สวัสดีทุกคนครับ ช่วงที่เขียนบันทึกอยู่นี้ ชีวิตกำลังเข้าสู่ไตรมาสที่ 4 ที่มีทั้งเรื่องงานที่ต้องดำเนินต่อให้บรรลุผลไปพร้อมกับแผนการในปีต่อๆ ไปด้วย เรียกได้ว่าใช้กำลังกายและกำลังมันสมองเอาการอยู่พอสมควร เรียกได้ว่า ‘อาหารสมอง’ ต้องได้รับทุกวันไม่แพ้กับเมนูอาหารอร่อยๆ เพื่อให้รางวัลแก่ร่างกายครับ อาหารสมองของการเดินทางในยามเช้าของผมจึงหนีไม่พ้นการฟัง Podcast ขณะนั่งรถไฟฟ้าไปทำงานครับ โดยปกติผมเดินทางร่วมๆ ชั่วโมงเศษ ก็สามารถเนื้อหาโดยเฉลี่ย 1–2 ตอน...
“เมื่อก่อนคนเราสามารถประสบความสำเร็จได้จากการเก่งเรื่องเดียว แต่สมัยนี้คนที่ประสบความสำเร็จสูงสุด กลับเป็นคนที่ใช้ความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ ได้ดี” —แดเนียล พิงก์ Welcome to Hybrid Jobs Era ประโยคข้างต้นที่เพิ่งได้อ่านกันไป ผมเห็นด้วยในเวลานี้กับ แดเนียล พิงก์ นะครับ...
ภายหลังที่เศรษฐกิจไทยโดยโจมตีจากภาวะฝืดเคืองจากโรคโควิด-19 ส่งผลให้ร้านอาหารทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ต่างทยอยปิดตัวลงไปจำนวนมาก และเมื่อพูดถึงร้านอาหารแล้ว ผมก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงหนังสือ ‘เมื่อความจนเฆี่ยนตีผม’ หนังสือที่บันทึกเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์อันยาวนานร่วมสองทศวรรษของ คุณสุพจน์ ธีระวัฒนชัย เจ้าของโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ซึ่งนอกเหนือจากการมีโรงเบียร์ที่ผลิตขึ้นเองจนเป็นที่ขึ้นชื่อว่าสดชื่นและนุ่มลิ้น แถมอาหารอย่างขาหมูเยอรมันก็อร่อยแล้ว ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ นั่นคืองานบริการ ซึ่งคุณสุพจน์ได้เผยไว้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งผมคิดว่าผู้อ่านที่เป็นผู้ประกอบการและคนทำงานด้านบริการสามารถเอาไปปรับใช้ได้ครับ โดยมีทั้งหมด 5 ประการ ได้แก่...
ในวันที่กำลังเขียนบทความชิ้นนี้อยู่ คือวันครบรอบ 23 ปี ของการลอยค่าเงินบาท และทำให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งแน่นอนว่าวิกฤตครั้งนั้นนำมาสู่หายนะของภาคธุรกิจ ธนาคาร และตลาดหุ้นที่ดิ่งลงจาก 1,789 สู่ 204 จุด จนกลายเป็นเหตุการณ์และบทเรียนสำคัญที่ยังคงเตือนสติและเตือนใจต่อคนไทยในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะคนที่ทำธุรกิจที่ยังคงต้องอาศัยการกู้เงินมาลงทุนอยู่เสมอ ...
ผมบังเอิญมีโอกาสได้ฟังบทสนทนาระหว่าง คุณสุทธิชัย หยุ่น กับ ดร. ณชา อนันติโชติกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ในหัวข้อ ‘เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก’ ซึ่งในบทสนทนานั้นมีประเด็นหลักที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีอยู่สูงมาก...
ใครว่าซอมบี้มีแต่ในโลกภาพยนตร์ แต่มันกำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกจากเชื้อไวรัส COVID-19 เนี่ยแหละครับ Zomb-Ployees คือคำศัพท์เฉพาะกิจที่เกิดขึ้นมาระหว่าง Zombie ผสมกับ Employee ที่หมายถึงผีดิบกับพนักงาน เมื่อรวมกันแล้วคือพนักงานที่มีสภาพเหมือนผีดิบ คือตกงาน...
“ผมว่าคนญี่ปุ่นใช้เวลาอยู่ในออฟฟิศมากเกินไป พวกเขาลืมไปว่าข้อมูลและประสบการณ์จากโลกภายนอกเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการสะสมสต็อกเพื่อนำมาสร้างความแตกต่างให้ตัวเองในวันข้างหน้าได้” – โมริโอกะ สึโยชิ, ประธานฝ่ายบริหารการตลาด Universal Studio Japan พอดีผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือ ‘ทำไมรถไฟเหาะของ USJ ถึงวิ่งถอยหลัง’ หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยการฟื้นฟูสวนสนุกที่ซบเซา ให้กลายเป็นสวนสนุกที่ทุกคนในโลกอยากมาเล่นสักครั้งในชีวิต ...
เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปีแล้ว เชื่อว่าหลายคนน่าจะหลงๆ ลืมๆ เป้าหมายที่ตั้งใจไว้แล้วว่าเราได้ตั้งเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไรบ้าง ซึ่งผู้เขียนเองก็เป็นเช่นกัน ลองคิดไปคิดมาแล้วย้อนกลับไปดูในสมุดจดบันทึกก็พบบ้างอย่างที่น่าสนใจคือ เรามักจดเป้าหมายเป็นหัวข้ออย่างเป็นนามธรรม แต่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การวัดผลที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่เป้าหมายส่วนตัวเท่านั้นนะครับ การวัดผลการทำงานในองค์กรอย่าง...
เรามักสงสัยว่าทำไมคนเก่งๆ ถึงมีความสามารถในการต่อยอดหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา การค้นหาคำตอบที่ว่านี้จึงถูกทดสอบจากการทำงานของสมอง เราเคยได้ยินกรณีศึกษาถึงการนำเอาสมองของไอน์สไตน์หลังเสียชีวิตมาศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความอัจฉริยะ และบทสรุปโดยภาพรวมคือ สมองของไอน์สไตน์มีการเชื่อมโยงกันมากกว่าสมองของคนอื่นๆ ที่ถูกนำมาเปรียบเทียบกัน ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูล และการบูรณาการจากสิ่งเก่าจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ คงไม่มีต้นทุนอะไรสำคัญไปกว่าการเรียนรู้อีกแล้ว เพราะการเรียนรู้นั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการเชื่อมโยงของการทำงานภายในสมอง...
ในยุควิกฤตทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก จนผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจหลายต่อหลายคนต่างออกมาตักเตือนให้ทุกคนรัดเข็มขัดและเก็บเงินสดไว้กับตัวให้มากที่สุด สภาวการณ์เช่นนี้ทำให้ผมนึกถึงรายการโทรทัศน์จากประเทศญี่ปุ่นรายการหนึ่งที่น่าจะสอดคล้องต่อสภาวะแบบนี้ ที่ต้องดูแลชีวิตให้อยู่รอดและก็ยังต้องประหยัดเงินได้อีกด้วย นั่นคือรายการ โกโกริโกะ เกมส์กึ๋ย ถ้าใครเติบโตขึ้นมาในช่วงปี 2540 เป็นต้นมา และชื่นชอบดูรายการเกมโชว์กึ่งวาไรตี้จากประเทศญี่ปุ่น ผมเชื่อว่าน่าจะรู้จักรายการนี้เป็นอย่างดี ...
ถึงแม้สถานการณ์โควิด-19 จะเริ่มคลี่คลาย แต่เชื่อว่าช่วงนี้หลายบริษัทก็ยังเลือกใช้มาตรการเวิร์กฟรอมโฮมกันอยู่ อาจเพราะเพิ่งค้นพบว่าการทำงานที่บ้านมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากการมาทำงานที่บริษัท รวมทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการกลับมาของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกสอง จริงอยู่ที่การอยู่บ้านช่วยให้เราประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานได้ค่อนข้างเยอะ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องแลกมาก็คือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะเรื่องของการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เราชื่นชอบจากร้านเจ้าประจำ ที่ต่างทยอยปิดชั่วคราว หรือไม่ก็ปรับการให้บริการที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ขณะนี้ด้วยบริการแบบเดลิเวอรีนั่นเอง รวมถึงไอเทมใหม่ๆ และเฟอร์นิเจอร์ที่ทำให้บ้านของเราน่าอยู่มากขึ้น ...
หนึ่งในปณิธานการเปลี่ยนแปลงตนเอง หรือการสร้างชีวิตที่ดีขึ้นของใครหลายคน หนีไม่พ้นเรื่องสุขภาพและการเงิน ซึ่งหากสังเกตให้ดีจะพบว่า ทั้งสองเรื่องล้วนต้องใช้ ‘เวลา’ ในการสั่งสมทั้งนั้น ไม่สามารถคิดวันนี้ ทำวันนี้ เพื่อเห็นผลลัพธ์ในวันพรุ่งนี้ได้ เมื่อพูดถึงเวลา ก็ย่อมมีปัจจัยที่ชื่อว่า ‘ความอดทน’ ติดมาด้วย และดูเหมือนว่าความอดทนจะเป็นแนวความคิดที่ค่อนข้างโบราณสักเล็กน้อย แต่เชื่อหรือเปล่าว่านี่คือคีย์เวิร์ดที่สำคัญในทุกยุคสมัย...