rights type

RIGHTS | TYPE: ภาพเหมือนผ่านเครื่องพิมพ์ดีด ภาพเหมือนคนดังที่สะท้อนก้องความเห็นผ่านศิลปะ

“อะไรคือสิทธิพื้นฐานที่คุณคิดว่าขาดหายไปจากสังคมในปัจจุบัน?” “เสียงเล็กๆ ของประชาชนที่กำลังสะท้อนและผลักดันประเทศของเราเป็นดั่งสิ่งที่เราเรียกว่าประเทศที่มีอารยธรรมใช่หรือไม่?” นี่คือคำถามที่ ณัฐวุฒิ สิริเดชชัย ศิลปินไทยซึ่งปัจจุบันทำงานศิลปะอยู่ที่นิวยอร์ก กำลังจะนำเสนอในนิทรรศการเดี่ยวของเขาผ่านการสร้างสรรค์ศิลปะภาพเหมือนด้วยตัวอักษรโดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดเป็นอุปกรณ์ ซึ่งจะจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม-6 กันยายน 2562 ที่ Kalwit Studio & Gallery ซอยร่วมฤดี เวลา 18.00-22.00 น.

 

 

rights type

 

 

     ศิลปะของณัฐวุฒินำเสนอเรื่องราวผ่านตัวอักษรสู่รููปร่าง รูปทรงและภาพเหมือน พลังแห่งงานเขียน ซึ่งนำมาสู่การพิมพ์ดีด ผ่านรูปเหมือนของ 30 ศิลปินและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ที่ทั้งมีความงามทางสุนทรียศาสตร์ และกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามถึง สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และเรื่องราวเสียงจากเล็กๆ ของประชาชนที่ต้องการสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี 

 

 

rights type

     ณัฐวุฒิใช้กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจากความหมายและรูปทรงของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจนกลายเป็นถ้อยคำ และจากถ้อยคำก็กลายเป็นงานเขียน บทกวี ที่เลือกสรรจัดวางตัวอักษรจากความเหมาะสมของความหมายและรูปทรงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่อผู้ชม 

 

 

rights type

 

 

     เนื่องด้วยทั้งจากความทรงจำและประสบการณ์ที่อยู่รอบตัวศิลปินเองในชีวิตประจำวัน จึงทำให้เขาสนใจเรื่องของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ความหลากหลายทางความคิด วัฒนธรรมที่สิ่งเหล่านี้พยายามจะแบ่งแยกสิทธิและความถูกต้องของสังคม 

 

 

rights type

 

     นิทรรศการเดี่ยวครั้งนี้จึงเกิดขึ้นผ่านรูปเหมือนของ 30 ศิลปินและนักเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น สุหฤท สยามวาลา (ศิลปิน, อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ), อรอรีย์ (ศิลปิน), มาเรียม เกรย์ (ศิลปินวง B5), ‘ครูเคท’ – คทาวุธ ครั้งพิบูลย์ (นักเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ), ณฐพล บุญประกอบ (ผู้กำกับภาพยนตร์ 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว), ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล (ศิลปินวาดภาพคนไร้บ้าน), ไมเคิล เชาวนาศัย (ศิลปิน), วรนา วรรลยางกรู (นักเขียน), ณัฐดนัย บุณยรัตผลิน (เมกอัพอาร์ทิสต์, พิธีกร), ประทีป สุธาทองไทย (ศิลปิน) 

 

 

rights type

 

 

     นอกจากนี้ในตัวงานยังมีกิมมิกที่น่าสนใจ เช่น ในงานทุกชิ้นจะมีเครื่องหมายเท่ากับ (=) เป็นสัญลักษณ์หลัก เพื่อสื่อความหมายของคำว่า Equality แสดงถึงความเท่าเทียมกันของทุกคน ความเท่าเทียมที่เป็นจุดกำเนิดและรากฐานของทุกองค์ประกอบในเรื่องสิทธิมนษุยชน หรือในงานบางชิ้นจะใช้เครื่องหมาย 1/2 ที่มีแค่ในเครื่องพิมพ์ดีด (ไม่มีในแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน) เพื่อสื่อถึงความเสมอภาคและภาคภูมิใจที่จะยืนหยัดและแสดงตัวตนของตัวเอง เช่น ในประเด็นเรื่องเพศทางเลือก แถมยังมีงานเขียนผ่านสื่อผสมเครื่องพิมพ์ดีดที่เรียกว่า ‘กวีเว้นวรรค’ เป็นการรวบรวมงานที่เกี่ยวกับสิทธิผ่านคำและตัวอักษร ทำให้เกิดการจางหายไป จนกลายเป็นความหมายใหม่อันนำไปสู่เรื่องราวที่แตกต่าง 

 

 

rights type

 

 

     ทั้งหมดนี้เพื่อนำไปสู่คำถามหลักและคำถามสำคัญที่พวกเราในฐานะพลเมืองโลกกำลังเผชิญ นั่นคือ “อะไรคือสิทธิพื้นฐานที่คุณคิดว่าขาดหายไปจากสังคมในปัจจุบัน?”

 

 

rights type

 

 

RIGHTS | TYPE

– จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม-6 กันยายน 2562 

– ที่ Kalwit Studio & Gallery ซอยร่วมฤดี เวลา 18.00-22.00 น.

– รายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.kalwitgallery.com/upcoming หรือเฟซบุ๊ก Kalwit Studio & Gallery