คุณชอบเล่นลอตเตอรี่กันหรือเปล่า? เชื่อว่าถ้าถามคำถามนี้กับคนเจเนอเรชัน X และ Y คำตอบที่ได้คงจะเป็น ‘ชอบ, แถมยังชอบมากเสียด้วย’ – เพราะเพื่อนๆ ของผมก็เล่นกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เรียกได้ว่าหวังพลิกชีวิตให้รวยเปรี้ยงกันเลยทีเดียว ...
คุณเคยให้เงินกับขอทานบ้างไหมครับ? แล้วเคยให้มากที่สุดเท่าไหร่? ขอสารภาพตามตรงว่า ผมเคยให้มากที่สุดคือ 100 บาท 100 บาท ในวันที่เงินเดือนก็ไม่ได้เยอะ แล้วสาเหตุที่ให้ก็ไม่ได้มาจากการสงสารตัวขอทานด้วย หากแต่เป็นเพราะความรู้สึกต่อข้อความที่ขอทานคนนั้นเขียนไว้ในป้ายข้างตัวเขาต่างหาก ...
คุณมีไอดอลในชีวิตไหม? นักสัมภาษณ์คนหนึ่งถามผม ขณะที่เรากำลังสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องการทำงานและการดำเนินชีวิต คำถามนี้ทำให้ผมนิ่งคิดไปครู่หนึ่ง จากนั้นจึงตอบคนสัมภาษณ์ไปว่า ‘โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ’ ผมอธิบายไปว่า ชายญี่ปุ่นคนนี้คือนักเขียนที่มอบพลังแห่งความเพียรให้ผม เพราะเขาคือบุคคลที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่ไม่สมบูรณ์เหมือนคนทั่วไป ทว่าข้อจำกัดเหล่านั้นคือโจทย์ที่มาท้าทาย และเขาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความสามารถภายใต้ความเพียร ส่งผลให้เขาเอาชนะข้อจำกัด รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ ในชีวิตได้อย่างน่าภาคภูมิ (ใครสนใจเรื่องราวของเขาแนะนำอ่านหนังสือ...
ผมมีโอกาสอ่านแนวคิดของ แลร์รี สมิธ (Larry Smith) ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวอร์เตอร์ลู ที่ถูกถอดความมาจาก TED Talk ในประเด็นที่ว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถได้ทำงานดีๆ หรือรายได้ดีๆ ซึ่งเขาพูดไว้ได้อย่างน่าสนใจมาก โดยเฉพาะกับคนวัยทำงานอย่างพวกเรา โดยประเด็นหลักที่สมิธบอกไว้คือการต้องเลิกยึดติดนิสัยและความเคยชินเดิมๆ 3 ข้อดังนี้ 1....
ระยะหลังผมได้ยินเสียงความกังวลเรื่องการงานกับการเงินอย่างหนาหูมาก หลังจากเริ่มมีการนำเสนอข่าวการปิดโรงงาน ปลดพนักงานออก จนหลายคนรอบตัวก็เริ่มหวั่นๆ ว่า มันใกล้จะถึงคิวพวกเขาแล้วหรือยัง แต่หากจะลองมองโลกในแง่ดี การมีความตื่นตัวต่อสถานการณ์เหล่านี้ย่อมทำให้เกิดการเตรียมตัวในหลายๆ ของชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการเงิน จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่คนทำงานในประเทศไทยเท่านั้นที่เริ่มมีความกังวล เพราะในต่างประเทศโดยเฉพาะคนทำงานในโซนอเมริกาและออสเตรเลียก็กังวลใจเรื่องสถานะการทำงานกับเศรษฐกิจไม่แพ้กัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับความกังวลที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ...
เราไม่ได้กลัวการใช้เงิน แต่เรากลัวการเสียเงินอย่างเปล่าประโยชน์ไปกับสิ่งที่ไม่ได้ช่วยพัฒนาธุรกิจ – วิลเลียม โอเบอร์ตัน ผมเจอประโยคนี้ของ วิลเลียม โอเบอร์ตัน ในหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด: Stretch ซึ่งภายในหนังสือเล่มนี้มีข้อคิดหลายอย่างที่น่าสนใจ และพบว่ามันเหมาะกับคอลัมน์นี้เป็นอย่างมาก ...
‘เวลา’ เป็นสิ่งมีค่า เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราปล่อยให้เวลาล่วงเลยผ่านไป มันจะไหลผ่านไปอย่างไม่มีวันกลับมา ในโลกของการลงทุนหรือการทำงาน ‘เวลา’ ยิ่งมีความความหมาย เพราะทุกวินาทีที่เสียไปย่อมเทียบเท่ากับมูลค่าของ ‘เงินตรา’ Time is Money ยิ่งใครที่ได้ทำงานประกบติดกับระดับผู้จัดการหรือระดับผู้บริหาร เราจะสัมผัสได้ว่า ‘เวลา’ คือสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าเงินทองเสียอีก...
น้องที่ทำงานคนหนึ่งเคยถามว่า ผมมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการเลือกเรียนปริญญาโทในขณะที่เราเองก็มีอายุเยอะแล้ว ผมคิดว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งผิดแปลกอะไรเลย ตรงกันข้ามมันกลายเป็นเรื่องจำเป็นในยุคสมัยที่เราต้องผลัดใบความรู้อยู่เสมอด้วยซ้ำ เพราะกฎของการอยู่ยืนในยุคปัจจุบันและอนาคตคือถ้าไม่หมั่นเติมเสริมความรู้และทักษะที่มีก็เตรียมตัวเตรียมใจรับความลำบากได้เลย คำถามดังกล่าวนี้ทำให้ผมนึกถึงประโยคของ อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ (Alvin Toffler) ผู้เขียนหนังสือ Future...
ในช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ผลสำรวจจากสถาบันการเงินหลายแห่งเปิดเผยสถิติที่น่าหวาดหวั่นต่อการมีชีวิตในวันข้างหน้า ที่คนไทยส่วนใหญ่มีเงินไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในวัยเกษียณ และยิ่งเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จึงยากที่จะหลับตาแล้วจินตนาการถึงคุณภาพชีวิตและการเงินของคนไทยในอนาคต ผมจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงโดยหวังว่าภาพของชีวิตในวันข้างหน้าของพวกเราจะเป็นภาพที่ดี มีความหวังและความสดใสรออยู่–ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำให้ตอบรับกับโลกที่เปลี่ยนไป–ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหางาน หาเงิน การออม รวมทั้งการลงทุน เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน หางานยุคใหม่–หาให้ได้ก่อนเรียนจบ ...
ผมเพิ่งมีโอกาสคุยกับคนขับรถแท็กซี่อายุราวๆ 50 ปีคนหนึ่ง ซึ่งต้องขอบคุณโอกาสที่ทำให้ผมได้เรียกใช้บริการในครั้งนี้ เพราะทันทีที่ผมขึ้นรถ เขาบอกทันทีว่า “น้องครับ พี่ขอวนรถเข้าไปในธนาคารสักประเดี๋ยว เพื่อจะไปหย่อนสลิป” แล้วเขาก็วนรถเข้าไปในธนาคารแห่งหนึ่ง เปิดประตู และหย่อนสลิปลงไปในกล่องพลาสติก—ผมมองตามด้วยความสงสัย และถือโอกาสถามทันทีที่เขากลับขึ้นมาบนรถ ...
แน่นอนว่าทุกครั้งที่ขับรถ เราต้องเข้าเกียร์เดินหน้าแล้วค่อยๆ ขับออกไป แต่เมื่อไหร่ที่ขับไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย และถึงแม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีที่ชื่อ GPS แล้วก็ตาม โอกาสที่จะเข้าผิดซอยก็อาจมีอยู่ นั่นทำให้ผมต้องใช้เกียร์ถอยหลังเพื่อกลับมาตั้งหลักก่อนจะไปต่อ หลายครั้งที่เข้าเกียร์ถอยหลัง ผมมักจะนึกถึงคำกล่าวหนึ่งของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward...
ระยะหลังมานี้ผู้ร่วมงานที่เป็นเด็กจบใหม่หลายๆ คนต่างทยอยกันลาออกไปหางานตามบริษัทใหม่ บางส่วนให้เหตุผลว่าเพราะเพื่อนสนิทในที่ทำงานเดียวกันลาออก เหตุการณ์เหล่านี้นับเป็นเรื่องธรรมดาในก้าวแรกของการปรับตัวและเรียนรู้วิถีชีวิตมนุษย์เงินเดือน เมื่อมองย้อนกลับมาที่ตัวเอง ผมก็เคยเป็นเช่นนั้น เมื่อเพื่อนร่วมงานที่สนิทกันกันลาออกไป ในวันที่เริ่มเดือนใหม่ ใจมันแป้วตอนเดินเข้าออฟฟิศ เพราะไม่รู้ว่าจะไปปรึกษาปัญหาหรือแลกเปลี่ยนเรื่องสนุกๆ กับใครดี โลกของการทำงานแตกต่างจากโลกของห้องเรียน...