เลนส์แว่นตา

เพราะ ‘ความรักนั้นสั้น แต่สายตายาว’ เราจึงต้องเลือกเลนส์แว่นตาที่ถูกต้องกับดวงตาให้ดีที่สุด

สายตาของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงทุกปี เมื่อรวมเข้ากับปัจจัยอย่างช่วงวัยที่เพิ่มขึ้น และการใช้สายตาที่หนักหน่วงในช่วง Work From Home ที่ผ่านมา หลายคนคงรู้สึกว่าสายตาของตัวเองมีความเปลี่ยนแปลงจนรู้สึกได้ นั่นอาจจะเป็นเพราะเราต้องใช้สายตาในการจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนมากกว่าเมื่อก่อน จนอยากตัดแว่นใหม่ แต่ทุกครั้งที่เดินเข้าร้านแว่นตา เรามักจะไปให้ความสำคัญกับการเลือกกรอบแว่นมากกว่าจะสนใจว่าเลนส์ที่ใช้คู่กันนั้นมีคุณภาพเหมาะสมกับดวงตาเราแค่ไหน และคิดไปเองว่าแค่วัดสายตาแล้วมองให้ชัดก็พอแล้ว โดยไม่เคยรู้ว่าเลนส์แว่นสายตานั้นมีหลายแบบ และตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน 

 

เลนส์แว่นตา

เลือกแว่นแล้วก็ต้องเลือกเลนส์ด้วย

        เราเองเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนั้นมาตลอดว่า เอาน่า! ใช้เลนส์อะไรก็ได้ แค่ใส่แล้วมองเห็นชัดก็พอ เมื่อก่อนจึงไม่เคยสนใจว่าเวลาไปร้านขายแว่นตา ทางร้านจะเลือกเลนส์ชนิดไหนให้เรา จนกระทั่งได้คุยกับทาง Essilor โดยบังเอิญ และได้ความรู้ใหม่ๆ กลับมา ถึงเรื่องของเลนส์และการทำงานคู่กับดวงตาที่น่าสนใจ ซึ่งเลนส์แว่นตาอาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 

        เลนส์ป้องกันรอยขีดข่วน: เป็นเลนส์ที่มีความแข็งแรง ใช้งานได้ยาวนาน และให้คุณภาพการมองเห็นที่ชัดเจน

        เลนส์ป้องกันรอยเปื้อน: ตัวโค้ตติ้งของหน้าเลนส์จะช่วยป้องกันไม่ให้มีรอยเปื้อนและรอยนิ้วมือติดอยู่บนเลนส์

        เลนส์ป้องกันฝุ่น: โค้ตติ้งของเลนส์ชนิดนี้จะช่วยลดสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองที่มาเกาะบนผิวเลนส์ เลนส์จึงคงความใสสะอาดได้นาน 

        เลนส์กันน้ำเกาะ: เลนส์เฉพาะทางสำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับละอองน้ำซึ่งน้ำที่เกาะบนตัวเลนส์จะเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น เช่น นักกีฬาทางน้ำหรือคนที่ขับขี่จักรยานยนต์

        เลนส์ย่อบาง: เลนส์ที่บางและเบา สามารถหักเหทิศทางที่แสงเข้าสู่ดวงตาได้ เลนส์ชนิดนี้ออกแบบสำหรับผู้มีค่าสายตาสูง

        เลนส์ป้องกันฝ้า: เลนส์ชนิดนี้ช่วยให้สามารถสลับไปมาระหว่างสถานที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันได้ เช่น เมื่อก้าวออกจากรถที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำมาเจออากาศร้อนๆ แว่นก็จะไม่มีฝ้าขึ้นแบบที่เคยเจอ

เลนส์แว่นตา

รังสียูวีและแสงสีน้ำเงินชนิดอันตราย

        หากดูจากพฤติกรรมของตัวเองแล้ว ในแต่ละวันสิ่งที่เป็นอันตรายกับดวงตาเราที่สุดคือรังสียูวีและแสงสีน้ำเงินชนิดอันตราย หลายคนจึงเลือกเลนส์ที่สามารถกรองแสงสีน้ำเงินนี้ได้อย่างหมดจด ซึ่งที่จริงแล้ว แสงสีน้ำเงินนั้นไม่ได้อันตรายกับมนุษย์ไปเสียหมด 

        แสงสีน้ำเงินนั้นไม่ได้มาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว แต่แสงสีน้ำเงินอยู่รอบๆ ตัวเรา โดยอยู่ในรูปของช่วงสีตั้งแต่แสงสีเขียวอมฟ้า (blue-turquoise) ไปจนถึงแสงสีน้ำเงินอมม่วง (blue-violet) ซึ่งในแสงสีน้ำเงินชนิดอันตรายจะอยู่ในช่วง 380-455 มม. (แสงสีน้ำเงินอมม่วง) เราต้องสวมแว่นตาป้องกันดวงตาในช่วงแสงนี้ แต่แสงสีน้ำเงินอมเขียวช่วง 465-495 มม. เป็นแสงสีน้ำเงินที่มีประโยชน์ต่อดวงตา

        เลนส์แว่นตาทั่วไปที่บอกว่าสามารถกรองแสงสีน้ำเงินได้นั้น เราต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ดี เพราะเลนส์บางตัวจะกรองแสงสีน้ำเงินออกทั้งหมด ทั้งแสงที่เป็นอันตรายและแสงที่มีประโยชน์ ซึ่งประโยชน์ของแสงสีน้ำเงินนั้นจะช่วยเราในเรื่องของระบบประสาท ช่วยให้เราจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว สดชื่นหลังจากตื่นนอนด้วย 

        ส่วนอันตรายของแสงสีน้ำเงินนั้นจะส่งผลในด้านของความอ่อนล้า เมื่อเราได้รับแสงสีน้ำเงินที่เป็นอันตรายมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะแสงสีน้ำเงินจะไปกระตุ้นการรับรู้ของเราว่ายังเป็นช่วงเวลากลางวันทั้งๆ ที่ตอนนั้นเวลาอาจจะเลยเที่ยงคืนไปแล้ว 

 

เลนส์แว่นตา

Blue UV Capture

        เมื่อโจทย์ของเราคือต้องการเลนส์ที่ดี สามารถกรองแสงสีน้ำเงินในช่วงคลื่นที่เป็นอันตรายออกไปได้ และสามารถใช้งานกลางแจ้งได้ด้วย เราจึงได้รับคำแนะนำว่าให้ลองเลนส์ Blue UV Capture ของ Essilor เพราะเลนส์ชนิดนี้ สามารถกรองเฉพาะแสงสีน้ำเงินอมม่วงที่เป็นอันตรายได้มากกว่าเลนส์ทั่วไปถึง 3 เท่า และปล่อยให้แสงที่เป็นประโยชน์ (แสงสีน้ำเงินอมเขียว) ผ่านเข้าสู่ดวงตา เพื่อช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่สร้างเมลาโทนิน ดีต่อการรับรู้ การใช้ความคิด ควมคุมระดับฮอร์โมน รวมถึงควบคุมนาฬิกาชีวิตวงจรการนอนหลับและการตื่นได้ในแบบที่นาฬิกาชีวิตเราเป็น 

        ในส่วนของการป้องกันยูวีนั้น ตัวเลนส์ก็สามารถปกป้องดวงตาจากรังสียูวี E-SPF35 มากถึง 35 เท่า ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเลนส์ รวมถึงโค้ตติ้งที่เป็นเหมือนเกราะปกป้องทั้งการลดรอยขีดข่วน ลดแสงสะท้อน 360 องศา ลดรอยนิ้วมือ ลดฝุ่นเกาะบนผิวเลนส์ ลดปัญหาหยดน้ำเกาะ

        ส่วนอีกฟังก์ชันสำคัญที่เราต้องการคือต้องเป็นเลนส์ที่เปลี่ยนสีอัตโนมัติตามสภาวะแสงและสภาพอากาศด้วย เพราะนอกจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ และแท็บเล็ตแล้ว การเดินทางเพื่อไปสัมภาษณ์ ถ่ายงาน ประชุมกับพาร์ตเนอร์ หรือแม้แต่การฝ่าฟันการจราจรในทุกวันก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเราไม่อยากเปลี่ยนแว่นตาสลับไปมาระหว่างแว่นสายตากับแว่นกันแดด ทาง Essilor จึงแนะนำว่าเลนส์ Transitions จะตอบความต้องการเราได้ครบหมดทุกข้อ โดยเลนส์ชนิดนี้จะใช้ เทคโนโลยี Chromea7™ โดยตัวเลนส์จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่กลางแจ้งเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวีของแสงอาทิตย์ 100% และตัวเลนส์จะจางกลับเป็นใสปกติเมื่ออยู่ในที่ร่ม พร้อมป้องกันรังสียูวี 100% พร้อมกันแสงสีน้ำเงินทั้งภายในและนอกอาคาร ซึ่งเหมาะกับทุกกิจกรรมทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง และยังสามารถเลือกสีเลนส์ที่จะเปลี่ยนให้เข้มขึ้นได้ตามสไตล์ที่ต้องการ โดยมีสีซิกเนเจอร์อย่างสีเทา สีน้ำตาล สีเขียว ส่วนใครที่เป็นสายแฟชั่นก็สามารถเลือกสีที่จับคู่กับกรอบแว่นเก๋ๆ ของตัวเองได้อย่างสีเขียวเอมเมอรัลด์ สีน้ำเงินแซฟไฟร์ สีม่วงอเมทิสต์ สีน้ำตาลแอมเมอร์

 

เลนส์แว่นตา

หลักการง่ายๆ ในการเลือกเลนส์ให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง

        หากคุณยังไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเหมาะกับเลนส์แบบไหน เพราะเลนส์แต่ละชนิดก็มีราคาที่แตกต่างกัน การเลือกเลนส์แว่นตาเพื่อการใช้งานที่ตรงกับตัวเองที่สุด จะทำให้เราไม่ต้องเสียเงินเพิ่มโดยไม่จำเป็น หากคุณยังไม่รู้ว่าจะเลือกเลนส์ให้ตัวเองอย่างไร เรามีแนวคำถามให้ลองถามตัวเองก่อนตัดสินใจเลือกชนิดเลนส์ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ อายุ และความต้องการที่จำเป็นของคุณ

        คุณมีปัญหาในการมองเห็นวัตถุระยะใกล้หรือระยะไกลหรือไม่: คุณมีภาวะสายตาสั้นหรือภาวะสายตายาว ซึ่งเป็นภาวะของสายตาที่พบได้ทั่วไป สามารถแก้ไขได้ด้วยเลนส์ชั้นเดียว โดยสั่งตัดตามค่าสายตา แต่ถ้าคุณดูเหมือนจะมีปัญหาในการมองเห็นวัตถุที่ทั้งใกล้และไกลในเวลาเดียวกันคุณอาจต้องใช้เลนส์โปรเกรสซีฟในการช่วยมอง

        คุณมีปัญหาในการอ่านหนังสือหรือไม่: หากคุณมีอายุเกิน 40 ปี การประสบปัญหาในการอ่านหนังสืออเป็นอาการทั่วไปของผู้มีภาวะสายตายาวตามวัย ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้เลนส์โปรเกรสซีฟเช่นกัน 

        คุณใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์และการดูโทรทัศน์อย่างยาวนานหรือไม่: ถ้าใช่ ควรใช้แว่นตาสำหรับใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถป้องกันอาการตาล้า และการสัมผัสกับแสงสีน้ำเงินที่มากเกินไป ซึ่งเลนส์เหล่านี้เหมาะที่สุดหากคุณใช้เวลาอยู่หน้าจอดิจิตอลต่างๆ เป็นเวลานาน

        คุณต้องทำงานกลางแจ้งมากกว่าในที่ออฟฟิศไหม: เลนส์ป้องกันรังสียูวีจะมีประโยชน์ในการปกป้องดวงตาของคุณจากการสัมผัสแสงยูวีที่เป็นอันตราย นอกจากนี้เลนส์ที่เปลี่ยนสีตามสภาวะแสง ยังช่วยให้ความมั่นใจในการมองเห็นที่ชัดเจนทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง

        คุณเล่นกีฬาเป็นประจำหรือไม่: เลนส์ป้องกันรอยขีดข่วน ป้องกันรอยเปื้อน ป้องกันฝุ่น และป้องกันฝ้า หรือแม้กระทั่งกันน้ำเกาะ จะช่วยให้คุณเพลิดเพลินกับไลฟ์สไตล์ที่แอ็กทีฟได้อย่างเต็มที่

        คุณขับรถในเวลากลางคืนหรือไม่: เลนส์ป้องกันแสงสะท้อน สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้โดยการมอบวิสัยทัศน์ที่คมชัดตลอดการขับขี่ของคุณ

        นี่คือคำถามคร่าวๆ ที่จะช่วยประเมินว่าชีวิตประจำวันของเรานั้นเหมาะสมกับเลนส์ประเภทไหน และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทำให้เราหันกลับมาเอาใจใส่กับดวงตาแบบจริงจังกว่าเดิม เพราะการมองเห็นนั้นเป็นประสาทสัมผัสสำคัญที่สุดของมนุษย์ แต่ทั้งนี้อย่าลืมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาอีกครั้งด้วย 

 


ขอบคุณข้อมูลจาก Essilor Thailand Ltd.