เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ผมเพิ่งกัดฟันถอย Oculus Quest 2 เฮดเซตที่จะพาเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงในระดับราคาที่คนทั่วไปเอื้อมถึง แต่สิ่งที่ผมประหลาดใจคือคนเดียวในบ้านที่รู้จักแบรนด์ Oculus กลับเป็นคุณหมอพ่อตาที่มีประสบการณ์ทำงานกว่า 40 ปี เขาบอกว่าเคยเห็นเครื่องแบบนี้ในการใช้สำหรับฝึกผ่าตัดในโลกเสมือนจริงของเหล่าแพทย์ประจำบ้าน นี่คือความรู้ใหม่ที่ฟังแล้วก็อดไม่ได้ที่จะตาลุกวาว หลังจากค้นข้อมูลก็ยิ่งพบว่าวงการแพทย์นั้นอยู่ ‘แถวหน้า’ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) หรือที่ตอนนี้มีคำเรียกติดหูว่า...
ใครที่เป็นสายเกมเมอร์ คอมิก มังงะ อนิเมะญี่ปุ่น หรือหนังไซ-ไฟ น่าจะพอเดาออกว่าโลก Metaverse นั้นพอจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร แต่เราคงไม่อาจนิยามหน้าตาของ Metaverse แต่ละแพลตฟอร์มได้อย่างเฉพาะเจาะจง เนื่องจากขึ้นอยู่กับผู้สร้างแพลตฟอร์มว่าอยากจะให้เป็นโลกนั้นมีหน้าตาแบบไหน มีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง แต่เชื่อว่าในอนาคตเราจะสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระได้ในโลกเสมือนจริงนี้ อยากมีหน้าตา หุ่น สีผิว หรือเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ไหนก็เลือกได้ตามต้องการ ...
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการท่องเที่ยวและต้องเจ็บหนักจากการระบาดของโควิด-19 ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่องแทบทุกปี โดยมีเพียงบางปีเท่านั้นที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวชะลอตัวลง เช่น ปีที่พบการระบาดของโรคซาร์ส และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ย้อนกลับไปก่อนการระบาดของโควิด-19 เมื่อปี พ.ศ. 2562 ตัวเลขนักเดินทางมีจำนวนสูงถึง 1.5 พันล้านคน โรคระบาดที่กึ่งบังคับให้ทุกคนต้องอยู่บ้าน ประกอบกับกฎเกณฑ์สารพัดที่ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศยากลำบากขึ้นส่งผลให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวลดลงอย่างฮวบฮาบ...
ในโลกใบหนึ่งเขามีชื่อว่าพาร์ซิวัล (Parzival) ผู้เล่นสุดเท่ฝีมือฉกาจที่ฉลาดเป็นกรดและสามารถไขปริศนาลึกลับเพื่อเข้าใกล้ขุมสมบัติมูลค่ามหาศาลได้เป็นคนแรก แต่ในโลกอีกใบหนึ่งเขาชื่อ เวด วัตต์ส (Wade Watts) คือเด็กมัธยมปลายยากจน ขี้อาย ขาดความมั่นใจ และหมกมุ่นกับโลกออนไลน์แบบเกินขนาด ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึงตัวเอกของเรื่อง Ready Player One นวนิยายที่ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ซึ่งฉายภาพ Metaverse...
ในชีวิตของ วิชัย ราวินทราน (Vijay Ravindran) และ วิภา ซาสาวอล (Vibha Sazawal) ไม่เคยนึกเลยว่าจะต้องมาข้องเกี่ยวกับงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่มีภาวะออทิซึม วิชัยเป็นอดีตวิศวกรซอฟต์แวร์ที่แอมะซอนและวอชิงตันโพสต์ ส่วนวิภาเป็นอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ University of Maryland สหรัฐอเมริกา ...
ปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโซเชียลมีเดียยอดนิยมที่มีฐานผู้ใช้งานมากกว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเฟซบุ๊ก ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทสู่เมต้า (Meta) โบกมือลาสัญลักษณ์ตัวเอฟบนพื้นหลังสีน้ำเงินที่ใครๆ ก็รู้จัก พร้อมส่งสัญญาณว่าบริษัทกำลังถอยห่างจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง สู่การทุ่มเทก่อร่างสร้างโลกใบใหม่ใน Metaverse ซัคเคอร์เบิร์กบอกเล่าวิสัยทัศน์ในงานประชุมประจำปี Facebook...
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะถ่ายทอดปัญหาสาธารณะให้ ‘กระทบใจ’ ประชาชน องค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวนมากจึงเลือกสื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย บ้างบอกเล่าผ่านบทความ บ้างถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ แต่ในวันที่ข้อมูลข่าวสารที่เราได้รับในแต่ละวันนั้นล้นหลาม คงไม่น่าแปลกใจที่คนส่วนใหญ่คงไม่สามารถจดจ่อกับปัญหาสังคมที่หนักหน่วงซึ่งต้องแก่งแย่งชิงความสนใจกับคลิปวีดีโอเบาสมองหรือบทความที่อ่านแล้วชุ่มชื่นหัวใจ ทางที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจปัญหาคือ การเผชิญหน้าผ่านประสบการณ์ตรง แต่คงมีน้อยคนที่จะมีโอกาสผ่านประสบการณ์ที่สลับซับซ้อนและไกลตัวอย่าง ‘ผู้ลี้ภัย’ ...