ยอมรับมาซะดีๆ ว่าคุณเคยพร่ำบ่นถึงระบบการศึกษาไทยว่าห่วย แม้ว่าตัวคุณเองก็เป็นหนึ่งในผลผลิตจากระบบห่วยๆ เหล่านั้นก็ตาม นับเป็นเรื่องตลกร้ายที่ทำเอาหลายคนขำไม่ออก แต่เมื่อคุณเติบโตขึ้น และได้ทำความรู้จักกับโลกของการศึกษา คุณจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าจริงๆ แล้วเราทุกคนต่างมีอิสระในการเลือก เพียงแค่ที่ผ่านมาระบบการศึกษาแบบไทยๆ ได้ขีดเส้นนำทางคุณมากเกินไปเท่านั้นเอง ในขณะที่สังคมในหลายๆ ประเทศต่างเปิดกว้างและบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าความรู้ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต แต่ใจที่ใฝ่รู้และกระบวนการเรียนต่างหากคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีกว่าและอยู่รอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งการที่คนคนหนึ่งจะไปถึงจุดนั้นได้ไม่ใช่เรื่องง่าย...
หากวันหนึ่งมีเด็กๆ มากระซิบบอกผู้ใหญ่อย่างเราว่า เขาพบโรงแรมมหัศจรรย์ที่ไม่มีใครรู้ว่ามีทั้งหมดกี่ห้อง แต่ที่รู้ๆ ก็คือมีพนักงานใจดี ชอบอยู่ในโหมดล่องหน มีจุดรับฝากสัตว์มหัศจรรย์ และมีจุดเช็กอินที่ต้องตอบคำถามที่ไม่เคยมีใครถามมาก่อน คุณจะเชื่อพวกเขาไหม หากไม่เชื่อ อยากให้ลองนำลูกหลาน หรือเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ไปสัมผัสกับพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับเด็กกันที่ CREAM Bangkok ย่านสวนผัก กันสักครั้ง Co-working Space สำหรับเด็ก...
เพื่อให้การเรียนรู้ ไม่ได้ตกอยู่กับแค่เพียงเด็กๆ เท่านั้น แต่แม่พิมพ์ของชาติอย่าง ‘ครู’ ก็ต้องเป็นบุคคลที่ต้องเรียนรู้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับลูกศิษย์ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาตัวเองให้เป็นครูที่มีศักยภาพ เช่นเดียวกับความคิดของ ‘อาจารย์ฮูก’ – ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...
คำตอบจากนายแพทย์ผู้รักในการเรียนรู้ ทางออกในโลกยุคที่สถานการณ์ต่างๆ ผันผวนง่ายแต่คาดเดายาก โดยหัวใจสำคัญอยู่บนฐานการเรียนรู้แบบ Learn - Unlearn - Relearn
หากเราคุ้นชินกับการเรียนที่มีภาพจำเป็นครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง นักเรียนนั่งจับคู่ข้างกันอย่างไร้ความหมาย มีเด็กเก่งนั่งแถวหน้า เด็กเกเรอยู่หลังห้อง ส่วนตรงกลางคือเด็กทั่วไปที่สนใจเรียนแต่ก็แอบหลับ มีบางวิชาที่จับกลุ่ม 4-5 คน เรียนและทำรายงาน แต่ก็มักจะมีคนที่ทำและคนคอยจ่ายเงินเสมอ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยลงทุกปีอย่าง โรงเรียนพุทธจักรวิทยา เพราะที่นี่มีผู้อำนวยที่วางนโยบายการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง มีครูจำนวนน้อยแต่อุดมด้วยความตั้งใจสอนอย่างแรงกล้า ทำให้มีนักเรียนที่หันกลับมารักโรงเรียนและรู้คุณค่าของการศึกษามากขึ้นแทน...