ย้อนดูผลิตภัณฑ์ จากนักออกแบบ Minimalism คนสำคัญของโลก

รู้หรือไม่ว่าสิ่งของจำนวนไม่น้อยรอบๆ ตัวคุณอย่างเก้าอี้ ชั้นวางของ ถังขยะพลาสติก หรือแม้แต่ไอโฟนที่คุณกำลังใช้อ่านบทความนี้ ล้วนเป็นผลลัพธ์ของการดีไซน์ภายใต้แนวคิด Minimalism แต่กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่าย ใช้งานสะดวกสบายในวันนี้ มินิมอลิสม์นั้นได้ผ่านการเติบโต เปลี่ยนแปลง และพัฒนามาทุกยุคทุกสมัย

_

Minimalism in Product Design

_

ย้อนไปเมื่อช่วงทศวรรษที่ 20 กระแสของ Minimalism เริ่มมีอิทธิพลต่องานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยรับอิทธิพลมาจาก 3 ด้าน ได้แก่

01 กลุ่มเคลื่อนไหว De Stijl (ตรงกับคำว่า the style ในภาษาอังกฤษ) ก่อตั้งโดย ธีโอ ฟาน โดส์เบิร์ก สถาปนิกและจิตรกรชาวดัตช์

02 รูปแบบสถาปัตยกรรมของ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ สถาปนิกชาวเยอรมัน

03 วัฒนธรรมการออกแบบของประเทศญี่ปุ่น

Minimalism

Minimalism

Minimalism

จากองค์ความรู้ทางศิลปะทั้ง 3 ด้าน ที่มุ่งเน้นการลดและตัดทอนรายละเอียดที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น โดยนิยมผลิตผลงานด้วยรูปทรงทางเรขาคณิตอย่างเรียบง่ายที่สุด นำมาสู่การประยุกต์ใช้ความรู้และหลักการพื้นฐานเข้ากับการออกแบบสิ่งของ เครื่องใช้ และผลิตภัณฑ์ เพื่อเน้นรูปแบบการใช้งานเป็นสำคัญ

Minimalism

‘Less but Better.’ คือคำกล่าวของ ดีเตอร์ รามส์ นักออกแบบชาวเยอรมัน ผู้เชื่อว่างานออกแบบที่ดีคืองานออกแบบที่ซื่อสัตย์ ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูเกินจริงจนหลอกผู้ใช้ เขาเริ่มมีผลงานตั้งแต่ปี 1961 เป็นเครื่องเรือนและเครื่องใช้ในบ้านทั่วไป โดยทำให้กับบริษัท Braun และบริษัท Vitsœ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ โจนาธาน ไอฟ์ นำไปออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Apple

Minimalism

ปี 1964 Angiolo Giuseppe Fronzoni นักออกแบบร่วมสมัยชาวอิตาเลียน ได้สร้างสรรค์ ‘Fronzoni ’64’ ชุดเครื่องเรือน เก้าอี้ และโต๊ะ โดยผลิตจากโลหะเคลือบเงาสีพื้น เพื่อต้องการเผยให้เห็นเพียงโครงสร้างพื้นฐานและพื้นผิวของวัสดุที่ใช้เท่านั้น ปัจจุบันยังคงได้รับการผลิตเพื่อการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง

Minimalism

‘Juicy Salif’ หรือที่คั้นน้ำเลมอน ถือเป็นสุดยอดผลงานการออกแบบของ ฟิลิปป์ สตาร์ก นักออกแบบชาวฝรั่งเศส ที่ผลิตขึ้นในปี 1990 โดดเด่นด้วยรูปทรงร่วมสมัย แม้จะให้ความรู้สึกแปลกตาเมื่อแรกเห็น แต่กลับคงความสามารถในการคั้นได้อย่างยอดเยี่ยม

Minimalism

Minimalism

ในทางฝั่งของประเทศญี่ปุ่น นาโอโตะ ฟุคาซาว่า เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องการผสมผสานระหว่างวัตถุและพฤติกรรมการใช้งาน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์โดยให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะของวัตถุที่เรียบง่ายและน้อยชิ้น ที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า tatazumai ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขาคือ ‘Wall-mounted Compact Disc Player’ หรือเครื่องเล่นแผ่นดีซีแขวนผนัง ในปี 1999

Minimalism

Apple เป็นอีกบริษัทที่นำแนวความคิด Minimalism มาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีได้อย่างชาญฉลาด จนเกิดเป็นกระแสตื่นตัวทางนวัตกรรมระดับโลก เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2001 จากการเปิดตัว ‘iPod’ หรือเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาขนาดเล็ก โดย สตีฟ จอบส์ กำหนดการออกแบบให้มีรูปทรงเรียบง่าย มีปุ่มกดไม่มาก มีความซับซ้อนให้น้อยที่สุด เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าถึงผลิตภัณฑ์และใช้งานได้สะดวกที่สุด

อ่านแนวคิด Minimalism in Architecture

อ่านแนวคิด Minimalism in Fine Arts