ตัวเลข คือสิ่งสำคัญในการคิดคำนวณสิ่งต่างๆ รอบตัว ในชีวิตประจำวัน เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลขและคณิตศาสตร์ได้เลย นอกจากจะใช้ในการคำนวณแล้ว ตัวเลขยังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของคำต่างๆ เพื่อขยายความหมายที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนอีกด้วย
ปกติในคำศัพท์ภาษาอังกฤษจะไม่ได้ใช้ one, two, three เป็นคำขยาย แต่จะใช้รูปแบบของ prefix หรือคำอุปสรรคซึ่งมาจากภาษาละตินหรือกรีกแทน ในบทความนี้จะพาผู้อ่านไปรู้จัก prefix ของตัวเลข เพื่อความเข้าใจคำศัพท์และช่วยในการแปลความหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
1 = uni- / mono- / prim- / proto-
เลข 1 ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะบอกถึงลำดับที่มาก่อน, สิ่งที่เป็นที่สุด, สิ่งที่มีเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้น prefix สำหรับเลข 1 ที่ใช้ระบุความหมายถึงสิ่งที่มีเพียงหนึ่ง จึงมีค่อนข้างมาก เช่น
uni- มาจากภาษาละติน unus ใช้สำหรับบอกจำนวน (Cardinal number)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– unite (v.) รวมตัวกัน (ในกลุ่มคน)
– unify (v.) รวมสองสิ่งหรือมากกว่าให้เป็นหนึ่งเดียว
– unique (adj.) เป็นเอกลักษณ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวบนโลก
– unisex (adj.) มีลักษณะเป็นเพศเดียว หรือไม่แบ่งแยกชายหญิง เช่น unisex name ชื่อที่ใช้ได้ทั้งสองเพศ
mono- มาจากภาษากรีก μόνος (monos)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– monorail (n.) รถไฟรางเดี่ยว
– monopoly (n.) การทำธุรกิจแบบผูกขาด คือมีเพียงองค์กรเดียวที่บริหารสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง
– monotone (n.) การร้องเพลงที่มีระดับเสียงเดียว
– monogamy (n.) การมีความสัมพันธ์แบบผัวเดียวเมียเดียว
prim- มาจากภาษาละติน primus ใช้สำหรับบอกลำดับ (Ordinal number)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– primary และ prime มาเป็นลำดับแรก, สำคัญที่สุด
– premier อันดับแรก, ผู้นำคณะรัฐบาล
– premiere (n.) การฉายภาพยนตร์หรือการแสดงรอบปฐมทัศน์
– primate (n.) สัตว์อันดับวานรในอนุกรมวิธาน (taxonomy) ตั้งชื่อโดย Carl Linneaus ผู้คิดค้นการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แบบทวินาม มนุษย์ก็อยู่ในอันดับนี้ด้วย ถือเป็นสัตว์ที่มีคุณค่ามากที่สุดตามความคิดคนสมัยก่อน
proto- มาจากภาษากรีก πρῶτος (protos) ใช้บอกลำดับเช่นเดียวกับ primus ในภาษาละติน
ตัวอย่างคำศัพท์:
– prototype (n.) ต้นแบบของสิ่งประดิษฐ์ ก่อนสร้างเพื่อใช้งานจริง
– protostar (n.) ดาวฤกษ์ก่อนเกิดที่อยู่ในช่วงรวมแก๊สต่างๆ ในอวกาศ ให้มากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นเพื่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง
– proton (n.) โปรตอน อนุภาคพื้นฐานของอะตอม
2 = bi- / di- / duo
เลข 2 เป็นลำดับถัดมาจาก 1 ทำให้มีความสำคัญพอสมควร และมี prefix ที่ใช้แทนเลข 2 มากเช่นเดียวกัน เช่น
bi- มาจากภาษาละติน bis แปลว่า สองครั้ง (twice)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– binary (n.) เลขฐานสอง ที่ตัวเลขประกอบด้วย 0 และ 1 สำหรับใช้ในระบบคอมพิวเตอร์
– bilingual (adj.) ซึ่งพูดสองภาษา
– binocular (n.) กล้องส่องทางไกล หรือกล้องสองตา
– bisexual (adj.) รสนิยมทางเพศที่ชอบได้ทั้งชายและหญิง
– bicycle (n.) จักรยาน (มีสองล้อ)
di- มาจากาษากรีก δίς (dis) แปลว่า สองครั้ง (twice) เช่นกัน
ตัวอย่างคำศัพท์:
– dilemma (n.) สภาพยากลำบากต่อการตัดสินใจ เมื่อมีตัวเลือก 2 ตัวที่มีน้ำหนักมากพอที่จะเลือกได้ทั้งคู่
– digraph (n.) อักษร 2 ตัวที่ออกเป็นเสียงเดียวเช่น ch, sh, th
– dialogue (n.) บทสนทนาระหว่างคนสองคน
duo- หรือ du- มาจากภาษาละติน duo และกรีก δύο (duo)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– duet (n.) การเล่นดนตรีที่ใช้นักดนตรีสองคนบรรเลงเพลง
– duplicate (v.) จำลอง, คัดลอก, ทำซ้ำ
– dual (adj.) ประกอบด้วยสองส่วน
– double (adj.) เพิ่มเป็น 2 เท่า
3 = tri-
tri- มาจากภาษาละติน tres และภาษากรีก τρεῖς (treis)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– triangle (n.) สามเหลี่ยม
– tricolor (n.) ธงไตรรงค์ (ธงสามสี)
– trinity (n.) สิ่งที่มี 3 คน หรือ 3 สิ่ง เช่น พระตรีเอกานุภาพในศาสนาคริสต์ ประกอบด้วยพระบิดา พระบุตร และพระจิต
– triathlon (n.) ไตรกีฬา ประกอบด้วยว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และวิ่ง
– trilogy (n.) ไตรภาค คือ หนังสือหรือภาพยนตร์ที่เนื้อเรื่องมี 3 เล่ม หรือ 3 ภาค
– triple (v.) เพิ่มเป็น 3 เท่า
4 = quadri- / tetra-
quadri- มาจากภาษาละติน quattuor
ตัวอย่างคำศัพท์:
– quarter (n.) เศษ 1 ส่วน 4
– quadrennial (n.) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุก 4 ปี เช่น กีฬาโอลิมปิก การแข่งขันฟุตบอลโลก
– quadruple (v.) เพิ่มเป็น 4 เท่า
tetra- มาจากภาษากรีก τέτταρες (tettares)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– tetrahedron (n.) ทรงสี่หน้า ที่ประกอบด้วนสามเหลี่ยมด้านเท่า 4 รูปประกบกัน
– tetroxide (n.) สารประกอบที่มีออกซิเจน 4 อะตอม
– tetris (n.) เกมเรียงบล็อกที่แต่ละบล็อกมี 4 ชิ้นย่อยประกอบเป็นรูปทรงต่างๆ กัน
5 = quin- / penta-
quin- มาจากภาษาละติน quinque
ตัวอย่างคำศัพท์:
– quintuple (v.) เพิ่มเป็น 5 เท่า
– quintuplet (n.) แฝดห้า
– quintet (n.) กลุ่ม 5 คน
penta- มาจากภาษากรีก πέντε (pente)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– pentagon (n.) ห้าเหลี่ยม
– pentagram (n.) ดาวห้าแฉก
– pentathlon (n.) ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยฟันดาบ ว่ายน้ำฟรีสไตล์ 200 เมตร ขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวาง วิ่งวิบาก 3,200 เมตร และยิงปืน
6 = sexa- / hexa-
sexa- มาจากภาษาละติน sex
ตัวอย่างคำศัพท์:
– sextuple (v.) เพิ่มเป็น 6 เท่า
– sextet (n.) กลุ่ม 6 คน
hexa- มาจากภาษากรีก ἕξ (hex)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– hexagon (n.) หกเหลี่ยม
– hexane (n.) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีคาร์บอน 6 โมเลกุลเรียงด้วยพันธะเดี่ยว
7 = sept- / hepta-
sept- มาจากภาษาละติน septem
ตัวอย่างคำศัพท์:
– septuple (v.) เพิ่มเป็น 7 เท่า
– September (n.) เดือนกันยายน
hepta- มาจากภาษากรีก ἑπτά (hepta)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– heptagon (n.) เจ็ดเหลี่ยม
– heptathlon (n.) สัตตกรีฑา ประกอบด้วยวิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร วิ่ง 200 เมตร วิ่ง 800 เมตร กระโดดสูง กระโดดไกล ทุ่มน้ำหนัก และพุ่งแหลน มีในการแข่งขันประเภทหญิง
8 = octo-
octo- มาจากภาษาละติน octo และภาษากรีก ὀκτώ (okto)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– octopus (n.) หมึกยักษ์ เพราะมี 8 หนวด
– octagon (n.) แปดเหลี่ยม
– octahedron (n.) ทรงแปดหน้า
– October (n.) เดือนตุลาคม
9 = novem- / nona- / ennea-
สอง prefix แรกมาจากภาษาละติน novem ใช้บอกจำนวน และ nonus ใช้บอกลำดับ ส่วนคำหลังมาจากภาษากรีก ἐννέα (ennea)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– November (n.) เดือนพฤศจิกายน
– nonagon หรือ enneagon (n.) เก้าเหลี่ยม
10 = deci- / deca-
decem มาจากภาษาละติน decem
ตัวอย่างคำศัพท์:
– decimal (n.) เลขฐานสิบ
– December (n.) เดือนธันวาคม
– decibel (n.) หน่วยวัดความดังเสียง โดยกำหนดให้ทุกความต่าง 10 เดซิเบล เสียงจะดังต่างกัน 10 เท่าแบบ log scale เช่น 20 เดซิเบลดังต่างกัน 100 (102) เท่า, 30 เดซิเบลดังต่างกัน 1,000 (103) เท่า
deca มาจากภาษากรีก δέκα (deka)
ตัวอย่างคำศัพท์:
– decagon (n.) สิบเหลี่ยม
– decathlon (n.) ทศกรีฑา สำหรับประเภทชาย การแข่งขันเหมือนสัตตกรีฑา แต่เพิ่มการวิ่ง 400 เมตร วิ่ง 1,500 เมตร และกระโดดค้ำถ่อ รวมเป็น 10 ชนิดกีฬาที่ต้องแข่งขันกัน
ข้อสังเกตการใช้ prefix เกี่ยวกับตัวเลข
prefix ตัวเลขนิยมใช้สร้างคำศัพท์ในวิชาเคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ในการใช้เรียกจำนวนอะตอมและการคำนวณเชิงวิทยาศาสตร์ ดังนั้นการรู้ว่า prefix ไหนหมายถึงจำนวนใด ก็จะช่วยในการจำชื่อสารเคมีและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น
นอกจากนี้จะเห็นว่าเดือนกันยายน (September) ถึงเดือนตุลาคม (December) ใช้ prefix ตัวเลข 7-10 มาสร้างคำเรียกเดือน ทั้งๆ ที่ตำแหน่งของเดือนจริงๆ คือเดือน 9-12 เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเดิมทีปฏิทินโรมันมีเพียง 10 เดือนเท่านั้น มีเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมอยู่ลำดับที่ 7-10 ของปฏิทิน แต่ภายหลังมีการปรับปรุงปฏิทินโดยเพิ่มเป็น 12 เดือน เดือนใหม่ที่เพิ่มมาคือเดือนมกราคม (January) และเดือนกุมภาพันธ์ (February) ทำให้ตำแหน่งเดือน September ถึง December ต้องเลื่อนออกไป 2 เดือน เป็นเดือน 9-12 จนถึงทุกวันนี้
แหล่งข้อมูล: