยได้มีผู้เสียชีวิตเป็น ‘รายแรก’ แล้ว โดยเป็นชายไทย อายุ 35 ปี ที่มีประวัติสัมผัสนักท่องเที่ยวชาวจีน
หลังจากช่วงเช้าที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้มีแถลงถึงสถานการณ์เชื้อ COVID-19 ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก ที่ในตอนนี้ประเทศไทยได้มีผู้เสียชีวิตเป็น ‘รายแรก’ แล้ว โดยเป็นชายไทย อายุ 35 ปี ที่มีประวัติสัมผัสนักท่องเที่ยวชาวจีน
ซึ่งกลายเป็นสัญญาณเตือนว่าประเทศไทยต้องมีมาตรการรับมือกับโรคระบาดครั้งนี้มากยิ่งขึ้น และเป็นการกระตุ้นสิ่ง สมมติฐานหนึ่งอันน่าสนใจ ที่มีการตั้งประเด็นเอาไว้ว่า ‘หรือผู้ชายจะมีภูมิคุ้มกันรับมือเชื้อโรคได้น้อยกว่าผู้หญิง’
อ้างอิงจากผลวิเคราะห์ในศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ของประเทศจีน รายงานว่าแม้อัตราการติดเชื้อโรค COVID-19 ระหว่างเพศชายและหญิงจะไม่ต่างกันมากนัก แต่อัตราการเสียชีวิตนั้นทิ้งห่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยมีจำนวนคนไข้ผู้ชายที่เสียชีวิต 2.8% ในขณะที่คนไข้ผู้หญิงเสียชีวิตเพียง 1.7% เท่านั้น
มีการคาดการณ์ว่าสาเหตุนั้น สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ชายเป็นเพศอ่อนแอในเรื่องของ ‘ภูมิต้านทานโรค’ กว่าเพศหญิง เพราะในร่างกายของเพศหญิงจำเป็นต้องมีการภูมิคุ้มกันโรคสูงกว่าผู้ชาย เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับทารกแรกเกิด ซึ่งต้องรับสารแอนติบอดีต่อต้านเชื้อโรคจากน้ำนมมารดาโดยตรง ในระหว่างที่ภูมิคุ้มกันของทารกยังอ่อนแอและอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา
หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไอโอวาของสหรัฐฯ จึงมีการตั้งสมมติฐานและต่อยอดเป็นการทดสอบ โดยการแพร่เชื้อไวรัสโรคซาร์สให้กับหนูทดลองจำนวนหนึ่ง พบว่า หนูตัวผู้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าหนูตัวเมีย แม้ได้รับเชื้อในปริมาณน้อยกว่า โดยภูมิคุ้มกันร่างกายของหนูตัวผู้ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมและกำจัดไวรัสได้ช้ากว่า ทำให้ล้มป่วยและเกิดความเสียหายที่ปอดรุนแรงกว่าหนูตัวเมียมาก
แต่เมื่อทีมวิจัยทดลองฉีดยาสกัดกั้นการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนกับหนูตัวเมีย หรือทดลองผ่าตัดเอารังไข่ของพวกมันออก ปรากฏว่าหนูตัวเมียสามารถติดเชื้อไวรัสโรคซาร์สได้ง่ายและมีอัตราการตายสูงขึ้น ในขณะที่การทดลองฉีดยายับยั้งฮอร์โมนเพศของหนูตัวผู้ ไม่มีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแต่อย่างใด
จากการทดลองนี้จึงสรุปได้ว่า ‘ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงอาจมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย’
แต่อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปผลได้อย่างแน่ชัด เพราะในส่วนของผู้ติดต่อที่เป็นมนุษย์อาจมีตัวแปรอื่นที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันที่บกพร่องได้ อย่างเช่น ในจีนมีจำนวนผู้สูบบุหรี่สูงที่สุดในโลกถึง 316 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีเพียง 2% ของผู้สูบบุหรี่ในประเทศเท่านั้น ที่เป็นประชากรหญิง ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายป่วยและเสียชีวิตจากโรค COVID-19 ได้ง่ายกว่าเช่นกัน
ที่มา:
- www.nytimes.com/2020/02/20/health/coronavirus-men-women.html
- www.todayonline.com/world/covid-19-seems-hit-men-harder-women-why
- www.the-scientist.com/news-opinion/why-some-covid-19-cases-are-worse-than-others-67160
ภาพ: reuters