ตัวตนความเป็น ‘ศิลปิน’ ที่มากกว่าการเป็นแค่ดาราของ ‘กอล์ฟ’ - พิชญะ นิธิไพศาลกุล และการหมั่นหาแพสชันใหม่ๆ เติมไฟให้ตัวเองไม่มอดดับ
“นามปากกา Paerytopia เราตั้งไว้ตั้งแต่ช่วงป.6 หรือม.1 ตอนนั้นเราอยากมีนามปากกาเพื่อใช้แทนตัวเองในการวาดรูปเลยใช้ชื่อตัวเอง ‘Pae’ ผสมกับคำว่า ‘topia’ เพราะชอบคำศัพท์คำนี้ ซึ่งเราอยากให้นามปากกาของตัวเองเป็นเหมือนดินแดนของเราที่รวบรวมผลงาน และความชอบของเราอยู่ในนั้น” ‘แพร’ – พิมพ์ชนก ทีปพงศ์ หรือเจ้าของนามปากกา ‘Paerytopia’...
ย้อนกลับไปช่วงต้นปีที่แล้ว เป็นช่วงที่กระแส NFT เริ่มต้นบูมในประเทศไทยเนื่องจากเริ่มมีศิลปินหลายคนสร้างรายได้จากเทคโนโลยีนี้ ‘ปั๋น’ – ดริสา การพจน์ หรือ Riety ก็เป็นหนึ่งในศิลปินกลุ่มแรกๆ ที่ทดลองขายงานศิลปะในรูปแบบ NFT แล้วชิ้นงานถูกซื้อในมูลค่าที่ถือว่าค่อนข้างสูงในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ในฐานะยูทูเบอร์ เธอยังปล่อยวิดีโออธิบายเรื่อง NFT ขั้นพื้นฐานเพื่อให้ผู้ติดตามได้เข้าใจในเทคโนโลยีนี้มากขึ้น “เราน่าจะเป็นคลิปแรกๆ...
“คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก” วลีสุดฮิตเวลามีคนไทยสักคนแสดงศักยภาพที่ตัวเองมีจนเป็นที่ประจักษ์สายตาแก่คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการประกวดนางงามที่เพิ่งจบไป การแข่งร้องเพลง ทักษะด้านการแสดง การแข่งกีฬา รางวัลด้านวิชาการ รวมถึงผลงานด้านศิลปะแขนงต่างๆ ในบทความนี้เราอยากจะพูดถึงศิลปะการวาดภาพ ทั้งด้านวิจิตรศิลป์และด้านดิจิทัลอาร์ต หลายคนอาจรู้สึกเช่นเดียวกันกับเราว่า ศักยภาพของศิลปินในเมืองไทยมีมากพอให้ผลิตผลงานได้เทียบเท่าวงการศิลปะในต่างประเทศเลยด้วยซ้ำ...
ใครๆ ต่างก็มี Childhood Dream หรือภาพความฝันในวัยเด็กที่วาดหวังไว้ว่าอยากจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เมื่อเติบโตขึ้น เราต่างพบว่าโลกความจริงนั้นช่างแตกต่างจากภาพที่วาดฝันไว้มากนัก จนหลายคนจำเป็นต้องทิ้งภาพฝันนั้นไว้เบื้องหลัง แล้วดำเนินชีวิตในโลกความจริงต่อไป แต่ใครอีกหลายคนก็ยังเก็บและใช้ภาพนั้นมาเติมเต็มความสุขในทุกวันของตัวเอง เช่นเดียวกับ IPUTSA หรือ ‘พุทรา’ – ณหทัย...
“ผมพูดเลยนะ นี่เป็นความรู้สึกที่เงินก็ซื้อไม่ได้ ระหว่างงานผมได้บิต 1 อีเธอเรียม กับงานได้ไปอยู่ในวงดนตรีที่เราชอบ ผมรู้สึกว่าอย่างหลังพิเศษมาก อย่างน้อยคนข้างนอกก็ได้เห็นงานเรา แล้วเหมือนเป็นอีกจารึกหนึ่งว่างานนี้ไปได้ไกลแล้ว เพราะผมจะพูดตลอดเลยว่าอยากให้งานไปได้ไกล ต่อให้ราคาจะขายไม่ได้แพง แต่พอมองกลับมาเรารู้สึกว่ามันมีเรื่องของการเดินทางเล่าไว้อยู่” ชายหนุ่มบอกเล่าความรู้สึกของเขาต่อหนึ่งการเดินทางครั้งใหม่ที่เพิ่งผ่านมา น้ำเสียงของเขาเต็มไปด้วยความปลื้มปีติที่ในวัยเพียง 20 ปี จะก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีที่ตัวเองฟังมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงความภูมิใจในการเดินทางที่พาตัวเองมาถึงวันนี้ได้ ...
จากเด็กที่มีความสุขในการขีดเขียนการ์ตูนไปบนฝาผนังบ้าน และวาดการ์ตูนล้อเลียนเพื่อนร่วมชั้น โดยมีแรงบันดาลจากหนังสือการ์ตูนไทยอย่าง ‘ขายหัวเราะ’ จนเข้าศึกษาด้านศิลปะอย่างจริงจัง และจบออกมาประกอบอาชีพเป็นคนทำงานศิลปะในนาม Avegee (อ-เว-จี) ก่อนจะก้าวเข้าสู่การเป็นศิลปินที่น่าจับตามองในตลาด NFT เราชวนทำความรู้จักกับ ‘เจ๋ง’ – จีรภัทร ศรีปราชญ์ ทั้งในด้านของการหาเอกลักษณ์ของตัวเองในผลงาน ไปจนถึงมุมมองของศิลปะดิจิทัล พร้อมการตีความหมายของคำว่า อเวจี ที่เขาเชื่อมโยงเข้ากับสภาพสังคมในประเทศไทยตอนนี้ได้อย่างน่าสนใจ...
สำหรับคนที่เริ่มเข้าวงการ NFT ไทยมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน คงคุ้นหน้าคุนตากันดีกับ NFTnCRYPTO Pete หรือ ‘พีท’ – เพชร ปฏิยุทธ หากเราจะเรียกเขาว่าเป็นยูทูเบอร์รุ่นแรกของวงการ NFT ไทยก็ไม่ผิดนัก เพราะในช่วงพีกระลอกแรกของวงการนี้ (ที่มาพร้อมกับการล็อกดาวน์จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ) คือช่วงที่เขาเริ่มเปิดช่องยูทูบของตัวเอง และอาจเป็นช่องแรกที่ทำคลิปสัมภาษณ์ศิลปินที่หลั่งไหลเข้ามาหารายได้ในรูปแบบ NFT...
ทันทีที่เรากดปุ่ม admit ในจอปรากฏภาพห้องห้องหนึ่ง ผนังเรียงรายด้วยใบเกียรติบัตรที่ใส่กรอบไว้ ใกล้ๆ หน้าจอมีเด็กชายวัย 10 ปี กำลังจัดแจงมุมกล้องเพื่อเตรียมเริ่มบทสนทนาผ่านหน้าจอในค่ำคืนนี้ เราจึงเอ่ยทักเบาๆ “สวัสดีครับ” เด็กชายชะงักเล็กน้อยก่อนทักทายกลับ...
สำหรับศิลปิน NFT ที่ท่องอยู่ในโลกทวิตเตอร์ เราเชื่อว่าแทบทุกคนจะต้องเคยเข้าไปฟังการสนทนาในสเปซของ ‘โอชิน’ – สาริสา ธรรมลังกา หรือรู้จักกันในนาม ‘Sarisa Kojima’ หากจะตั้งฉายาให้เธอว่าเป็นหนึ่งในเจ้าแม่สเปซทวิตเตอร์ก็คงไม่เกินไปนัก เพราะคุณต้องเคยเห็นเธอเปิดสเปซชวนศิลปิน NFT มาชิลงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้คำปรึกษากันอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่ออาทิตย์ ...
“สองคนเราจบมัลติมีเดียมา แล้วก็จะมีความสามารถที่เหมือน ‘เป็ด’ เราชอบในการนำเสนอมุมมองความเป็นเป็ด เพราะเราสามารถทำได้ทุกอย่าง เราจึงคิดว่าเราสองคนเป็น ‘เป็ดโปร’ เลยรู้สึกว่าวงการ NFT เป็นวงการที่เหมาะกับเรามากๆ” เพราะมูลค่าของงานศิลปะในรูปแบบ NFT ไม่ได้มาจากปัจจัยด้านคุณค่าทางศิลปะอย่างเดียว แต่ยังมีคุณค่าทางการใช้สอย (Utility) และคุณค่าทางคอมมูนิตี้ ดังนั้น ศิลปินผู้สร้างงานจึงไม่ใช่แค่สร้างงานศิลปะขึ้นมาแล้วโพสต์ขายอย่างเดียว แต่ต้องสร้างคุณค่าให้ครบทุกด้าน...