เพิ่งมีเรื่องสะเทือนใจไป เมื่อผู้ใหญ่ที่เคยเคารพคนหนึ่ง – พอบอกว่า เคยเคารพ ก็เหมือนเฉลยตอนจบแล้วว่าตอนนี้ไม่ได้เคารพอีกต่อไป – แสดงอาการที่เราไม่คาดคิดว่าจะได้เห็นจาก ‘ผู้ใหญ่’ คนไหน เขาดูวางอำนาจบาตรใหญ่ ดูพองตัวจนเบียดผนังห้อง เป็นที่โจษจันด่าขรมกันไปทุกหัวระแหงทั้งในที่แจ้งและที่ลับ การระเบิดตัวออกเป็นโกโก้ครันช์นี้ทำให้ผมกลับมาคิดทบทวน เราเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ้าง และผมก็เรียนรู้ที่จะถือเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี...
หนึ่งในคำถามที่ผมไม่ชอบเลยคือ คำถามที่ว่า คุณเห็นตัวเองเป็นอย่างไรในอีกห้า (หรือสิบ) ปี – โดยเฉพาะในบริบทของการสัมภาษณ์งาน ผมไม่รู้ว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไร (“ผมเห็นตัวเองตรงที่พี่นั่งอยู่นี่แหละครับ คือมีโอกาสเติบโตจนมาสัมภาษณ์คนอื่น” ดูเป็นคำตอบที่พอใช้ได้แต่ก็ไม่ได้ดีเด่นัก) ผมไม่รู้ว่าตอบแบบไหนที่จะได้คะแนนดี เราจะต้องแสดงออกว่ารักและซื่อตรงต่อบริษัทที่เราสัมภาษณ์มากน้อยแน่ไหน เป็นคำถามที่จริงๆ แล้วกระทั่งคนถามก็ยังอาจไม่รู้ว่าตัวเองจะตอบมันอย่างไร แต่หากพลิกประโยคเล็กน้อย...
บริษัทที่ผมทำงานอยู่ มีวัฒนธรรมองค์กรหนึ่งแข็งแรงเป็นที่เลื่องลือ นั่นคือวัฒนธรรมการมอบฟีดแบ็ก (Feedback Culture) พนักงานทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะมอบฟีดแบ็กตรงไปตรงมาให้แก่กันและกันทั้งในเรื่องดีและร้าย ผมเติบโตมาในวัฒนธรรมที่อาจเชิดชูความสงบเรียบร้อยเป็นหลัก เมื่อเผชิญกับวัฒนธรรมที่เน้นการวิจารณ์เช่นนี้จึงต้องอาศัยการปรับตัวมากพอดู ก่อนหน้าที่ผมจะเข้ามาทำงานในองค์กรแห่งนี้ ผมพอรู้ชื่อเสียงของวัฒนธรรมการมอบฟีดแบ็กมาบ้าง แต่ก็ไม่คิดว่าจะมีการปฏิบัติจริงในทุกระดับชั้น จากที่เคยคิดว่าวัฒนธรรมองค์กรนั้นเป็นเพียงลมปากบนกระดาษเปล่า ไม่มีความสลักสำคัญ เมื่อมาทำงานจริง และเจอวัฒนธรรมนี้จริงๆ จึงได้เห็นว่าสิ่งที่เขียนไว้บนกระดาษนั้น...
ผม – เคยเชื่อว่าแรงจูงใจนำมาซึ่งการกระทำ – Motivation นั้นนำไปสู่ Action – แต่ไม่นานมานี้ได้อ่านบทความว่าแท้จริงแล้วขั้นตอนที่เราเคยเชื่อถือนั้นมันกลับหัวกลับหาง กระบวนการที่เกิดขึ้นจริงคือ Action นั้นนำไปสู่ Motivation ต่างหาก – นั่นทำให้ผมกลับมาคิดทบทวนเทียบกับเรื่องราวในชีวิตตัวเอง ...