‘จีน’ และ ‘ยิว’ สองเชื้อชาติที่โด่งดังที่สุดในโลกตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์การสร้างชาติอันยาวนานมาสู่การเป็นชาติที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ และความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ สองชาตินี้มีความคล้ายคลึงกันในหลายแง่ และแตกต่างกันอยู่ในหลายด้าน
ความเหมือนอย่างแรกของจีนและยิวคือทั้งสองต่างเคยเป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนตั้งแต่ยุคที่เพิ่งเริ่มมีการจดบันทึกประวัติศาสตร์ มีวัฒนธรรมและศาสนาเป็นของตัวเอง ยูดายเป็นศาสนาของชาวยิว ส่วนชาวจีนในประวัติศาสตร์ส่วนมากนับถือลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ
ความเหมือนต่อมาคือการที่ทั้งสองชาติต้องเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ จนนำไปสู่ช่วงเวลาอันยากลำบาก เป็นที่รับรู้กันว่าชาวยิวในประวัติศาสตร์นั้นเป็นชนชาติเร่ร่อน ได้รับความทุกข์ทรมานจากสงครามมากมายหลายครั้งในแทบทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นกองทัพจากบาบิโลน การรุกรานจากอาณาจักรโรมันและเปอร์เซีย และโดยเฉพาะครั้งสาหัสที่สุดอันกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่โลกไม่สามารถลืมความโหดร้ายได้คือ ‘การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว’ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยฮิตเลอร์และพรรคนาซี โดยโศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดนี้ได้พรากชีวิตชาวยิวไปทั้งหมดกว่า 4 ล้านชีวิต
ทางฝั่งของจีนก็ไม่น้อยหน้า ตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ชิง สงครามฝิ่นทำเอาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวจีนเสื่อมโทรม การปฏิวัติโดยซุนยัดเซ็นที่ทำให้ระบอบการปกครองแบบเก่าล่มสลาย การรุกรานจากญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้คร่าชีวิตชาวจีนไปมหาศาล การปฏิวัติคอมมิวนิสต์โดยเหมาเจ๋อตุง สงครามกลางเมือง และการปฏิวัติวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้ทำให้สภาพเศรษฐกิจของจีนตกต่ำ ประชาชนอดอยากล้มตายกันไปเป็นจำนวนหลักสิบๆ ล้าน
สิ่งที่เหมือนกันอย่างที่สามคือการที่ทั้งสองชาติหลังจากล้มลงและผ่านช่วงเวลาวิกฤตที่สุดแล้วสามารถลุกขึ้นยืนหยัดจนกลับมาถืออำนาจอยู่บนเวทีโลกได้อีกครั้ง ซึ่งไม่ใช่ทุกชาติทุกอารยธรรมในอดีตจะทำได้ ชาวยิวที่มีจำนวนประชากรเพียงน้อยนิด และเคยเคยเร่ร่อนไร้ถิ่นฐาน ปัจจุบันได้กระจายตัวไปตั้งรกรากและสร้างตัวขึ้นมาได้จนมีฐานะร่ำรวยและเข้าไปมีส่วนกุมอำนาจรัฐ ไม่ว่าชาวยิวจะไปที่ไหน ก็จะไปเป็นชนชั้นนำของที่นั่น ปัจจุบัน บุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4-18 ล้านคน โดยกว่า 20% เป็นอภิมหาเศรษฐี และกว่า 40% ที่เป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ทั่วโลก
ชาวจีนที่เคยอดอยากมานาน แต่หลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่โดย ‘เติ้งเสี่ยวผิง’ ผู้นำประเทศรุ่นที่ 2 ผ่านระบบการปกครองที่จะว่าเป็นทุนนิยมก็ไม่ใช่สังคมนิยมก็ไม่เชิง ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้เศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
สิ่งที่เหมือนกันอย่างสุดท้ายคือการที่จีนและยิวต้องเผชิญกับความยากลำบากในบ้านเกิด ประชากรจำนวนไม่น้อยจึงต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ชาวยิวส่วนใหญ่อยู่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริกา ส่วนที่เหลือแทรกตัวตั้งชุมชนอยู่ตามประเทศต่างๆ ในยุโรปและทวีปอื่นๆ
และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าไม่ว่าเราจะเดินทางไปประเทศไหน ก็จะพบเห็นไชนาทาวน์อยู่แทบทุกประเทศ เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล ก่อตั้งโดยผู้อพยพชาวจีนรุ่นแรกที่ล่องเรือออกนอกประเทศมาพร้อมกับเสื่อผืนหมอนใบ
ปัจจุบันนี้ ชาวจีนไปที่ไหนก็มีส่วนกุมเศรษฐกิจของประเทศนั้น แต่ไม่ใช่ในสหรัฐฯ ชาวยิวต่างหากที่คุมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประมาณว่าหนึ่งในสามของมหาเศรษฐีอเมริกันล้วนมีเชื้อสายยิว จนมีคำกล่าวที่ว่า
“เงินจากทั่วโลกไหลเข้าสู่กระเป๋าตังค์ชาวอเมริกัน แต่หารู้ไม่ว่าเงินของชาวอเมริกันกว่าครึ่งอยู่ในกระเป๋าตังค์ชาวยิว”
แล้วสิ่งที่แตกต่างระหว่างจีนและยิวคืออะไร?
ตามทัศนะของผม นอกจากเชื้อชาติ ศาสนา และรูปพรรณสัณฐานแล้ว เห็นจะเป็นรูปแบบของแนวคิดชาตินิยมนั่นเอง
ลักษณะชาตินิยมของชาวยิวจะพบได้อย่างเข้มข้นในชนบางกลุ่ม เช่น กลุ่มยิวชาตินิยมหัวรุนแรง Zionism ที่พยายามรวบรวมชาวยิวทั่วโลก และมีส่วนสำคัญในการตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นมา ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในอิสราเอลนั้นมีมากกว่าครึ่งของจำนวนประชากรที่มีเชื้อสายยิวทั่วโลกเพียงน้อยนิดเท่านั้น อีกเกือบครึ่งของจำนวนประชากรเชื้อสายยิวทั้งหมดอยู่ในสหรัฐอเมริกา และส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในยุโรปและทวีปอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งความชาตินิยมของชาวยิวในสหรัฐฯ นั้นค่อนข้างจะอ่อนกว่ากลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงอยู่มาก เนื่องจากตามแนวคิดของชาวยิว เงินคือพระเจ้า เพราะการที่เคยเป็นชาติเร่ร่อน เงินตราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การมีฐานะมั่งคั่งมั่นคงไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามย่อมสำคัญกว่าการกลับไปรวมตัวกับชาวยิวในประเทศอิสราเอล แต่ก็ต้องยอมรับว่าการก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นมาได้นั้น ได้รับการสนับสนุนจากชาวยิวที่มีอำนาจในสหรัฐฯ อยู่มากทีเดียว
สำหรับลักษณะชาตินิยมของจีนนั้นค่อนข้างจะแตกต่างจากยิว อันที่จริงก็แตกต่างจากทุกที่บนโลกนั่นแหละ ชาวจีนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะเกาะกลุ่มกันและพึงรำลึกเสมอว่าพวกเขาเป็นคนจีน เห็นได้ชัดเจนในประเทศไทยและตามไชนาทาวน์ในประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะผ่านมากี่เจเนอเรชัน พวกเขาก็ยังคงไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษในทุกครั้งที่งานเทศกาลมาถึง
ชาวจีนโพ้นทะเลอยู่ที่ไหนก็กลายเป็นชนชั้นนำของที่นั่น ตัวอย่างเช่น เจ้าสัวในประเทศไทย และไม่เพียงเท่านั้น ชาวจีนโพ้นทะเลมีส่วนช่วยในการสร้างความมั่งคั่งให้กับจีนแผ่นดินใหญ่ด้วยการอำนวยความสะดวกในการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากแนวคิดชาตินิยมทำให้ชาวจีนที่แม้จะอยู่กันคนละฟากโลกแต่ก็จะยังคงความเป็นญาติพี่น้องต่อกันเสมอ ความสัมพันธ์ดังกล่าวรวมถึงความรู้ภาษาจีนและภาษาท้องถิ่น มีส่วนช่วยอย่างมากในการเผยแพร่วัฒนธรรมจีน และช่วยให้การทำธุรกิจข้ามพรมแดนเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องของธุรกิจ ‘ทัวร์ศูนย์เหรียญ’ ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอีกมากมาย ซึ่งธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจบริการที่มีเจ้าของเป็นคนจีน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยที่เม็ดเงินยังคงหมุนเวียนอยู่ในกระเป๋าคนจีน
สรุปง่ายๆ คือ ชาวจีนไม่ว่าจะแทรกตัวอยู่ที่ไหน ก็จะตระหนักถึงเลือดจีนภายในตัวเสมอ และจะไม่ลืมสร้างผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ให้กับคำว่า ‘จีน’ เสมอ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ผมมีความคิดเห็นในเบื้องต้นว่า จีนและยิวเป็นสองชาติที่มีความคล้ายคลึงกันในหลายด้าน แต่ที่แตกต่างกันอยู่และควรศึกษาเพิ่มเติมคือความเข้มข้นของแนวคิดชาตินิยม ใช่หรือไม่ว่าแนวคิดชาตินิยมในแบบของจีนสร้างให้ชาวจีนมีความเป็นปึกแผ่น และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ในขณะเดียวกัน ถึงแม้ว่าชาวยิวจะอัจฉริยะและร่ำรวยขนาดไหน แต่ความร่ำรวยนั้นสร้างผลประโยชน์โดยรวมให้แก่ปัจเจกบุคคลมากกว่าผลประโยชน์ต่อความเป็นชาติพันธุ์ ทำให้ไม่ว่าอย่างไร ยิวก็จะไม่สามารถเป็นมหาอำนาจได้เท่ากับจีน
ความแตกต่างในสไตล์แนวคิดชาตินิยมของจีนและยิวเป็นเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก แต่เป็นเรื่องที่น่านำมาเป็นกรณีศึกษาอย่างยิ่ง